ยื่นสมุดปกข่าวเสนอนายกฯ เร่งเปลี่ยนผ่านไทยสู่สังคาร์บอนต่ำ ผ่าน ESG Symposium 2024

ยื่นสมุดปกข่าวเสนอนายกฯ เร่งเปลี่ยนผ่านไทยสู่สังคาร์บอนต่ำ ผ่าน ESG Symposium 2024

ทบทวน 1 ปี สมุดปกขาว ESG Symposium 2023 สระบุรีแซนด์บอกซ์ ผลงานเกรดเอ ระดมความร่วมมือรัฐเอกชนปลดล็อกเมืองต้นแบบลดคาร์บอนต่ำ ปลูกป่า เปลี่ยนใช้ปูนลดโลกร้อนสำเร็จ ขณะที่ รีไซเคิล พลังงานสะอาด และผลักดัน SMEs ให้แข็งแกร่ง ยังต้องติวเข้มเดินหน้าขับเคลื่อนต่อเนื่องดึงแหล่งเงินทุนและความรู้ เผยธีม Symposium2024 สมุดปกขาวเล่มใหม่เสนอนายก ยังเกาะติดแผนเปลี่ยนผ่านลดคาร์บบอน4 ด้าน เพิ่มเติมแรงหนุนรัฐผ่าน เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน จัดระบบซัพพลายเชนแพคเกจจิ้งยั่งยืน ร่วมมือเร่ง-เปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

 

หลังจากมีการประกาศเจตนารมณ์จากงาน  ESG Symposium 2023 ซึ่งมีการระดมสมอง ยื่นข้อเรียกร้อง จากภาครัฐ-เอกชน-ประชาสังคม รวมพลัง “ร่วม-เร่ง-เปลี่ยน ไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” ด้วยการยื่นสมุดปกขาวให้ภาครัฐ ผ่าน นายกรัฐมนตรี ช่วยปดล็อกการปรับวิธีคิดการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกันขับเคลื่อน 4 ข้อเสนอ อาทิ การตั้ง “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เปลี่ยนเมืองอุตสาหกรรมไปสู่เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทยให้เกิดขึ้นจริง ส่งเสริมภาคการก่อสร้างสีเขียว ด้วยการใช้ปูนซีเมนต์ คาร์บอนต่ำ 

 

 

ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยถึงการประเมินผลภารกิจที่ได้ยื่นข้อเสนอภาครัฐในช่วง 1 ปีทีผ่านมา มีการยื่นสมุดปกขาวเสนอภาครัฐในการเปลี่ยนผ่านเมืองไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ใน 4 ข้อเสนอ ประกอบด้วย 

1.สระบุรี แซนด์บ็อกซ์ ให้คะแนนความคืบหน้าเต็ม 10  เพราะมีหลายจุดที่มีความคืบหน้าเกิดความร่วมมือในการเปลี่ยนเมืองอุตสาหกรรมปูน ที่ปล่อยคาร์บอนสูงที่มีความซับซ้อนในบริบทและมีความท้าทาย แต่สามารปลดล็อกทำให้กลายเป็นเมืองสีเขียว ประกอบด้วย 

-ความร่วมมือจาก 38 ชุมชน ในการปลูกป่าชุมชนทำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  

-การใช้ปูนคาร์บอนต่ำในการก่อสร้างภาครัฐ ในจังหวัด ที่ทำได้แล้ว 80% 

-การจัดการวัสดุเหลือใช้ มีการคัดแยกขยะครัวเรือนทำได้ร่วมมือ 108 องค์กรส่วนท้องถิ่น มีการขยายผลสู่จาก “ตาลเดี่ยวโมเดล” 

-ด้านเกษตรคาร์บอนต่ำ มีการทำนาเปียกสลับแห้งเพิ่มแรงจูงใจให้เกษตรกรปลูก ยังเป็นข้อถกเถียงที่จะต้องสร้างความเข้าใจระหว่างการเกษตรแบบเดิมกับแนวคิดใหม่ เริ่มต้นแล้ว 50 ไร่ ขยายผลไปสู่เป้าหมาย 1,000 ไร่ 

 

2.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในอุตสาหกรรมต่างๆ ยังมีข้อกจำกัด จะต้องมีองค์ประกอบด้วยกฎหมาย พร้อมกันกับมีการผลักดันให้โฮมโปรเข้ามาร่วมนำเครื่องใช้ไฟฟ้า

-อุตสาหกรรมมีการจัดการแพคเกจจิ้ง ขับเคลื่อนกฎหมายแพคเกจจิ้งใช้แล้ว และเอกชนจัดการแพคเกจกิ้งใช้แล้วให้กลับมาหมุนเวียนการผลิต

-อุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่มีกฎหมายรองรับการเก็บกลับซากรถยนต์ ขาดเทคโนโลยีคัดแยก และรีไซเคิลซากรถ

-อุตสาหกรรมก่อสร้าง เกิดความร่วมมือหลายโครงการ แต่Scale เป็นธุรกิจไม่ได้ เนื่องจากอัตราค่าขนส่งต้นทุนสินค้าสูงขึ้น 

 

3.เปลี่ยนสู่พลังงานสะอาดและยั่งยืน 

-เพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงเปลี่ยนอุปกรณ์เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม 

-ระบบกักเก็บพลังงาน MOUศึกษาระบบกักเก็บพลังงานในสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ และยังมีอุปสรรคขาดผู้ลงทุน เพราะเทคโนโลยียังมีราคาสูง

-โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เร่งผลักดันคลองเพรียวเป็นต้นแบบพันธมิตร(3rd Party Assess) มีแผนงานโครงข่ายฯ 1,0000 GW ในร่างPDP (แผนพัฒนาพลังงาน) ใหม่ แต่ยังไม่มีการกำหนดเวลา

 

4.การสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) 

-ด้านความรู้ ส่งเสริมความรู้เปลี่ยนธุรกิจสู่คาร์บอนต่ำ ผ่านโครงการต่างๆ เช่น Go Together

-เทคโนโลยี ทำให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเทคโนโลยี ในราคาต่ำเพื่อให้มีต้นแบบมาปรับใช้กับกิจการ 

-แหล่งเงินทุน SMEs ยังขาดช่องทางในการเข้าถึงแหล่งความรู้และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากหลากหลายแห่ง 

 

“ความคืบหน้าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สระบุรีแซนบ็อกซ์ ถือว่าเป็นต้นแบบที่สามารถเปลี่ยนเมืองอุตสาหกรรมปูน มาสู่การปล่อยคาร์บอนต่ำได้ให้คะแนนเต็ม 10  ทั้งที่มีความยากและท้าทาย เกิดจากความร่วมมือทำงานอย่างบูรณาการ วางเป้าหมายร่วมกัน มีการสื่อสารพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ และลงหน้างานจริง ดังนั้นหากสระบุรีทำได้ จังหวัดอื่นก็ทำได้เช่นกัน มีเพียงบางเรื่องที่จะต้องขับเคลื่อนต่อเนื่องและใช้เวลา เช่น นาเปียกสลับแห้ง ยังมีความขัดแย้งทางความคิด และการรีไซเคิลในบางอุตสาหกรรม และการช่วยเหลือSMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ” 

 

 

ทางด้าน บัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านจังหวัดสระบุรี สูเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน (PPP หรือ Public-Private-Partnership) ที่ทุกภาคส่วนเห็นเป้าหมายเดียวกัน และพร้อมขับเคลื่อนไปด้วยกัน จึงเกิดการทำงานร่วมกันระหว่างนักปกครอง สร้างภาคีเครรือข่าย MOU บูรณาการทำงานใน 5 มิติ โครงการที่เห็นชัดเจนที่สุดคือโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน ที่ทำให้เกิดความร่วมมือจากชุมชนถึง 1.47แสนครัวเรือน และทำให้เกิดการรับรองการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) จำนวน 3,495 ตันคาร์บอน เทีบบเท่ากับการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเกือบ 1 ล้านบาท พร้อมกันกับมีการส่งเสริมให้เกิดการปลูกหญ้าเนเปียร์ เพื่อแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล ใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ได้ปลดล็อกด้วยการให้ความรู้แก่เกษตรกร เชื่อมกับภาคอุตสาหกรรมเข้ามารับซื้อเข้าไปเป็นเชื้อเพลิง ปัจจุบันมีการปลูกแล้ว 100 ไร่ ที่อ.แก่งคอย จ.สระบุรี คาดว่าจะสามารถแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนได้ 2,100 ตัน สร้างรายได้ใก้กับเกษตรกร 2.5 ล้านบาทต่อปี และยังลดการปล่อยคาร์บอน 2,500 ตัน คาร์บอน 

“การเข้าไปชักชวนให้ทำสิ่งใหม่ หรือปลูกพืชเกษตรในพื้นที่มีความยากและท้าทาย เพราะมีความแตกต่างทางความคิดในช่วงเริ่มต้นของการเชิญชวนสิ่งที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนจึงต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนไมด์เซ็ทด้วยการใช้แรงจูงใจด้วยเงิน และมีแหล่งรับซื้อ นี่คือเนเจอร์(ธรรมชาติ)ของคนไทย อะไรมีเงินก็ขับเคลื่อนได้ ทำให้ทะลายข้อจำกัดได้ด้วยแรงจูงใจ” 

 

 

ด้านชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) กล่าวว่า ฐานกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ของประเทศกว่า 80 %อยู่ที่จ.สระบุรี ที่นี่จึงเป็นเสมือนบ้านของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ จึงต้องร่วมมือในภาคอุตสาหกรรมพัฒนาบ้านให้ดีขึ้น โดยร่วมกับทุกภาคส่วนเร่งเปลี่ยนสระบุรีให้เป็นเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย จึงคิดริเริ่มพัฒนาปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิค : Hydraulic Cement) ที่ลดการปล่อยคาร์บอนจากการผลิต และสนับสนุนให้ใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนการใช้ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ สูงถึงกว่า 80 % ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 1,169,673 ตัน CO2 (ข้อมูลสะสม มกราคม 2565 ถึงมีนาคม 2567)

หากดำเนินการนำปูนลดโลกร้อนมาใช้ตามเป้าหมายของ จ.สระบุรีที่จะไม่มีปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ภายในปี 2568 ถือเป็นประเทศแรกในเอเชีย อีกทั้งมีแผนการใช้ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำประเภทใหม่ ๆ ที่ลดการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการผลิตได้มากขึ้น 

สำหรับแนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย Princeton ซึ่งมีความชำนาญและเครื่องมือในการจัดทำแผนเปลี่ยนผ่านพลังงาน ( Energy Transition) ของสหรัฐอเมริกา โดยร่วมกันประเมินเส้นฐาน (Baseline) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน และกำหนดแผนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ( Energy Roadmap ) ของ จ.สระบุรี รวมถึงประเมินแนวทางการใช้พื้นที่ของจังหวัด ทำเป็น Solar PV พลังงานสะอาด เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายดำเนินงาน  ดังนั้นเมื่อมีพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นถึง 100% จะเกิดแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาตั้งฐานการผลิต เพื่อส่งออกไปประเทศที่ต้องการสินค้าสีเขียว 

“จะเร่งพัฒนา Green Infrastructure รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดของประเทศ โดยศึกษากระบวนการเปลี่ยนผ่านพลังงานของจีน ที่มีการแบ่งลำดับขั้นตามความพร้อมของแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงตัวอย่างของไต้หวันที่มีโครงสร้างไฟฟ้าแบบการประมูลรายวัน ปัจจุบันเรามีความร่วมมือกับทั้ง 2 ประเทศในการพัฒนา Grid Modernization ในสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ที่จะเป็นแรงจูงใจทำให้เกิดการลงทุนใหม่” 

 

โฮมโปรเทสตลาด เก็บกลับเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า

รีไซเคิลสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ขายได้จริง 

 

 

ทางด้านวีรพันธ์ อังสุมาลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โฮมโปรในฐานะผู้นำเรื่องบ้าน เล็งเห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการเปลี่ยนสินค้าในบ้าน แต่ไม่รู้วิธีจัดการสินค้าใช้แล้วที่ถูกต้อง จึงริเริ่มโครงการ Closed-Loop Circular Products ซึ่งเป็นการนำสินค้าที่ใช้งานแล้วจากลูกค้าโฮมโปร มาจัดการอย่างถูกวิธี โดยคัดแยกชิ้นส่วนที่สามารถนำไปรีไซเคิลใหม่ และได้ความร่วมมือจากพันธมิตรหัวใจสีเขียวอย่างเอสซีจีซี ที่มีเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเหมือนกัน 

“ช่วยพัฒนาสูตรพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงที่เรียกว่า Green Polymer เพื่อนำกลับมาผลิตอีกครั้งเป็นสินค้ารักษ์โลกให้กับลูกค้าโฮมโปร มี Circular Products ตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น พัดลม ไปจนถึงกระเบื้อง กล่องอเนกประสงค์ ถุงช้อปปิ้ง และอื่น ๆ ซึ่งการส่งเสริมให้เกิด Circular Products ด้วยระบบ Closed-Loop ถือเป็นภารกิจที่ตอบเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 ของโฮมโปรได้อย่างเป็นรูปธรรม”

 

 

ปรับไมด์เซ็ทSMEs ก้าวข้ามหนี้

มุ่งสู่กรีนทำเงินได้ 

 

ขณะที่แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า ความท้าทายของผู้ประกอบการรายย่อยไทยต่อจากนี้คือ การปรับธุรกิจให้เข้ากับกฎเกณฑ์ใหม่ที่เกิดจากประเด็นความห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป อาทิ Thailand Taxonomy มาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของไทย หรือ CBAM มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นเสมือนกำแพงทางการค้า  ธุรกิจที่ปรับตัวได้ก่อน จะก้าวข้ามข้อจำกัดดังกล่าวและพาธุรกิจอยู่รอดได้เร็ว

 

“ผู้ประกอบการมักจะถามว่าปัจจุบันยังมีปัญหามีภาระหนี้และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน จึงอยู่กระบวนการฟื้นฟูหนี้ ส่วนใหญ่จึงมักคิดว่า หนี้ท่วมหัว จะทำESG ไปได้อย่างไร  เราจึงต้องปรับทัศนคติทำให้ผู้ปรกบอการได้เข้าใจตลาด มีการค้าขาย มีโอกาส ทำให้เห็นว่า ความกรีนก็ทำให้ผู้ประกอบการกินได้ และสามารถทำเงินได้ไม่ใช่แค่การลงทุน ทำให้ไทยพร้อมแข่งขันกับทุนข้ามชาติ ” 

 

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจึงสนับสนุนให้SMEs ได้มีโอกาสได้เข้าถึงความรู้ มาตรฐานใหม่ ๆ เทคโนโลยีกระบวนการผลิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม แหล่งเงินทุนสีเขียวทั้งในและนอกประเทศสำหรับใช้ในการปรับธุรกิจ เน้นสร้างกลไกเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ เพิ่มโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากมาตรการต่าง ๆ ทั้งการเงิน ส่งเสริมความรู้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม การทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนั้นยังต้องขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อช่วย SMEs ให้ร่วมยกระดับเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืนด้วย”

 

เปิด 5 วาระร้อน สมุดปกขาวถึงนายก

 

ด้านธรรมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงวาระของ ESG Symposium 2024 ในปีนี้ ยังคงมุ่งเน้นการขับเคลื่อนไปสู่ “การเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” เพราะเป็นต้นเหตุในการลดความรุนแรงของวิกฤตโลกเดือด แต่ยังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจและประเทศ โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจขาลง ตลาดแข่งขันสูงจากสินค้านำเข้าจากจีน การบังคับใช้มาตรการ CBAM ที่จะกระทบต่อภาคการผลิต นำเข้า และส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยคาร์บอน เราจึงต้องเร่งเปลี่ยนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ควบคู่ไปกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยวิธีการอื่น ๆ  

ทั้งนี้ สำหรับธีมในปีนี้จะมุ่งเน้นที่ “Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส” โดยนำข้อเสนอจากการหารือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ 

1.  Saraburi Sandbox โมเดลต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย 

2.  Circular Economy การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้คุ้มค่าสูงสุด 

3.  Just Transition การสนับสนุนทรัพยากรแก่ภาคส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่าน 

4.  Technology for Decarbonization การพัฒนาเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 

5 Sustainable Packaging Value Chain การจัดการแพคเกจจิ้งทั้งระบบอย่างยั่งยืน  มานำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อร่วม-เร่ง-เปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำให้เร็วขึ้นกว่าเดิม

งาน ESG Symposium 2024 จัดขึ้นวันที่ 30 กันยายนนี้ ณ Hall 1 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เวลา 11.00-16.30 น. โดยมีวิทยากรระดับโลกร่วมแบ่งปันประสบการณ์และตัวอย่างที่หลากหลายในการเปลี่ยนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมชมนิทรรศการจำลองการใช้ชีวิตแบบโลว์คาร์บอน รับชมการถ่ายทอดสดได้ที่ Facebook และ Youtube