ถึงยุคทุกพรรคต้องเปลี่ยนแปลง

ถึงยุคทุกพรรคต้องเปลี่ยนแปลง


การเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ของประเทศ นำมาซึ่งคำถามที่ว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่พรรคการเมืองต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทันกับพลวัตรที่เปลี่ยนแปลง

นายไพศาล มังกรไชยา ผู้สื่อข่าวอาวุโส ได้ ไลฟ์สด ผ่านเฟซบุ๊ก Thaiquote เรื่อง“ถึงยุคทุกพรรคต้องเปลี่ยนแปลง” โดยได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์เลือดไหลออกของเหล่าบรรดาสมาชิกระดับบิ๊กๆ ของพรรคประชาธิปัตย์เป็นสัญญาณบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่หลายพรรรคการเมืองต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับกระแสการเมืองของคนยุคใหม่ เชิญฟังคลิปวิเคราะห์จากคุณไพศาล

(สามารถติดตามการไลฟ์สด มุมมองประเด็นดังของ คุณไพศาล มังกรไชยา ได้เป็นประจำที่ Thaiquote)

www.facebook.com/thaiquote.org

ขณะนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ หลายพรรค เริ่มแรกมองไปที่พรรคประชาธิปัตย์ที่ได้สูญเสียแกนนำสำคัญ กรณ์ จาติกวณิช อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นเวลากว่า 15 ปี ดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคและสำคัญในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาแล้ว อีกคนหนึ่งคือคุณอรรถวิทย์ สุวรรณภักดี รวมกลุ่มของหมอวรงค์ คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

ก่อนหน้านี้ก็มีประปรายแต่ไม่ถึงขั้นบิ๊กเนม และเชื่อกันว่าอาจจะมีการลาจากพรรคประชาธิปัตย์ โดยที่ยังไม่ทิ้งงานการเมือง ต่างก็ต้องไปหาที่ทางทางการเมืองเพื่อเคลื่อนไหวต่อไป คนที่เห็นมีบทบาทชัดเจนคือคุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เข้ามาซีกรัฐบาลเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และเป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีฝ่ายค้านเข้ามาเสนอด้วย ส่วนคุณหมอวรงค์ก็เข้าร่วมกับคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ต่อต้านลัทธิชังชาติ ก็หมายถึงพรรคอนาคตใหม่นั่นเอง

ทางด้านคุณกรณ์และคุณอรรถวิทย์มีความเป็นไปได้ที่จะไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ การลาออกของระดับบิ๊กเนมในพรรคประชาธิปัตย์ ถ้ามองย้อนกลับไป 70 ปี สถานการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรก มีกันเป็นระรอก เช่นเดียวกันกับการเข้ามาก็มีกันเป็นระรอกเช่นกัน ดังนั้นการให้สัมภาษณ์ของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ที่ว่าคนออกเป็นเรื่องปกติ

ในขณะเดียวกันก็นำตัวเลขคนเข้าที่มีมากกว่าคนออกเสียด้วยซ้ำไป เพียงแต่ว่าการลาออกของใครบางคนทำให้เกิดอาการเคืองๆ เหมือนไม่ให้เกียรติให้ค่ากัน การวิเคราะห์ว่าพรรคจวนเจียนจะพังนั้นมีอยู่หลายรอบ เช่นยุคของคุณ วีระ มุสิกพงศ์ เฉลิมพันธุ์ ศรีวิกรณ์ กลุ่ม 14 มกรา แตกกันเป็นเสี่ยงๆ สมัยยุคที่คุณสุเทพจะแตกมาเป็น กปปส.ก็จวนเจียน แต่เป็นความขัดแย้งภายในกับสายคุณอภิสิทธิ์ คุณชวนก็ซ่อนๆ ไว้

แต่ทุกคนวงในรู้ว่าการที่คนสุเทพออกมาตั้ง กปปส.นั้นที่จริงมีความขัดแย้งภายในกับคุณอภิสิทธิ์และผู้ใหญ่ในพรรค พอผ่านยุคคสช.ก็ทำให้คุณสุเทพต้องหาพื้นที่ใหม่ทางการเมืองเล่น และมีคนของพรรคประชาธิปัตย์ตามเข้าไป

แต่ถ้าหากมองจากพรรคประชาธิปัตย์แล้ว มองได้ว่าเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงของบรรดาพรรคการเมือง เกือบจะเรียกทุกพรรคทั้งในซีกฝั่งรัฐบาลและฝ่ายค้าน เพื่อไทยอย่าคิดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ในที่สุดต้องก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด เพราะว่าในเชิงยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยถึงจุดที่ต้องหักเลี้ยว บทบาทาการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งของคุณทักษิณ ชินวัตร จะเปลี่ยนแปลง แต่จะส่งผลอย่างไรอันนี้น่าสนใจ ฟันธงได้เลยพรรคเพื่อไทยเป็นอีกพรรคหนึ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง

ส่วนอนาคตใหม่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงภายใน แต่จะถูกเข้าบีบให้เปลี่ยนแปลงด้วยแนวทางการเมืองของอนาคตใหม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะต่อสู้ในรูปของพรรคการเมืองมาเป็นขบวนการทางการเมือง คือจะประสานกันระหว่างพรรคการเมืองและการเคลื่อนไหวมวลชน ปัจจัยสำคัญมาจากคนที่ปิดให้พรรคอนาคตใหม่ไม่มีพื้นที่ในระบบรัฐสภา

แต่การออกมามีบทบาทข้างนอกสภา ก็มีบทเรียนในอดีต ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบพอสมควร ทำให้การทำงานของพรรคอนาคตใหม่จะไม่ใช่เพียงบทบาทของพรรคการเมือง แต่เป็นการทำงานการประสานระหว่างพรรคการเมืองและขบวนการทางการเมือง เป็นการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบทั้งในสภาและนอกสภา โดยมีอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นหนึ่งเดียวกัน

ดำเนินการต่อสู้ด้านเปิดในสภา ด้านเปิดในมวลชน และทางโซเชียล ซึ่งเป็นพัฒนาการรูปแบบใหม่ทางการเมือง เป็นตัวทรงอิทธิพลไปยังพรรคการเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ ทำให้หลายพรรคการเมืองเริ่มเห็นความสำคัญกับคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมพรรค หล่อหลอมอุดมการณ์ทางการเมือง ทำแนวทางทางการเมืองที่ร่วมอุดมการณ์กัน ส่งผลให้พรรคการเมืองที่เป็นขวาสุดโต่ง หรือขวาแบบกึ่งกลางๆ ต้องหาคนรุ่นใหม่ที่จะสืบอุดมการณ์สายอนุรักษ์นิยมของตนเองต่อไป และถ้าพรรคการเมืองเหล่านั้นไม่สามารถทำได้ก็จะมีการแตกตัวไปตั้งพรรคอื่นต่อไป

ด้านพรรคพลังประชารัฐและภูมิใจไทยก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่มากเหมือนประชาธิปัตย์ เพราะประชาธิปัตย์ได้รับผลรุนแรงจากการแพ้การเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นแรงบีบให้เกิดความขัดแย้งภายในพรรคอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการแตกตัว เกิดการกระชับอำนาจของบางกลุ่มที่ได้รับแรงสนับสนุน ทำให้เกิดการกันบางกลุ่มที่มีแนวทางทางการเมืองที่ต่างกันแต่อุดมการณ์ทางการเมืองไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะความเห็นในการเข้าร่วมรัฐบาลที่ผ่านมา

ฉะนั้นจากนี้ไปทุกพรรคการเมืองคงเห็นได้แล้วว่า บทบาทจะเป็นคนของยุคต่อๆ ไปแล้ว คนยุคเดือนตุลา ตอนนี้ถือว่าเป็นยุคสุดท้ายของเขาแล้ว เพียงแต่ว่าจะส่งต่อไปยังคนเจนใหม่ไปได้อย่างราบรื่นได้อย่างไร พรรคการเมืองไหนไม่ทัน

เชื่อว่าอนาคตจะไปได้ไม่กี่รอบ และเข้าสู่ภาวะถดถอย ที่น่าจับตามากที่สุดคือพรรคเพื่อไทย โอกาสที่จะใหญ่โตได้ต้องมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งการปรับเปลี่ยนจะต้องมีเรื่องที่ใหญ่โตมโหฬาร เปลี่ยนศูนย์การนำต่างๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งจะทำได้หรือไม่ก็ต้องจับตาดู

https://web.facebook.com/plugins/video.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fthaiquote.org%2Fvideos%2F105771167544084%2F&show_text=0&width=560&_rdc=1&_rdr

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ
ปารีณา ท้า เสรีพิศุทธ์ -วัฒนา ลาออก กรรมาธิการปราบโกง