เมื่อศึกชิงชัยเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯยังไร้ข้อสรุป ใครคือผู้ชนะเลือกตั้งมะกัน นโยบายประเทศ ส่งผลต่อเวทีโลก กลุ่มประเทศสมาชิกUN ชะลอการเคาะเงินอุดหนุน ผลักดันวาาระเร่งด่วน แก้โจทย์ลดอุณหภูมิตามพันธสัญญาในการประชุมที่นิวยอร์ก
ประกายดาว แบ่งสันเทียะ : แปลและเรียบเรียง
ประเด็นสำคัญเร่งด่วน
-ประเทศต่าง ๆ ชะลอการตัดสินใจเพื่อรอฟังผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ
-กำหนดวาระเร่งด่วนเพื่อวางเป้าหมายทางการเงินแก้ปัญหาสภาพอากาศใหม่ เพื่อทดแทนความตกลงเดิมมูลค่า100,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐที่กำลังจะหมดอายุ
-การต่อสู้เร่งด่วนเพื่อแข่งขันกับสภาวะอุณหภูมิโลกสูงขึ้น
-จับตาบทสรุปที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติอังคาร 24 กันยายน ณ กรุงนิวยอร์ก
การประชุมสหประชาชาติในสัปดาห์นี้ที่นิวยอร์กมี มีวาระร่วมผลักดันเป้าหมายของโลก ในการอุดหนุนเงินเพื่อแก้ปัญหาสภาพอากาศ แต่ความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจผลกระทบต่อความคืบหน้าในการผลักดันเรื่องดังกล่าว ลามไปถึงการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปลายปี 2024 นี้
คณะผู้เจรจาตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ มีท่าทีชะลอการกำหนดจุดยืนก่อนที่จะรู้ผลการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน
เพราะผู้ชนะผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก) เป็นการชี้ชะตาและกำหนดเป้าหมายกำหนดทิศทางนโยบายการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง(Climate Change)
ทั้งนี้ การต้องรอผลการชิงชัยประธานาธิบดี จนถึงวันเลือกตั้ง ในเดือนพฤศจิกายน ถือเป็นจุดเสี่ยงทำให้ประเทศสมาชิกต้องพลาดโอกาสในการกำหนดข้อตกลงใหม่ ก่อนที่คำมั่นสัญญาการจัดหาเงินทุน 100,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (3.41 ล้านล้านบาท) จะหมดอายุลงในช่วงปลายปีนี้
วาระชาติ สู่วาระโลก
จับตาผู้ชนะเงื่อนไขแก้ ‘วิกฤติโลกร้อน ’
มิชา โรเบิร์ตสัน ผู้เจรจาด้านการเงินจากพันธมิตรของรัฐเกาะเล็ก (Alliance of Small Island States) กล่าวว่าการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกามีผลต่อการตัดสินใจในการกำหนดวาระการประชุม การเจรจาด้านสภาพอากาศเปลี่ยน
ตัวแทนจากรัฐบาลในประเทศสมาชิก กำลังวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาว่าใครคือผู้ที่คว้าตำแหน่งนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดี เพราะหากผลการชนะของ รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ส่งผลต่อมาตรการเดิมของประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังผ่านร่างกฎหมายการอุดหนุนงบประมาณเพื่อสภาพอากาศในประเทศฉบับใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
ในขณะเดียวกัน หากชัยชนะจะตกเป็นของ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
ทั้งสองเส้นทาง บ่งชี้ถึงจุดเปลี่ยนชะตากรรมของการแก้ไขปัญหาวิกฤติของโลก โดยเฉพาะหากเกิดการคาดการณ์ที่สาม ยังไม่มีข้อยุติการเลือกตั้ง สหรัฐฯอยู่ในสภาวะไม่แน่นอนไม่มีผู้นำเป็นเวลาหลายเดือน ก็จะยิ่งส่งผลต่อการกำหนดนโยบายโลกไม่แน่นอน เกิดการล่าช้าไปอีก
โรเบิร์ตสัน แสดงความกังวลถึงความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังส่งผลกระทบต่อการวางแผนการขับเคลื่อนการลดอุณหภูมิโลกจากประเทศสมาชิก แม้ได้กำหนดให้ประเทศพัฒนา ที่มีฐานะร่ำรวยได้ใส่เงินเพิ่ม แต่กลับยังไม่มีความชัดเจนในมูลค่าการเสนอ เพราะต่างฝ่ายต่างรอดูท่าทีของพี่ใหญ่สหรัฐอเมริกา ใครจะขึ้นมาเป็นผู้นำ
“รอเพื่อดูว่าทิศทางนโยบายสหรัฐฯ จะไปทางไหน”โรเบิร์ตสัน กล่าว
เป้าหมายที่แสนยุ่งยาก
การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประจำสัปดาห์นี้ ถือเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของทุกประเทศก่อนที่การประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศ COP29 จะเริ่มขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายนที่บากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ซึ่งห่างจากการลงคะแนนของสหรัฐฯ ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์
แต่การตกลงเป้าหมายใหม่ และการขยายฐานผู้บริจาคนั้น ถือเป็นเรื่องยุ่งยาก หากตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป อาจส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถชำระเงินได้ครบจำนวนอีกครั้ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความตึงเครียดและความไม่ไว้วางใจในหมู่ประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องพึ่งพาเงินเหล่านี้
ขณะเดียวกันหากตั้งเป้าหมายที่ต่ำเกินไปจะทำให้ผู้คนจำนวนมากเปราะบางและไม่ได้รับบริการเพียงพอ เนื่องจากภาวะโลกร้อนยังคงทวีความรุนแรงขึ้น ไซมอน สตีล หัวหน้าหน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ ประเมินว่า ความต้องการในแต่ละปีอาจสูงถึงล้านล้านคนเพื่อช่วยให้ประเทศยากจนเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดและเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะโลกร้อนได้อย่างเพียงพอ
การไม่สามารถกำหนดเป้าหมายใหม่ก่อนเริ่มต้นปี 2568 อาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาเรื่องสภาพอากาศในอนาคต เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอาเซอร์ไบจานซึ่งเป็นประธาน COP29 เตือน
ทิศทางที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ ในฐานะผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แฮร์ริส กล่าวว่า เธอสนับสนุนตำแหน่งการเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศของไบเดน รวมถึงคำมั่นสัญญาที่การประชุม COP28 เมื่อปีที่แล้วในดูไบที่จะบริจาคเงิน 3,000 ล้านดอลลาร์ (102,480 ล้านบาท)ให้กับกองทุนสภาพอากาศสีเขียวระดับโลก
ทั้งไบเดนและแฮร์ริสต่างไม่ได้เสนอเป้าหมายทางการเงินใหม่ แต่ผู้เจรจาของสหรัฐฯ กล่าวว่าเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น จีนหรือประเทศผู้ผลิตน้ำมันในอ่าวเปอร์เซียควรมีส่วนสนับสนุนเงินทุน
ในทางกลับกัน ทรัมป์ได้ให้คำมั่นว่า จะถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสอีกครั้ง รวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นกรอบอนุสัญญาที่ควบคุมความพยายามและการเจรจาเกี่ยวกับสภาพอากาศทั่วโลกระหว่างประเทศสมาชิก 198 ประเทศ มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ปฏิเสธ UNFCCC รวมถึงอิหร่าน ลิเบีย และเยเมน เซอร์ไพรส์มาร์ราเกช
เนื่องจากการเลือกตั้งของสหรัฐฯ และการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติทั้งคู่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ถือเป็นความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งในปีนี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่
ก่อนหน้านี้ในการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2543 การแข่งขันกันเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใด ๆ ได้ในปีนั้น ทำให้การเจรจาต้องเลื่อนไปเป็นสมัยพิเศษที่จัดขึ้นในอีก 5 เดือนต่อมาในเมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี
อย่างไรก็ตาม ปีนี้แตกต่างออกไป ผู้เจรจากล่าวว่า การต่อสู้กับปัญหาสภาพอากาศเร่งด่วนมากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นได้ก่อให้เกิดภัยพิบัติและภาวะสุดขั้วจากสภาพอากาศแล้ว
นักเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศกำลังเตรียมตัวอย่างหนัก สำหรับผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิด พอล บอดนาร์ ผู้อำนวยการด้านการเงินที่ยั่งยืนของกองทุนโลกเบซอส (Bezos Earth Fund) ซึ่งเคยเป็นผู้เจรจาของสหรัฐฯ ในสมัยอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าว
“ความแตกต่างระหว่างตอนนี้กับปี 2559 ก็คือปี 2559 ถือเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมาก” เขากล่าว หลังจากที่รัฐบาลทรัมป์ถอนตัวจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศโลก บอดนาร์ก็สร้างพันธมิตรระหว่างรัฐและเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ขึ้นมาเพื่อก้าวขึ้นมารักษาสถานะที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ในการเจรจาเกี่ยวกับสภาพอากาศโลก
ที่มา: https://www.reuters.com/sustainability/sustainable-finance-reporting/us-election-uncertainty-clouds-un-climate-finance-progress-2024-