2 ตัวแทนจาก UNDP-WEF ภัยพิบัติมาถึงตัวแล้ว เร่งลงมือเปลี่ยนโลกย้ายเงินทุน สู่สังคมโลกเท่าเทียม-พลังงานสะอาด

2 ตัวแทนจาก UNDP-WEF ภัยพิบัติมาถึงตัวแล้ว เร่งลงมือเปลี่ยนโลกย้ายเงินทุน สู่สังคมโลกเท่าเทียม-พลังงานสะอาด

UNDP-ตัวแทนจากภาคพลังงาน WEF แสดงวิสัยทัศน์ ESG Symposium หมดเวลาที่จะบ่นถึงภัยพิบัติเกิดขึ้นรุนแรงทั่วโลก แต่ถึงวันที่ต้องหยิบความท้าทายให้กลายเป็นโอกาสหยุดโลกเดือด UNDPเผย 3 บริบทใหม่ เปลี่ยนตัวชี้วัดคุณค่าสังคมโลก เร่งทำตามสัญญา และเอกชนย้ายทุนน้ำดีสู่กลุ่มเปราะบาง ด้าน WEF เผยอาเซียนเผชิญความท้าทาย ย้ายฟอสซิล สู่พลังงานสะอาด    

 

 

ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและบ่อยครั้งจนชินตา เราทุกคนต่างตั้งคำถามและโยนความผิดให้กับภัยธรรมชาติ ทั้งที่ในความเป็นจริง นี่ไม่ใช่สิ่งปกติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อมมีจุดเริ่มต้นจากสิ่งที่มนุษย์ได้ทำไว้ก่อนหน้า จนเกิดผลขึ้นในวันนี้

ภายในงาน “ESG Symposium 2024 Driving Inclusive Green Transition”  เป็นเวทีที่ร่วมสะท้อนปัญหา และกำหนดวาระมุมมองขอประเทศไทย ในการเผชิญหน้ากับความท้าทายของโลกใหม่ และแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อวางอนาคตประเทศไปสู่ความยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมได้แสดงวิสัยทัศน์และแนวทางใหม่ ๆ เพื่อเปลี่ยนความท้าทายที่เกิดจากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กลายเป็นโอกาสในการสร้างโลกที่ยั่งยืนมากขึ้น 

มีตัวแทนจาก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Naitons Development Programme -UNDP) มากล่าวนำเสนอข้อมูลและทิศทางการขับเคลื่อนโลกในหัวข้อ “Global Perspective on Green Transition”  พร้อมกับ ตัวแทนจาก Member of the executive Committee-Head of the Centre for Energy and Matterials, World Economic Forum มากล่าวในหัวข้อ “Future Compettiveness of Energy Transition” 

 

 

ไม่ใช่เวลาพูดถึงภัยพิบัติ

ถึงจุดต้องลงมือปรับ 3 บริบทใหม่

 

เนี่ยมห์ คอลลิเออร์-สมิธ (Niamh Collier-Smith) ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า ในปัจจุบัน ไม่ใช่เวลาที่จะพูดเรื่องภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ หรือข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศปารีสที่จะควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสนั้นยังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ และจะไม่พูดถึงประชากรโลก 132 ล้านคนกำลังจะเข้าสู่ความยากจนภายในปี 2030 เนื่องจากวิกฤติปัญหาสภาพภูมิอากาศภัยพิบัติโลกร้อน ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทั้ง น้ำท่วม และภัยแล้ง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่เราต่างก็เห็นกันอยู่แล้วและมีตามรายงานพาดหัวข่าวในทุกสำนักข่าว ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงย้ายถิ่นฐาน จากปัญหาสภาพภูมิอากาศ และ 4 ใน 5 ของประชากรเป็นผู้หญิงและเด็ก ที่จะได้รับผลกระทบรุนแรง 

 

 

ปรับตัวชี้วัดคุณค่าคนในสังคมโลก 

ดังนั้น 3 สิ่งที่ทุกคนจะต้องคิดและทบทวนในการนำไปสู่การลงมือทำ ประกอบด้วย 

1.เครื่องมือในการวัดผลสำคัญ (Measuring What Matters) สิ่งสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกอยู่ที่การหาคุณค่าทางสังคม ด้วยตัวชี้วัดใหม่ ให้กับโลก ที่เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ ซี่งสิ่งเหล่านี้ความซับซ้อน และมีหลากหลายมิติ โดยเฉพาะมิติ ทางด้านการมีชีวิตที่สุขภาวะที่ดี การสร้างองค์ความรู้ให้กับภาคการศึกษา และมาตรฐานในการใช้ชีวิตบนโลกใบนี้ ไม่ใช่เพียงวัดด้วยมูลค่าทางตัวเงิน แต่เป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองไปพร้อมกับคน และโลกของเรา

การพัฒนาที่ผ่านมามีการพัฒนาโดยมุ่ง GDP หรือ การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การพัฒนาก็ได้สร้างดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่ปรับตามปัจจัยทางโลก  ยิ่งมีการพัฒนามนุษย์มากขึ้น แต่กลับยิ่งห่างไกลจากธรรมชาติ ปี 1990 อินเทอร์เน็ตเพิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้น และมีคนเพียงไม่กี่คนที่เคยได้ยินเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในยุคนั้นมุ่งเน้นการพัฒนาบนพื้นฐานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP)เป็นหลัก ปี 2020 เราได้เพิ่มดัชนีอีกสองดัชนีด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และมีการวัดการติดตามการก๊าซคาร์บอนของแต่ละประเทศ พบว่า มากกว่า 50 ประเทศหลุดออกจากสิ่งที่เราเรียกว่าดัชนีการพัฒนายกระดับคน โดยไม่สร้างความกดดันอย่างมหาศาลต่อโลก ทำให้พื้นที่สีเขียวลดลง และส่งผลกระทบกับโลก จึงต้องปรับแนวทางหันมาพัฒนาด้านคนควบคู่กับผลกำไร รวมถึงสิ่งแวดล้อม จึงนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่แท้จริง

“เดิมทีใช้เพียงแค่ GDP แต่ปัจจุบันได้เพิ่มการวัดดัชนีการก้าวหน้าเรื่องการพัฒนามนุษย์ เพิ่มอายุขัย เพิ่มการศึกษา เรื่องคุณภาพชีวิตที่ดี ทำให้ 50 ประเทศ หายไปจากกลุ่มที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงมาก ยังไม่มีประเทศไหนที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก โดยไม่สร้างแรงกดดันให้กับโลก ดังนั้นทุกประเทศจำเป็นต้องกล้าหาญ สมาชิกสหประชาชาติลงนามเพื่ออนาคต ไม่โยนความท้าทายนี้ให้ลูกหลาน” 

 

 

เหลือ 5 ปี ปลุก 120 ประเทศ 

เดินหน้าทำตามสัญญาประชาคม 

2.แรงจูงใจที่จะนำไปสู่การให้คำมั่นสัญญาในการแก้วิกฤติสภาพภูมิอากาศ(Ambitious Climate Pledges) คำมั่นสัญญาด้านสภาพภูมิอากาศที่มีความมุ่งมั่นแต่ละประเทศด้วยความทะเยอทะยาน จนสุดท้าย การยืดเยื้อในการลงนามข้อตกลงใหม่เพื่ออนาคต ในการกำหนดแผนปฏิบัติการของประเทศ (Nationally determined contribution)  ในปี 2025 ครบรอบ 10 ปี ข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะต้องให้คำมั่นสัญญาเหลือเวลาอีก 5 ปี ที่จะบรรลุข้อตกลง ในการควบคุฒอุณหภูมิไม่สูงเกิน 1.5 องศา โดยมีกลุ่มประเทศสมาชิกกว่า 128 ประเทศ ให้คำมั่นสัญญาณในการมุ่งมั่น แก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยขับเคลื่อนในด้านเทคนิค หากเกิดความร่วมมือตามแผนที่วางไว้ จะนำไปสู่การขับเคลื่อนเม็ดเงินในการลงทุนอย่างมหาศาล นำไปสู่การสร้างงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรหลายพันล้านคน ให้สอดคล้องกันกับการเติบโตของพลังงานสะอาด และมีสุขภาพที่ดี มีความเท่าเทียมในสังคม 

NDC มีส่วนรวมที่กำหนดให้แต่ละประเทศดำเนินงานด้านสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และมีความมุ่งมั่นต่อเนื่อง 

“การทำ NDC จะแบ่งแยกน้อยลง ให้ความสำคัญกับเพศสภาพ ขณะเดียวกัน คำนึงถึงเยาวชน หากทำได้ดี แผนสภาพภูมิอากาศ ก็จะสามารถใช้เป็นแผนลงทุนของประเทศได้ สามารถสร้างงาน เชื่อมต่อเงินลงทุน พันๆล้านมีพลังงานสะอาด ทำให้สุขภาพดีขึ้น ส่งเสริมความเท่าเทียม  แต่แผนเหล่านี้ ต้องมีเงินลงทุน เพื่อเชื่อมต่อให้ไหลไปในทิศทางเดียวกัน” 

เอกชนกองหน้าปลุกทัพทุนน้ำดี 

ย้ายเงินกลับด้านโลกเท่าเทียม 

3.การสนับสนุนจัดสรรการเงินจากภาคเอกชน (Aligning Private Finance) 

การรักษาอุณหภูมิไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5องศา จะต้องได้รับการสนับสนุนด้านการลงทุนจากภาคเอกชน ดังนั้นในการประชุม ในการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศ(COP) ที่บากู จึงต้องนำไปสู่การสร้างความร่วมมือใหม่เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างทางการเงิน เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน ในปะเทศที่กำลังพัฒนา ที่ผ่านมาการลงทุนส่วนใหญ่ มันไหลไปที่โครงการในเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก จึงไม่เกิดความคืบหน้า ดังนั้นธุรกิจพิจาณาจัดสรรเงินทุนให้ถูกจุด เพื่อสร้างความเท่าเทียมและยั่งยืนได้อย่างแท้จริง โดยพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมกันกับมีเป้าหมายที่วัดผลได้ชัดเจน ผ่านมือ SDG เพื่อช่วยในการออกแบบความยั่งยืน

ภาคเอกชนจะต้องกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจโลกของเราไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสร้างความยั่งยืน นักลงทุนในไทยควรมีการเชื่อมโยงกับแผนที่สร้างรายได้สอดคล้องกับ SDGs เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ, การส่งเสริมการเงินสร้างสรรค์ และมีการมีการพัฒนาสร้างรายได้จาก คาร์บอนเครดิต ทำให้ผู็คนที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 

“ที่ผ่านมามีการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนมากกว่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ ในด้านรถยนต์ไฟฟ้า สัดส่วนหนึ่งในห้า แต่ปัญหาคือการลงทุนส่วนใหญ่ ยังกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจจะต้องลงมือทำ ไม่เลือกผลประโยชน์ระยะสั้น เลือกลงทุนพื้นที่ที่สร้างโอกาส และหยุดลงทุนในพลังงานฟอสซิล”

ผลการสำรวจจากตัวแทน UNDP เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปีที่ผ่านมาได้ระบุชัดเจนว่า สัดส่วน 80% ต้องการเพิ่มการขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 86% ของประชากรทั่วโลก ต้องการให้ประเทศของตนเองทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง ดังนั้นในไม่เช้าจะเกิดการหลั่งไหลของเม็ดเงินลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก

 

ความท้าทายของไทย-อาเซียน 

ทิ้งฟอสซิลสู่พลังงานสะอาด 

โรเบิร์ตโต บอคคา (Roberto Bocca) Member of the executive Committee-Head of the Centre for Energy and Matterials, World Economic Forum กล่าวถึงความท้าทายประเทศไทยและประเทศอาเซียน ต่อการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดว่า การเปลี่ยนผ่านทั่วโลกเชื่องช้าลง และความเท่าเทียมช้ามาก ประเทศในอาเซียนมีความพร้อม แต่ช้าในเรื่องสมรรถนะ สืบเนื่องมาจากโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถ้าดูระดับโลก การเปลี่ยนผ่านกำลังเกิดขึ้น ประเทศจีนเป็นผู้นำโดยใช้แนวทางที่ไม่ใช่ตลาดกับการจัดการมลพิษ ความยั่งยืน และความมั่นคงทางพลังงาน ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ใช้ระบบตลาด

ดังนั้นหมายความว่า เราจะต้องมีแอคชั่นที่มากขึ้น เฉียบขาดมากขึ้น เน้นภูมิคุ้มกันในประเทศ แนวโน้มเน้นย้ำให้เห็นถึงความเร่งด่วนที่อาเซียนจะต้องเร่งในเรื่องการได้มาซึ่งสมดุลดังกล่าวเพื่อให้ได้ระยะยาว ตอนนี้เราทำงานหนักไปแล้ว แต่ยังต้องไปอีกไกล บางทีก็ลังเลว่าจะไปทางไหนดี เพราะเรามองเห็นความย้อนแย้งระหว่างความเป็นจริง และความทะเยอทะยาน 

 

 

4 อุปสรรค โจทย์ยากต่อการเร่งเปลี่ยนผ่านยั่งยืน  

ทั้งนี้ความสำคัญอยู่ที่ ความสมดุลทั้ง 3 ด้าน ซึ่งเป็นความท้าทายที่ซับซ้อน แต่เราจะต้องเผชิญหน้ากับมัน ถ้าหากว่าเราต้องการอนาคตที่ยุติธรรมและยั่งยืน ขอยืนยันว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญ ในการประกันขีดความสามารถในการแข่งขัน ในภูมิภาคอาเซียน ประเทศในอาเซียนเผชิญความท้าทายในเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน ทั้งที่ผู้นำเองก็ตระหนัก และเล็งเห็น 4 ความท้าทาย 

1.Finance ในการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาด ประเมินกันว่าประเทศกำลังพัฒนาปัจจุบัน ได้รับเงินลงทุน 15% ของเงินลุงทุนในโลกนี้เท่านั้น

2.การขาดโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนา เช่น โครงการพลังงานสะอาดขนาดใหญ่

3.ความยากในการสร้างสมดุลความต้องการพลังงาน และการลดคาร์บอน

4.การไม่มีกรอบนโยบายในการกำกับดูแล 

 

แต่ถึงแม้ว่าจะเจอความท้าทายเหล่านี้ ถ้าหากทำได้ดีก็จะนำไปสู่ระบบพลังงานที่ยั่งยืน และเปิดโอกาส ให้ประเทศในอาเซียนแข่งขันในเวทีโลกได้ 

“เรามีดาต้าเซ็นเตอร์มาตั้งหลายแห่งของอาเซียน ซึ่งเรื่องนี้ในปัจจุบันมีความต้องการพลังงานสูงมากสำหรับธุรกิจ AI Digilization  ที่จะนำพาธุรกิจที่จะไปสู่พัฒนาสังคมอัจฉริยะ ( Intelligent age) ซึ่งต้องอาศัยพลังงานมาก ประเทศที่สามารถมีพลังงานสะอาด ราคาถูก ก็จะได้เปรียบในยุค Intelligent age ไม่เพียงเท่านั้น”

ใน อนาคตจะมีการแข่งขันการเป็นฮับโซลูชั่นด้านพลังงานสะอาด  เมื่อโลกต้องการ EV มากขึ้น ประเทศที่สามารถให้พลังงานสะอาด และประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานก็จะสามารถดึงดูดคนมาลงทุนได้ 

“การเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดสำคัญ สำหรับการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม จะต้องให้แน่ใจว่าต้นทุนที่ลงไป กับรายได้ที่ได้มา สมดุลกัน ขณะเดียวกันก็ต้องมองว่ามันเป็นไปได้เชิงธุรกิจไหม

รวมถึงแนวทางลดความเสี่ยงก็สำคัญ ต้องมีกลไกทางการเงิน มีนวัตกรรม การดึงดูดเงินทุนในอาเซียนก็สำคัญ ต้องเกลี่ยนการลงทุนให้ทั่วถึง และความร่วมมือระหว่างประเทศ และภูมิภาค ที่ต้องดำเนินการร่วมกัน”

นอกจากนี้ จะต้องสร้างระบบสายส่งไฟฟ้า(Grid)ระดับภูมิภาค ทั้งการบริหารจัดการคาร์บอน และเตรียมสังคมให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่าน หน่วยงานรัฐ เอกชน และอุตสาหกรรม และยกระดับทักษะ สำหรับภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบ