ส่องแนวคิดสถาบันอนาคตไทยศึกษา “อุตตม” นำทีมคนรุ่นใหม่ “ร่วมคิด-ร่วมทำ” ฝ่าวิกฤตประเทศไทย

ส่องแนวคิดสถาบันอนาคตไทยศึกษา “อุตตม” นำทีมคนรุ่นใหม่ “ร่วมคิด-ร่วมทำ” ฝ่าวิกฤตประเทศไทย


สถาบันอนาคตไทยศึกษา เปิดตัวสู่สังคมอีกครั้ง มี ดร.อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีคลัง เป็นประธานคณะที่ปรึกษา ผนึกกำลังคนรุ่นใหม่ สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ระดมความคิดผ่านแพลตฟอร์มกลาง ด้วยหลักคิดในยุคดิจิทัลเชื่อมโยงหลักฐานเชิงข้อมูล และวิชาการ เพื่อออกแบบและขับเคลื่อนนโยบายกับภาคีเครือข่าย เป้าหมายเพื่อการปรับปรุงพัฒนาประเทศสู่อนาคตที่ดีกว่า

 

อนาคตไทยศึกษาสู่ ThailandFuture

 

สถาบันอนาคตไทยศึกษา ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2555 ประสบความสำเร็จในความเป็นสถาบันคลังสมองวิเคราะห์อนาคตไทยวันนี้ปรับโฉมใหม่สู่ ‘ThailandFuture’ พร้อมระดมคนรุ่นใหม่มาเป็นคีย์แมน ผสานกับบุคคลผู้มากประสบการณ์มากมาย เพื่อร่วมกำหนดอนาคตประเทศ

 

วันนี้ หัวเรือหลักในการขับเคลื่อน ThailandFutureคือ ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ บุตรชายของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เข้ามารับหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการ โดยดร.ณภัทร คือคนรุ่นใหม่ในยุค Digital Economy รับรู้กันในแวดวง Startup ในฐานะผู้ก่อตั้ง “Siametrics Consulting” บริษัทที่ปรึกษาการสร้างคุณค่าองค์กรด้วยข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์

 

“ปัจจุบัน ไทยกำลังเผชิญกับ ‘ไฟแห่งปัญหา’ รอบทิศทางทั้งปัญหาเก่าที่รุมเร้า เสาหลักเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังผุพัง ชะลอการเติบโต ซ้ำเติมด้วยปัญหาความเหลื่อมล้ำ วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความไม่พร้อมต่อการไปสู่สังคมสูงวัยและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี”

 

ดร.ณภัทร กล่าวว่า ตนจึงขอเสนอแนวคิด“ไตรลักษณ์นโยบายอนาคต” ซึ่ง “ThailandFuture”นำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตและก้าวทันโลกเริ่มจาก 1.กระบวนการคิดนโยบายที่ต้องเปิดกว้างและเชื่อมต่อกับโลกภายนอกมากขึ้น “ปลดล็อก” แล้วเชื่อมต่อเข้ากับประชาชน ท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่นโยบาย (Policy Chain) เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมหาทางออกและนวัตกรรมนโยบายใหม่ ๆ

 

ยกตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมามีความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พัฒนานวัตกรรมนโยบายเมืองปลอดภัย (Safe City) โดยประสานความร่วมมือระหว่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งส่วนกลาง-ภูมิภาค และประชาชนพัฒนานโยบายร่วมกันใน Policy Lab เป็นระยะเวลา 6 เดือน เกิดเป็นต้นแบบนโยบายเมืองปลอดภัย เช่น ระบบแจ้งความออนไลน์ การสร้างความเชื่อใจให้กับประชาชนผ่านนโยบาย “ตำรวจบ้าน” หรือ “ตำรวจประจำชุมชน” การใช้เทคโนโลยี 4.0ในงานภาคสนาม การพัฒนาด่านตรวจให้โปร่งใสเป็นมิตรกับประชาชน เป็นต้น

 

กำหนดนโยบายต้องเลิกรวมศูนย์และคิดให้เป็นวิทยาศาสตร์

 

ดร.ณภัทร์ บอกอีกว่า ภาครัฐต้องกระจายอำนาจในการพัฒนาอนาคตประเทศไปสู่ “โหนด (Node)” ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งอำนาจการคลัง การเข้าถึงข้อมูล และการออกแบบนโยบายบางส่วนจากระดับประเทศสู่ระดับท้องถิ่น ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ได้สะท้อนให้เห็นแล้วว่าการรวมศูนย์อำนาจไม่ตอบโจทย์วิกฤตการณ์ในปัจจุบัน และอนาคต

 

นอกจากนี้ ประเทศไทยจะต้องคิด-ทำนโยบายอย่าง “เป็นวิทยาศาสตร์” มากขึ้น โดยอิงฐานข้อมูล การทดลองพฤติกรรมศาสตร์ การใช้เทคนิคห้องปฏิบัติการอนาคต เพื่อออกแบบแนวทางและนวัตกรรมนโยบายใหม่ๆ ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมทั้งลงพื้นที่ทำ Prototype ปรับปรุงและขยายผล ให้ใช้ได้จริง

ยกตัวอย่าง การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน โดยใช้ข้อมูล Big Data ตั้งแต่ต้นน้ำ แก้ไข จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก จนถึงปลายน้ำในการยกระดับบริการ การใช้สิทธิ์ การเยียวยาผู้พิการ การทดลองเชิงพื้นที่ เช่น การตั้งด่านตรวจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การทดลองเชิงพฤติกรรมศาสตร์กับป้ายจราจร

 

“ในเวลาแบบนี้ เราต้องหาวิถีใหม่ในการก้าวไปข้างหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับความท้าทายใหม่ ด้วยการเชื่อมต่อกันและใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีให้มากขึ้น กระจายอำนาจที่กระจุกและไม่โปร่งใส ออกไปสู่ทุกภาคส่วน โดยThailandFuture ขอเป็นตัวกลางสนับสนุนแนวทางใหม่นี้ เพราะเชื่อว่าด้วยวัตถุดิบที่เรามีอนาคตประเทศไทยต้องดีกว่านี้” ดร. ณภัทรกล่าว

 

ผลักดัน 5 แนวคิดพัฒนาเชิงนโยบายเพื่ออนาคต

 

ThailandFutureยังปรากฏชื่อ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร โดยณัฐพร คือหลานชายของ ดร.สมคิด และยังเป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นากกอบศักดิ์ ภูตระกูล

 

“จุดมุ่งหมายสูงสุดของ ThailandFuture คือการทำนโยบายในการพัฒนาอนาคตประเทศ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าใจ เข้าถึง และมีส่วนร่วม ตามแนวคิดประเทศไทยเป็นของเราทุกคนโดยร่วมกับภาคีเครือข่ายผลักดันแนวคิดนี้แล้วผ่านกรอบ5 ประเด็นเชิงนโยบายที่มุ่งเน้น ได้แก่

 

1.เทคโนโลยีกลุ่มแนวหน้า (Frontier Technologies) 2. เครื่องยนต์ใหม่ในการพัฒนาประเทศ (New Growth Engine) 3. การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human CapitalDevelopment) 4. การปฏิรูปภาครัฐ (Government Transformation) 5. สิทธิและโอกาส (Rights & Opportunities) ผ่านการดำเนินงาน 4 รูปแบบคือ

1.“ThailandFuture Policy Platform” แพลตฟอร์มความคิดและลงมือทำนโยบายสาธารณะ สร้างเครือข่ายเชื่อมต่อข้อมูลในพื้นที่จริง จากเสียงประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไปสู่ผู้นำการออกแบบและขับเคลื่อนนโยบาย

2. “ThailandFuture Playbook” แผนแนวทางปฏิบัติจากการศึกษา ออกแบบ ลงมือทำ และวัดผลกับปัญหาจริง ผู้ใช้จริง และพื้นที่จริง ในรูปแบบ“คู่มือการแก้ปัญหา” แบบSystem-thinking และ Solution-driven ที่เข้าใจง่ายและมีการอัพเดทข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

 

3. “ThailandFuture Talks” พูดคุยนโยบายให้เกี่ยวกับทุกคน ในเวทีเปิด เพื่อการเข้าถึงในทุกระดับ ทำให้ “นโยบาย” เป็นเรื่องของทุกคน

 

4. “ThailandFuture Upgrades” อัพเกรดการออกแบบและขับเคลื่อนนโยบาย ผ่าน Workshops

 

ThailanFutureรวมพลังคิดเพื่ออนาคตประเทศ

 

ด้าน ดร.อุตตม สาวนายน ประธานคณะที่ปรึกษาThailandFuture กล่าวว่า ประเด็นการกระจายอำนาจของภาครัฐว่า ในช่วงเวลานี้ ภาครัฐไม่ควรเป็นคอขวดของการแก้ไขปัญหาหรือนิ่งเฉยกับข้อจำกัด ซึ่งข้อจำกัดของภาครัฐมีอยู่ทุกประเทศ สิ่งที่ต้องทำคือ การกระจายอำนาจออกไปสู่บุคคลและหน่วยงานรวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานด้วยความชัดเจนและโปร่งใส เพื่อให้เกิดความคล่องตัวพอที่จะนำประเทศไทยให้รอดพ้นไปจากวิกฤตครั้งนี้ รวมถึงการพร้อมรับกับความท้าทายอื่นๆ ที่รออยู่ข้างหน้าโดยยุคสมัยของการทำนโยบายแบบบนลงล่างอย่างเดียว