ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถา อธิบายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่ “ทำนา ปลูกข้าว” คนไทยผิวเผินไม่เข้าใจแก่นแท้ อยู่ที่กระบวนการคิด ใช้ทุนทางสติปัญญาสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจ ในภาวะโลกรวน บริหารจัดการทรัพยากรไม่เพียงพอ ให้พอเพียง ค้นหาคำตอบ ผ่านงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) สืบสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างโลกที่ยั่งยืนในทุกมิติ เชื่อมโยงธุรกิจและผู้บริโภค
ยุคโลกเดือด หรือ Global Boiling เป็นสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งถ้าเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นมากเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส จะส่งผลกระทบเป็นโดมิโน่ ไม่ว่าจะคน, สัตว์, ธรรมชาติ และ โลกใบนี้
Sustainability Expo 2024 (SX2024) จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 กับแนวคิด ‘พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก’ (Sufficiency for Sustainability) มหกรรมความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน
เพื่อสร้างสรรค์ให้โลกสมดุลและผลักดันให้เกิดการลงมือทำ (Decade of Action) รวมพลังเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกใบนี้น่าอยู่
เพราะโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ประชากรโลกต้องรับมือด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals) และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่ 9 มาปรับใช้ ในเรื่องการพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิกันที่ดี ไม่หวังเพียงโลภหรือทุจริตคอรัปชั่นเพียงอย่างเดียว
ในงานนี้ร่วมอัปเดทไอเดียความยั่งยืน นวัตกรรมและต้นแบบการพัฒนาเมืองสู่ชุมชน ผ่านงานเสวนา เวิรค์ช้อป นิทรรศการศิลปะ ตลอดจนวิทยากรระดับท็อปที่ลงมือหาวิธีการช่วยโลกใบนี้
เปิดพิธีด้วยเสียงประสานร้องเพลง What A Wonderful World ของ Louis Armstrong ที่มีเนื้อเพลงกล่าวถึงโลกที่สวยงาม การที่คนหนึ่งคนได้เห็นต้นไม้สีเขียว ดอกไม้สีแดงบานสะพรั่ง ได้ยินเสียงเด็กร้องและนกขับขาน การได้เห็นทุกสรรพสิ่งเติบโตบนโลกพื้นนี้ใต้ท้องฟ้าสีคราม ซึ่งอาจเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในอนาคตหากเราปล่อยให้โลกถึงจุดวิกฤตนี้ไปเราคงไม่ได้มีวันเช่นนี้อีก
ความเข้าใจ เศรษฐกิจพอเพียง
ไม่ใช่ปลูกผัก แต่เป็น ‘วิธีคิด’ ดำรงชีวิต
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถาในพิธีเปิดงานว่า ความยั่งยืนสอดคล้องกับหลักปรัชาญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ตามความเข้าใจของทุกคนยังคงคลาดเคลื่อนแม้มีมานานตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตั้งไว้เมื่อปี 2542 หลังจาก เศรษฐกิจไทยเกิดฟองสบู่ ปี 2539 ทำให้บ้านเมืองล่มจ่มหนี้สินเท่าตัว ภาคธุรกิจต้องปิดกิจการไปไม่รอด เกิดเหตุทุกข์รอดทั่วประเทศ จนต้องกู้เงินองค์การการเงินระหว่างประเทศ(IMF) เข้ามาแก้ไขปัญหา
ผลสุดท้ายพระองค์ท่านเริ่มกล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) อันเป็นหัวใจหลัก โดยใช้เวลาอธิบายซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนได้นำไปบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) และมีพระราชทานจำกัดความที่ย้ำเตือนถึงความเปลี่ยนแปลง ที่ตอนแรกอาจนึกถึงแค่เศรษฐกิจแต่ระยะหลังทำให้นึกถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ น้ำท่วม โรคระบาดที่เข้ามาหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 จึงพบว่า
ท่านเตือนเราไว้ทุกอย่างแล้ว เราแค่แปลไม่ออกเอง!!
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ท่านได้ใช้เวลา อธิบายซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 และที่9 แต่เมื่อจำนวนประชากรโลกมากขึ้นถึง 9 พันล้านคน พฤติกรรมมนุษย์จึงกลายเป็นผู้สร้างและผู้ทำลายบริโภคเกินพอเพียง จนต้องกลับมาทวนทวนการบริโภคในชีวิตประจำวัน การผลิตต้องใช้ทรัพยากรในโลกที่เติบโตขึ้น เป็นการบริโภคด้วยเหตุผล หรือด้วยความโลภ เสื้อผ้า ของใช้ พลังงาน”
ทุนปัญญา ภูมิคุ้มกันกิเลส กำกับความโลภ
โดยวางหลักความคิดไว้สามองค์ประกอบ คือความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน สามด่านแรกที่ไม่ว่าจะทำอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ธุรกิจหรือแม้กระทั่งตัวเราเอง ก็ต้องดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างประมาณตน 1.ประเมินทุนสติปัญญา ทุนทรัพยากร 2.มีเหตุผลที่ยับยั้งกิเลส เช่น นักลงทุนไปกู้มาเพราะเห็นตลาดเติบโตแต่สุดท้ายหนี้ท่วม 3.สร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันความเสี่ยง (Risk Management) ด้วยการทำเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
“ก่อนทำอะไรจึงต้องประมาณตน ดูทุน ดูตลาด นี่คือกระบวนการคิดมีเหตุผล ใช้ทุนทางสติปัญญา มีศีล สมาธิ ปัญญามาคอยเป็นตัวกำกับ ไม่มีเหตุผลที่เป็นสิ่งที่เกิดจากกิเลส หลายครั้งที่นักลงทุนเห็นการเติบโตไปกู้มาขยายการลงทุนจนหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะทำตามกระแส”
เวลานั้นไม่เคยรอคอย ต้องกับมาคิดทบทวนว่ามนุษย์ดึงทรัพยกรของโลกนี้มาใช้ แม้จะสร้างนวัตกรรมใหม่ แต่โลกใบนี้เล็กมากหากเทียบกับมนุษย์ ดังนั้นต้องตั้งคำถามว่าของที่เราบริโภคอยู่ทุกคน ประดับไว้ในบ้านจำตามหลักเหตุและผล หรือแค่ความโลภ
“นักวิทยาศาสตร์บอกว่าสิ่งของ 70% ในบ้านคนเรานั้นไม่ได้มีความจำเป็นในชีวิตเลย แต่เราต้องแลกมาจากแผ่นดิน ที่มีวันหมดนะครับ น้ำมันก็เริ่มจะหมดแล้วนะ เริ่มมีปัญหาแล้วมนุษย์ถึงจะเริ่มหาทางออก”
เข้าใจ เข้าถึง แก่นแท้พอเพียง
อยู่ที่สติปัญญา เกราะคุ้มกันภาวะจิตใจ
น่าเป็นห่วงคนไทยเป็นคนผิวเผิน ไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ ชอบติดอยู่แค่เปลือกไม่ลงลึกถึงแก่น ต้นไม้ก็ดูแค่ผิว เห็นแค่ผิวเรียบ ๆ ไม่รู้ว่า ต้นไม้อายุเท่าไหร่ เช่นเดียวกันกับพระพุทธศาสนา เพียงนับถือกราบไหว้พระ แต่ไม่ได้น้อมนำพระธรรมมาปฏิบัติ หรือเพียงนั่งส่องพระเครื่อง หัวใจสำคัญของปรัชญาพระพุทธศาสนาคือ ปัญญา ภูมิคุ้มกันความเสี่ยงระมัดระวังสิ่งที่จะเข้ามากระทบต่อภาวะจิตใจของเราทุกคน
“โลกเปลี่ยนไปแล้ว องค์ความรูัในยุคปัจจุบันด้านการศึกษาไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลง และความต้องการในยุคปัจจุบัน เป็นโลกที่ไร้พรมแดน สิ่งที่เกิดขึ้นจากนอกประเทศ นอกโลกย่อมส่งผลมาถึงตัวเรา เพราะโลกนี้เป็นหนึ่งเดียวกัน แบ่งแยกไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความสัมพันธ์ถูกโยงใยใกล้ชิดกัน ทุกคนจึงต้องมีภูมิคุ้มกัน”
พอเพียง ปรัชญาเชื่อมโยงกับทุกบริบท
ทุกระแสเศรษฐกิจโลกใหม่
พระองค์ท่านทรงเน้นย้ำในด้านคุณงามความดี ไม่มีทุจริต คอรัปชั่น ซึ่งอยู่ในการพัฒนายั่งยืน คือ Good Governance เป็นสิ่งสำคัญในการนำพาให้องค์กรขนาดใหญ่อยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน
พระองค์ท่านทรงสอนด้านการบริหารจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ทำไว้เป็นต้นแบบ ยังไม่มีใครนำมาสืบสาน ปฏิบัติ จึงยังวนเวียนอยู่กับความทุกข์ กระแสโลกใหม่ทคี่ล้วนมีคำว่า Green, Net Zero Emission, Circular Economy, Creative Economy, Small is Beautiful ล้วนเกี่ยวโยงกับความพอเพียง และปัญญา นี่คือทางรอดของชีวิต และส่งต่อทรัพยากรให้กับคนรุ่นต่อไป
“ทำเพื่อตัวเองรอด และลูกหลานรอดแล้วก็ต้องทำเพื่อโลกส่งต่อทรัพยากรทั้งหลายให้มีอยู่เพียงพอไปสู่ลูกหลาน เพื่อให้ยั่งยืน จากรุ่นสู่รุ่นได้มีความสุขบนอัตภาพ”
ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) ได้รับการตอบรับที่ดี จากปีที่ผ่านมาที่มีผู้เข้าชมมากกว่า 360,000 คน ถือเป็นงานที่จัดขึ้นจากความร่วมมือของภาคธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยน้อมนำพระบรมราชโองการในการสืบสานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นแนวทางในการพัฒนาความยั่งยืน โดยปีนี้ได้ขยายเครือข่ายพันมิตรในการร่วมพลังในทุกมิติเข้าร่วม
นำโดย 5 องค์กรต้นแบบธุรกิจความยั่งยืนระดับโลกได้แก่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้, เอสซีจี, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ, ไทยยูเนี่ยน และปตท. พร้อมทั้ง เครือข่าย TSCN (Thailand Supply Chain Network ) ร่วมด้วยผู้สนับสนุนการจัดงานทุกภาคส่วน
10 วันจัดเต็ม ชี้เป้า 10 แอคชั่น
- โซน SEP INSPIRATION หัวใจหลักความยั่งยืน
- โซน Better Me วิถียั่งยืนที่เริ่มต้นจากตัวเอง
- โซน Better Living ความยั่งยืนจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ
- โซน Better Community เพื่อสังคมที่ดีจากไทยสู่สากล
- โซน Better World งานศิลป์ในโลกแห่งความหลากหลาย
- โซน SX Food Festival เปิดประสบการณ์ใหม่ อาหารอนาคตบนจานแห่งความยั่งยืน
- โซน SX Marketplace ตลาดสร้างสรรค์ในบรรยากาศสวนกลางเมือง
- โซน SX REPARTMENT STORE ส่งต่อ ข้าวของที่ไม่ใช้ สู่คุณค่าใหม่เพื่อผู้อื่น
- โซน B2B Event หลากสัมมนาและเครือข่ายธุรกิจเพื่อความยั่งยืน และเวทีเสวนา
- โซน SX Kids สนุกคิดส์ สนุกทดลอง
โดยในปีนี้เนรมิตชั้น LG ชั้น G และชั้น 2 เป็นโซนหลากหลายให้เลือกเยี่ยมชมและร่วมกิจกรรม เวลา 10.00-20.00 ถึง 6 ตุลาคม 2024 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์