เพจดังเตือน “อย่าดัดขาเด็ก” เสี่ยงหัก! ชี้ลักษณะโก่งของทารกเรื่องปกติ

เพจดังเตือน “อย่าดัดขาเด็ก” เสี่ยงหัก! ชี้ลักษณะโก่งของทารกเรื่องปกติ


อันตราย! เพจดัง “Drama-addict” เตือนพ่อแม่มือใหม่ อย่าดัดขาทารก ชี้ ลักษณะการโก่งในวัยนี้เป็นเรื่องปกติ

เฟซบุ๊กแฟนเพจ “Drama-addict” โพสต์เตือนพ่อแม่มือใหม่ อย่าดัดขาเด็ก พร้อมระบุว่าในวัยทารกลักษณะการงอของขาเป็นเรื่องปกติ เมื่อโตขึ้นจะเข้าที่เข้าทางเอง ไม่จำเป็นต้องทำอะไร

โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า

“มาเรื่อยๆนะกับโพสแบบนี้ ก็ฝากถึงพ่อแม่เด็กในรูป ไม่ต้องไปดัดขาเด็กนะครับ แบบนั้นคือ ปรกติมากๆ ไม่ใช่ขาโก่ง คือเด็กวัยนี้ขาเขารูปร่างเป็นแบบนั้นแหละ แต่พอโตขึ้นก็จะเข้าที่เข้าทางแบบในภาพประกอบที่สองเอง ไม่ต้องทำอะไรเลย ทั้งหมดในภาพนั้นคือขาเด็กแบบปรกติทั้งหมด

แล้วก็ การไปดัดขาเด็ก เพราะเข้าใจไปเองว่าเด็กขาโก่ง
ทำให้เด็กขาหักได้นะจ๊ะ หักดังเป๊าะเลยนะจ๊ะ

ดังนั้นไม่ต้องทำไร แต่ถ้าโตขึ้นเด็กมีปัญหาขาโก่ง หมอก็รักษาให้น้องเขาได้ แต่ไม่ได้รักษาด้วยการไปดัดมั่วๆซั่วๆจนหักดังเป๊าะแน่ๆ

แล้วก็ การไปดัดขาเด็ก เพราะเข้าใจไปเองว่าเด็กขาโก่ง
ทำให้เด็กขาหักได้นะจ๊ะ หักดังเป๊าะเลยนะจ๊ะ

ดังนั้นไม่ต้องทำไร แต่ถ้าโตขึ้นเด็กมีปัญหาขาโก่ง หมอก็รักษาให้น้องเขาได้ แต่ไม่ได้รักษาด้วยการไปดัดมั่วๆซั่วๆจนหักดังเป๊าะแน่ๆ”

ทั้งนี้ mgronline ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปกติแล้วนั้น ทารกแรกเกิดคลอดออกมาขาจะโก่งกันแทบทุกคน เพราะด้วยสรีระของทารกตอนอยู่ในท้องนั้น พวกเขาจะต้องนอนคุดคู้ม้วนตัวอยู่ภายในท้องของคุณแม่ จึงเป็นธรรมดาเมื่อทารกออกมาขาจะโก่ง แต่เมื่อพวกเขาโตขึ้นร่างกายก็จะพัฒนาและขาตรงเองได้ในที่สุดส่วนเด็กที่ขาโก่งนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งก็เกิดจากกรรมพันธุ์ เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปดัดขาพวกเขานะคะ แต่ทั้งนี้ขาโก่งของเด็กก็มีแบบที่ไม่ปกติด้วยเช่นกัน

ส่วนการการสังเกตว่าเด็กขาโก่งผิดปกตินั้น คือภาวะขาโก่งในเด็กนั้นเป็นไปตามธรรมชาติตั้งแต่แรกคลอด แต่หากเมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ขาไม่ตรงคือยังคงเป็นลักษณะขาโก่งอยู่ (ตามรูป1A) และสามขวบก็โก่งมากขึ้น แนะนำว่าไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะเมื่อลูกอายุโตขึ้นขาก็จะยิ่งโก่งมากขึ้น ผลทางสุขภาพที่ตามมาคือจะเจ็บปวดตรงหัวเข่า และข้อเข่าจะเสื่อม

 

 

วิธีการรักษาเด็กขาโก่งที่ผิดปกติ ในเด็กที่มีภาวะขาโก่งที่ผิดปกติคือไม่สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ การรักษาจะใช้วิธีการผ่าตัด โดยตัดแต่งกระดูกให้ตรง ใส่เฝือกขารอกระดูกติด เป็นวิธีรักษาที่ได้ผลมากที่สุด ยิ่งหากเป็นเด็กเล็กอายุน้อยๆ การผ่าตัดจะรักษาได้หายเร็วกว่าเด็กที่อายุโต เพราะเด็กเล็กๆ กระดูกจะติดเร็ว หลังผ่าตัดคุณหมอจะใส่เฝือกให้ประมาณ 1-2 เดือน จากนั้นจะฝึกกายภาพให้เด็ก ยืน เดิน ออกกำลังกายเบาๆ ให้กล้ามเนื้อฟื้นความแข็งแรง ขาก็จะตรงเดินได้ตามปกติ

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
น้ำใจงาม! หนุ่มชาวไร่หอบล็อตเตอรี่ยกแผงส่งตร.หาเจ้าของ