3 หน่วยงานรัฐช่วย SME ยื่นภาษีผิด ไม่ต้องเสียค่าปรับ-จ่ายเงินเพิ่ม

3 หน่วยงานรัฐช่วย SME ยื่นภาษีผิด ไม่ต้องเสียค่าปรับ-จ่ายเงินเพิ่ม


สบายใจได้! กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมมือ กรมสรรพากร และสภาวิชาชีพบัญชี ช่วยเหลือ SME หากเคยนำส่งงบการเงินและยื่นแบบภาษีอากรผิดพลาด ไม่ต้องกลัวเสียค่าปรับ-จ่ายเงินเพิ่ม หรือรับผิดทางอาญา

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับ กรมสรรพากร และสภาวิชาชีพบัญชี ได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ของไทย กรณีเคยนำส่งงบการเงินและยื่นแบบภาษีอากรผิดพลาด โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ-จ่ายเงินเพิ่ม หรือ มีความผิดทางอาญา ภายใต้ พ.ร.บ.ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความผิดทางอาญา

เนื่องจากทั้ง 3 หน่วยงานเข้าใจถึงสภาพการที่แท้จริงของเอสเอ็มอีว่ายังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีที่ถูกต้องตามหลักการบัญชีและส่งผลให้ชำระภาษีไม่ครบถ้วนซึ่งอาจได้รับโทษทางแพ่งและอาญา ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยบรรเทาภาระแก่ผู้ประกอบการที่ชำระภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง จึงได้ร่วมกันออกมาตรการฯ ดังกล่าวขึ้น

 

 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมมาตรการฯ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1.เป็นนิติบุคคลที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ มีรายได้ทางภาษี ไม่เกิน 500 ล้านบาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายที่ครบ 12 เดือน ซึ่งสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน 2561
2.ได้ยื่นแบบภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) ของรอบบัญชีที่สิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน 2561 ภายในวันที่ 25 มีนาคม 2562
3.ไม่เป็นผู้ออก/ผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมที่กรมสรรพากรได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ฯ บังคับใช้ (25 มีนาคม 2562)

อธิบดีฯ กล่าวอีกว่า สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นที่จะได้รับการยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มและได้รับการยกเว้นความผิดทางอาญา ต้องดำเนินการดังนี้

1.ลงทะเบียนต่อกรมสรรพากร (www.rd.go.th) และยื่นแบบแสดงรายการภาษีอากรทุกประเภท พร้อมทั้งชำระภาษีให้ครบถ้วนทั้งจำนวน ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562
2.ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงงบการเงินให้ถูกต้อง
3.ยื่นแบบภาษีอากรทุกประเภทผ่านระบบ e-Filing ของกรมสรรพากรต่อไปอีก 1 ปี (1 กรกฎาคม 2562 ถึง 30 มิถุนายน 2563)

“สำหรับแนวทางการปรับปรุงงบการเงิน ทั้ง 3 หน่วยงาน ได้ร่วมกันจัดทำตัวอย่างประกอบความเข้าใจ เช่น กรณีตรวจพบว่าสินค้าในบัญชีสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง กรณีลูกหนี้หรือเจ้าหนี้กรรมการไม่มีจริง กรณีที่ดินหรือสินทรัพย์อื่นที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการแต่ไม่เคยบันทึกบัญชีไว้ เป็นต้น

โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี www.tfac.or.th หัวข้อ ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี หัวข้อย่อย “ตัวอย่างเพื่อประกอบความเข้าใจในการปรับปรุงบัญชีเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด” ซึ่งเมื่อได้ปรับปรุงงบการเงินแล้ว หากมีความประสงค์จะนำส่งงบการเงินฉบับใหม่ทดแทนฉบับเดิมที่มีข้อผิดพลาด

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

‘บอร์ดอีอีซี’ เคาะ ‘ซีพี’ ชนะประมูลไฮสปีด