ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าว ไม่ใช่งานการเมือง แต่เป็นการทำงานลักษณะประชารัฐ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีรายได้น้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 76 อาทิ เรื่องน้ำกินน้ำใช้ ความต้องการประปาหมู่บ้าน แก้ไขซ่อมแซม ที่สะอาด ถูกหลักอนามัย ให้ทุกคนมีสุขภาพดี จะได้มีแรงทำงานเพื่อครอบครัว ไม่ป่วยไข้ ไม่ต้องเสียเงินรักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็น การขุดลอกคูคลอง ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรนอกฤดูกาล กลุ่มทอผ้าได้ขอให้จัดหาสถานที่แสดงสินค้า ซึ่งก็คงต้องนำรูปแบบ “ตลาดประชารัฐ” เข้ามาบริหารจัดการช่วยด้วย
ประเด็นปัญหาและข้อเสนอเหล่านั้น ก็จะถูกบรรจุไว้ในโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งมีกลไกระดับล่างดูแล และติดตามการทำงาน อย่างใกล้ชิดต่อไป โดยมีหลักการบริหารโครงการไทยนิยมยั่งยืนที่สำคัญ คือ “การบริหาร 2 ทาง” ทั้งจากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบน ปรับให้ตรงกัน ด้วยการรับฟังปัญหาจากพื้นที่ เหมือนในวันนี้
นอกจากนี้ การพัฒนาไทยนิยมยั่งยืนจะเป็น “กลจักรขับเคลื่อนประเทศ” โดยมีประชาชนเป็นแกนกลาง และการ “ระเบิดจากข้างใน” เข้มแข็งด้วยตัวเอง แทนการขับเคลื่อนประเทศด้วยนโยบายทางการเมือง แล้วก็มีตัวแทนในพื้นที่ก็ไม่เท่าเทียม ก็มีความเหลื่อมล้ำ ในเรื่องของการกระจายรายได้ การสร้างนวัตกรรม อะไรก็แล้วแต่อย่างเช่นที่ผ่านมา ดังนั้น คนไทยทุกคนต้องช่วยกัน ตนอยากให้เข้าใจว่า รัฐบาลกำลังสร้างสถาปัตยกรรมในการแก้ปัญหาความยากจนของไทยเองที่เรียกว่า “ไทยนิยม ยั่งยืน”
ดังนั้นเราจะต้องเริ่มจากการสร้างหลักคิดที่ถูกต้อง อาทิ เห็นประโยชน์จากการปลูกพืชที่หลากหลายแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การปลูกพืชอินทรีย์ซึ่งมีราคาสูงเป็นที่ต้องการของตลาด เรามีเกษตรปลอดภัย มี GAP เหล่านี้ ท้ายสุดก็ไปสู่เกษตรอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบ คือการไม่ใช้สารเคมีเลย ซึ่งขอให้ติดตามในเรื่องเหล่านี้ด้วย การทำเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อจะลดต้นทุนการผลิต เพิ่มอำนาจในการต่อรอง ส่งเสริมการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเป็นที่มาของความสามัคคีปรองดองในหมู่คณะ
ขณะที่การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน สร้างอัตลักษณ์ประจำถิ่น “หาจุดขาย ขยายจุดเด่น” สร้างเรื่องราว ที่ไม่เหมือนใคร ให้คนสนใจ เพื่อให้อยากมาท่องเที่ยว ไม่ใช่ผ่านเลยไปเหมือนเดิม กลายเป็นเมืองผ่านทั้งหมด สิ่งสำคัญๆ ในพื้นที่ก็ไม่ได้ปรากฏออกมา เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ในท้องที่ต้องเริ่มด้วยตนเองก่อน สร้างการท่องเที่ยวภายในชุมชนของเราเองโดยคนในประเทศของเราเอง โดยคนในพื้นที่ของเราก่อน แล้วก็จะสร้างแพร่กระจายออกไปในการประชาสัมพันธ์ไปภายนอก รัฐบาลก็จะไปเติมเต็มเหล่านั้น เพราะฉะนั้นทุกคน ทุกพื้นที่ก็มีโอกาสจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเหล่านั้น ทุกคนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคมของตน
ขณะเดียวกันต้องใส่ใจสิทธิของตัวเอง ต้องรู้ว่าเราได้สิทธิอะไรบ้าง จะได้ไม่มีใครมาหาประโยชน์จากสิทธิของเราเช่นที่กำลังสอบสวนกันอยู่วันนี้ หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองจะได้สิทธิเท่าไรอย่างไร ขอให้เพียงรับเงินอย่างเดียว ไม่ถูกต้อง ต้องช่วยกัน 2 ทางจะได้ไม่ทุจริตกันอีกต่อไป รัฐบาลมีหน้าที่ทำงานเพื่อประชาชน โดยการดูแลผู้มีรายได้น้อย สร้างความเข้มแข็งแก่ เพิ่มขีดความสามารถของประชาชน ประเทศก็จะได้ตามไปด้วย ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ความปลอดภัยบนท้องถนน น้ำอุปโภค บริโภค น้ำประปา น้ำบาดาล ที่ขอมาเราก็จะรีบจัดการโดยเร็ว อาจจะต้องใช้งบประมาณอื่นเข้าไปเสริมด้วย
สำหรับโครงการไทยนิยมยั่งยืนนั้น ก็ขอให้นักศึกษา – อสม. – กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน และ อปท. ช่วยกัน ให้ความร่วมมือเข้าไปร่วมด้วย กับคณะทำงานในแต่ละพื้นที่ของตน เพราะหลายอย่างนั้นใช้งบของไทยนิยม หลายอย่างใช้รายจ่ายประจำ หลายอย่างไปใช้งบของงบสะสมของท้องถิ่น เพราะฉะนั้นทุกคนต้องมีส่วนร่วม ไม่อย่างนั้นไม่ทราบว่าจะทำอะไรยังไง ก็ไม่เกิดการสอดประสานบูรณาการกัน ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นมา ใช้เงินไปแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกท้องถิ่น แต่ละระดับก็ขอให้ร่วมมือกันให้มีการบริหารจัดการให้ได้ในการจัดทำโครงการ แล้วก็ใช้จ่ายงบประมาณตามวัตถุประสงค์ทุกประการ เพื่อให้เกิดหลักคิดและสร้างกลไก “ประชารัฐ” ในการช่วยกันทำงานพัฒนาบ้านเมือง ประเทศชาติ ให้ตอบสนอง ตรงความต้องการของประชาชน ในแต่ละพื้นที่ให้ได้โดยเร็ว
อย่างไรก็ตามเราจะมานั่งแก้ปัญหาเดิมๆ กันตลอดไป 10-20 ปี ไม่ไหวแล้ว เราต้องไปทำกิจการใหม่ๆ แก้ปัญหาเรื่องใหม่ๆ อันนี้เราแก้มาไม่รู้กี่สิบปีแล้ว เป็นประชาธิปไตยมา 80 กว่าปี แล้ว บางอย่างยังแก้ไม่ได้ ต้องช่วยแก้วันนี้แล้ว วันหน้าเราจะได้ทันคนอื่นเขาหรือนำเขาบ้าง