กระบวนทัศน์ใหม่ ! โลกการทำงาน สมดุลชีวิต-การทำงาน ไม่มีอยู่จริง

กระบวนทัศน์ใหม่ ! โลกการทำงาน สมดุลชีวิต-การทำงาน ไม่มีอยู่จริง

เปิดความจริงกระบวนทัศน์ใหม่ที่องค์กรน้อยใหญ่ต้องรู้วิธีการดูแลคน เมื่อโลกแห่งการทำงานสมดุลกับชีวิตและการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หลังก้าวขามาเป็นพนักงานประจำ นับวันยิ่งทำยิ่งมีแต่การหมดไฟ ทำอย่างไรจะปรับโมเดลให้ชีวิต และการทำงานเป็นเส้นเดียวกัน โดยไม่ต้องเลือกระหว่าง งาน ชีวิต สุขภาพ คนรัก และความสำเร็จ  

โดย: ประกายดาว  แบ่งสันเทียะ

 

 

หลายองค์กรกำลังอยู่ระหว่างการสร้างผลงานตามเป้าหมาย เพื่อองค์กร  และส่งผลกระทบทำให้พนักงานหมดไฟ (Burnout) องค์กรใหญ่ ที่วางเป้าหมายกลยุทธ์ ต่างวางหลักเกณฑ์ให้พนักงานทุ่มเทชีวิตเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยไม่สนใจชีวิตข้างหลังจะเป็นอย่างไร 

นี่คือความจริงที่องค์กรใหญ่ต้องเริ่มต้นจากการปรับตัวออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อชีวิต สังคม จึงทำเงินได้จริง 

เพราะการวางเป้าหมายเพื่อธุรกิจ มีกำไร แล้วไปกระตุ้นพนักงานสร้างทีมให้เดินตามเป้าหมายนั้น มันไม่ใช่วิธีการที่ยั่งยืน แล้วมาขายฝัน สมดุล ชีวิตและการทำงาน 

นี่จึงเป็นเหตุของแนวคิด “สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานนั้นไม่มีอยู่จริง” สิ่งต่าง ๆ ล้วนเป็นเรื่องขายฝัน ที่มีบทความอยู่ใน ฟอร์บส์ (Forbes), บีบีซี (BBC),ไซโคโลจีส์ (Pshychologies) ต่างเขียนถึงวิถีชีวิตของพนักงานประจำในองค์กร 

สำหรับ แนวคิดที่สมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวไม่มีอยู่จริงนั้นมาจากความเชื่อที่ว่าชีวิตมีความเปลี่ยนแปลงและไม่มีความแน่นอนเกินกว่าวางเงื่อนไข ทำให้บรรลุความฝัน เส้นสมดุลที่สมบูรณ์ระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว เพราะมีปัจจัยแวดล้อมดังนี้คือ 

1. ธรรมชาติของชีวิตคือความเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ (Constrant Change) 

ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ต่างคนต่างเผชิญกับความท้าทายและโอกาสใหม่ ๆ เข้ามา ล้วนเกิดขึ้นกับตัวเองตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องยากในการจะรักษาสมดุล ระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว แทนการคิดถึงการวางสมดุล จึงควรปรับเปลี่ยนการจัดลำดับให้ความสำคัญตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

2. การผสมผสานมากกว่าการสมดุล (Integration Over Balance) 

แทนที่เราจะพยายามในการหาจุดสมดุลที่สมบูรณ์แบบ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผสมผสานการทำงานและชีวิต ที่พร้อมปรับเปลี่ยน ยืดหยุ่น ตามสภาวะ มีการผ่อนหนักผ่อนเบา ยอมรับว่าบางครั้งการทำงานจะมีความสำคัญมากกว่าเพราะต้องขับเคลื่อนตามเป้าหมาย แต่ในบางเวลา ชีวิตส่วนตัวก็ขึ้นมาเป็นอันดับแรก เป้าหมายคือการหาวิธีบริหารจัดการทั้งสองสิ่งตามสภาวะให้สอดคล้องกัน

3. ความเครียดจากการพยายามหาสมดุล (Stress from Striving for Balance) 

ยิ่งพยายามไขว่คว้าทั้งสองอย่าง ทั้งชีวิตและงานให้สมดุลกันก็ยิ่งเกิดความเครียด เพราะการพยายามบรรลุสมดุลที่สมบูรณ์ แล้วเป็นไปตามที่วางเป้าหมายไว้ อาจนำไปสู่ความรู้สึกล้มเหลว หงุดหงิดเมื่อไม่สามารถควบคุมสิ่งที่คาดหวังไว้ได้เลย ทางที่ดีคือการยอมรับโดยสดุดีว่านี่คือชีวิตจริง บางครั้งความไม่สมดุลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วจะค่อยๆ ลดความกดดันกับตัวเราเอง สิ่งต่างๆ ที่เราต้องการจะควบคุมไปทุกอย่างก็จะเบาลง และทำให้เรามีความสุขไปตามสภาวะที่เห็นและเป็นอยู่

 

4. การมองการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต (Work as Part of Life) 

การทำงานคือส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราจะต้องอยู่กับมันไปตลอด จึงต้องทำให้มีความสุข มีพลัง เราไม่สามารถแยกทั้งสองสิ่งออกจากกันได้ เมื่อไหร่ที่แยก เราก็จะทำงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ และผลตอบแทนเท่านั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแค่ความสำเร็จชั่วคราว และยิ่งทำ ยิ่งเกิดภาวะเครียดกดดัน หมดไฟ เพราะไม่ใช่สิ่งที่ชีวิตต้องการ เราสามารถช่วยให้งานกับชีวิตสอดคล้องกันได้  หากมีการปรับมุมมองให้สิ่งที่เราทำงานคือส่วนหนึ่งของชีวิตเรา แล้วยิ่งทำก็ยิ่งได้เงินเป็นผลตอบแทน และยิ่งทำให้เกิดคุณค่ากับชีวิต นี่แหละคือความสุขที่เราตามหา ดีกว่าไปสร้างภาวะกดดัน แข่งขัน เพื่อไขว่คว้าตามปัจจัยภายนอกมากระตุ้น สิ่งที่เป็นแรงกระตุ้นไฟในตัวเราได้ดีที่สุดคือจากชีวิตภายในของเรา

 

  1. กระบวนการต่อเนื่อง (Continuous Process) 

สมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวไม่ใช่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียว แต่เป็นการเดินทางแสวงหาเกิดขึ้นเป็นลำดับ เป็นกระบวนการต่อเนื่อง จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนและการตระหนักรู้ในตนเองอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติ เพื่อจัดการความต้องการของทั้งการทำงานและชีวิตส่วนตัวอย่างมีประสิทธิภาพ

 

6. ความแตกต่างของแต่ละบุคคล (Individual Difference) 

เรื่องของชีวิตเป็นปัจเจกบุคคล ดังนั้นสถานการณ์ของแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกัน จึงไม่อาจคัดลอกความสำเร็จของชีวิตคนอื่นมาเป็นของเราได้ เพราะสิ่งที่คิดว่าเป็นผลลัพธ์ที่ดีสำหรับคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลสำหรับอีกคนหนึ่ง เพราะมนุษย์เติบโตมาแตกต่างกัน ความชอบส่วนตัว ความต้องการของงาน ความรับผิดชอบในครอบครัว และเป้าหมายส่วนบุคคลทั้งหมดมีบทบาทในการจัดการเวลา และพลังงานของเราแตกต่างกัน 

 

ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการมุ่งเน้นไปที่การผสมผสานและปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น เราสามารถสร้างแนวทางที่สมจริงและยั่งยืนมากขึ้นในการจัดการการทำงานและชีวิตส่วนตัวของเรา 

 

11 สิ่งยืนยัน สมดุลชีวิตและงาน เป็นสิ่งขายฝัน 

และนี่คือ 11 สิ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เงินเดือน และพนักงานประจำ ที่จะพบว่า ชีวิตสมดุลระหว่างเรื่องส่วนตัว กับงานนั้น ไม่มีอยู่จริง (Work-life balance doesn’t exist) ยิ่งวิ่งตามหาก็ยิ่งกลัดกลุ้ม และเกิดความผิดหวัง หมดไฟในการทำงาน และเผชิญหน้ากับความจริงอันโหดร้ายกับชีวิตที่เราควบคุมไม่ได้ และไม่เป็นตามที่วาดหวังไว้ 

 

11 จริง อันโหดร้ายกับการวิ่งตามหาความสมดุลระหว่างชีวิตกับงาน 

 

 

       1.ความสมบูรณ์แบบเป็นมายาคติ (Perfect balance is a myth)

หาเป้าหมายและความสนใจหลักให้สอดคล้องกับช่วงเวลานั้น และสื่อสารกับตัวเองให้ชัดเจน และทำด้วยความตั้งใจพร้อมกันกับลงทุนเวลาและพลังงานในตัว

 

  1. เราไม่สามารถเป็นทุกอย่างได้ในเวลาเดียวกัน (You can’t have it all at once)

จัดลำดับความสำคัญที่สุด และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสิ่งที่ทำประจำ พร้อมแปรเปลียนไปตามสภาวะช่วงเวลาชีวิต 

 

 

  1. เมื่อเราตอบคำว่า ได้ หรือ ใช่ เท่ากับว่า เราปฏิเสธความเป็นตัวเอง  (Saying ‘yes’ to everything means saying ‘no’ to yourself)

การตอบว่า ใช่ ว่าได้ โดยไม่เคยปฏิเสธเลย ทำให้ยอมรับการเอาเปรียบจากคนทั่วไปโดยไม่มีการกำหนดขอบเขต และหาเวลาเติมพลังให้กับตัวเอง ดังนั้นต้องรู้จักพูดคำว่า “ไม่” อย่างมีกลยุทธ์เพื่อเป็นของขวัญให้รางวัลกับตัวเอง

 

 

       4.การใช้เทคโนโลยีทำให้เราพร้อมใช้งานได้เสมอ (Technology means we’re always on)

ต้องสร้างพื้นที่สำหรับการปลอดเครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยี ไม่จำเป็นต้องทำงาน หรือตอบอีเมล์หลังจาก 1 ทุ่ม และใช้ชีวิตโดยปราศจากโทรศัพท์ในช่วงเช้าตรู่ เปิดโหมดห้ามรบกวนไว้

 

 

  1. งานงอก เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหากไม่จำกัดเวลา (Work expands to fill the time)

ต้องทำตามเงื่อนไขกำหนดเวลา แม้จะเป็นภารกิจเล็กๆ ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ควรตั้งโปรแกรมกำหนดเวลาในการทำงาน

 

 

           6.ความสำเร็จในด้านหนึ่งล้วนแลกมาด้วยการเสียสละในอีกด้านหนึ่งเสมอ (Success in one area means sacrifice in another)

การสื่อสารการพูดคุยกับคนที่เรารัก เพื่อร่วมกันวางแผนในการสนับสนุนให้ภารกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่น 

 

 

  1. สุขภาพคือสิ่งที่สำคัญที่สุดอันดับแรก (Your health is the first to go)

ตารางเวลาของสุขภาพจะต้องเป็นกิจกรรมแรกในการทำงาน ดังนั้นจะต้องจัดสรรเวลาเพื่อสิ่งนี้ โดยมีเครื่องมือคอยตักเตือนให้ทำงานเพื่อตัวเอง เช่น การออกกำลังกาย ดื่มน้ำ และนอนหลับพักผ่อน 

 

 

  1. ภาวะหมดไฟจะค่อยแอบคืบคลานมาในร่างกายอย่างช้า (Burnout sneaks up gradually)

ทุกสุดสัปดาห์ จะต้องหาเวลาตรวจสอบพลังงานในตัว ทั้งอารมณ์ ความรู้สึก ร่างกาย และความเครียด เพื่อวางแผนปรับตัวลดภาวะหมดไฟตั้งแต่เนิ่นๆ 

 

 

  1. บริหารจัดการพลังงานเป็นสิ่งสำคัญกว่าการบริหารเวลา (Energy management matters more than time management)

จัดสรรการใช้พลังงานในภารกิจที่ต้องการการทำงานเชิงลึกสำคัญ

และจำกัดการใช้พลังงานเล็กๆ ในเรื่องที่เป็นภารกิจง่ายๆ ไม่ต้องเสียเวลาไปกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ มากนัก และหาเวลาพักเบรคระหว่างวันเพื่อเติมเต็มพลังงาน 

 

 

  1. ชีวิตและงานที่สมดุลเปลี่ยนไปตามแต่สถานการณ์ (Work-life balance changes with life stages)

วางแผนเริ่มต้นใหม่ในภารกิจประจำวันที่ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามช่วงเวลาและความจำเป็นของชีวิต หากวางแผนประสบความสำเร็จในระยะนั้นต้องกำหนดให้ชัด

 

 

  1. อุดมคติในการกำหนดตารางเวลาไม่มีอยู่จริง ( The ‘ideal schedule’ doesn’t exist)

สร้างสรรค์สิ่งเล็กๆ เรียบง่ายในช่วงเช้า และช่วงเย็น ในทุกๆวัน แต่พร้อมยืดหยุ่นตามสภาวะ 

 

และนี่คือโลกความจริง ที่ต้องฉีกความฝันของสมดุลชีวิตส่วนตัวและงาน และยอมรับเถอะว่า “โลกของการมีชีวิตที่สมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวนั้นไม่มีอยู่จริง”  เพราะงานกับชีวิต หากไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่สามารถจัดวางได้สมดุลตลอดเวลา จึงต้องเริ่มต้นจากทัศนคติ (Mindset) ไม่แยกส่วนระหว่างงานและชีวิต 

หากคิดว่า งานและชีวิตเป็น 2 ส่วนที่ต้องแบ่งเวลาให้สมดุลกัน  เป็นวิธีคิดที่ไม่สมดุล เป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่สามารถแยกส่วนกันได้ 

ความสมดุลที่แท้จริงในชีวิตเกิดขึ้นเมื่อคุณทำงานเพื่อรักษาและเปลี่ยนแปลงจิตใจของคุณ ในขณะเดียวกันก็ปรับระบบประสาทของคุณได้ ท้ายที่สุดแล้วเป็น “สมองก้อนเดียว” ที่หลังจากทำงานและกลับบ้านไปหาครอบครัวหรือหาตัวคุณเองทุกวัน ดังนั้น หากสร้างสมดุลภายใน ทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานของคุณจะสอดคล้องกันโดยธรรมชาติ 

 

ที่มา

Black Powerlist: Dean Forbes named as most influential black Briton (bbc.com)

Work-Life Balance Is a Cycle, Not an Achievement (hbr.org)

Psychologies

Forget Work-Life Balance. It’s The Future Of Less Work (forbes.com)