ไทยเริ่มมุ่งพลังงานโซลาร์และความยั่งยืน ภาคธุรกิจหันมาลงทุนในพลังงานสะอาดคืนทุนเร็วขึ้น ไม่ตกเทรนด์ และการใช้พลังงานสะอาดตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภค ตามตัวอย่างโมเดลต้นแบบที่เคยทำในไทย ทั้งโซลาร์บนดิน ลอยน้ำ จรดหลังคา
โลกเปลี่ยนเทรนด์เปลี่ยน จากนโยบายที่รัฐบาลและองค์กรทั่วโลกนำมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) นำไปสู่กระบวนการการผลิตที่ต้องเป็นมิตรกับธรรมชาติ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่มีค่าไฟสูง โดยการผลิตไฟฟ้าใช้เองสามารถลดค่าไฟได้มากถึง 30-40%
การใช้โซลาร์เซลล์ในประเทศไทยไม่เพียงแต่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการบรรลุเป้าหมายด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างความมั่นคงทางพลังงานในอนาคต อีกทั้งในปี 2023 ตลาดโซลาร์ของไทยเติบโต 25.9% เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดี และคืนทุนเร็วขึ้น
ไอร้อนบนแผงโซลาร์ ติดก่อนประหยัดก่อน
โดยโซลาร์มีหลากหลายรูปแบบ แตกต่างในเรื่องของประสิทธิภาพและการลงทุน ขึ้นอยู่กับการใช้งานเฉพาะทาง อาทิ
- Solar Roof ติดตั้งบนหลังคาอาคาร และเหมาะสมสำหรับบ้านพักที่สุด ช่วยในเรื่องประหยัดพื้นที่ ต้นทุนโครงสร้างต่ำและติดตั้งง่าย แต่ขึ้นอยู่กับสภาพและทิศทางหลังคา โดยค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านเรือนอยู่ที่ประมาณ 150,000 – 300,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดระบบและจำนวนแผงโซลาร์ที่ติดตั้ง (ประมาณ 3-5 เมกะวัตต์ สำหรับบ้านทั่วไป) รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น อินเวอร์เตอร์ สามารถประหยัดได้จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์อยู่ที่ประมาณ 30-40% ของค่าไฟเดิมต่อเดือน ระยะเวลาคืนทุนจะอยู่ที่ประมาณ 5-8 ปี
- Solar Roof ติดตั้งบนหลังคาอาคาร และเหมาะสมสำหรับบ้านพักที่สุด ช่วยในเรื่องประหยัดพื้นที่ ต้นทุนโครงสร้างต่ำและติดตั้งง่าย แต่ขึ้นอยู่กับสภาพและทิศทางหลังคา โดยค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านเรือนอยู่ที่ประมาณ 150,000 – 300,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดระบบและจำนวนแผงโซลาร์ที่ติดตั้ง (ประมาณ 3-5 เมกะวัตต์ สำหรับบ้านทั่วไป) รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น อินเวอร์เตอร์ สามารถประหยัดได้จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์อยู่ที่ประมาณ 30-40% ของค่าไฟเดิมต่อเดือน ระยะเวลาคืนทุนจะอยู่ที่ประมาณ 5-8 ปี
- Solar Floating เหมาะสำหรับติดตั้งบนผืนน้ำ เช่น บ่อ เขื่อน และโรงงาน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงกว่าโซลาร์อื่น ๆ ประมาณ 5-20% จากการระบายความร้อนที่ดี แต่อาจมีต้นทุนสูงกว่าและต้องดูแลเรื่องระดับน้ำและการกัดกร่อนเป็นพิเศษ การติดตั้งระบบโซลาร์ลอยน้ำมักใช้ในโครงการขนาดใหญ่ โดยต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 40-50 ล้านบาท/เมกะวัตต์ ระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ประมาณ 8-12 ปี ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบและราคาพลังงานในตลาด
3.Solar Farm เหมาะสำหรับการติดตั้งบนที่ดินว่างเปล่า เกษตรกรรม หรือโรงงานขนาดใหญ่ สามารถผลิตไฟฟ้าจำนวนมากเหมาะกับโครงการใหญ่ สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านภาษีที่ดิน เนื่องจากเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้เป็นประโยชน์ ข้อเสียคือการต้นทุนในการเตรียมพื้นที่ ต้นทุนอยู่ที่ ประมาณ 30-40 ล้านบาท/เมกะวัตต์ ระยะเวลาคืนทุน ประมาณ 7-10 ปี
- Solar Carport ใช้พื้นที่จอดรถขนาดใหญ่ในการสร้างพลังงาน ช่วยให้รถยนต์ที่จอดอยู่เย็นขึ้นและสามารถใช้เป็นสถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) ได้ แต่ไม่เหมาะกับบ้านเนื่องจากมีต้นทุนที่สูงเนื่องจากต้องสร้างโครงสร้างรองรับแผง ให้แข็งแรงและทนต่อสภาพอากาศ ต้นทุนอยู่ที่ ประมาณ 25-35 ล้านบาท/เมกะวัตต์ ใช้เวลาคืนทุน ประมาณ 8-12 ปี
โมเดลโซลาร์เซลล์ต้นแบบ
โซลาร์ฟาร์มมีความสำคัญอย่างมากในการผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงงานต่างๆ ในประเทศไทยมีโครงการโซลาร์ต้นแบบหลายแห่งที่โดดเด่น เช่น
- โครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำเขื่อนสิรินธร เป็นหนึ่งในโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ตั้งอยู่ที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 45 เมกะวัตต์ (MW) ใช้พื้นที่บ่อน้ำของเขื่อนเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- โครงการ Solar Carport ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการติดตั้งโซลาร์คาร์พอร์ตที่ให้พลังงานไฟฟ้าและรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่จุดจอดรถของมหาวิทยาลัย เป็นการใช้พื้นที่ลานจอดรถให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- โครงการ Solar Farm บ้านค่าย จ.ระยอง โครงการนี้มีขนาดกำลังผลิต 7.2 MWp บนพื้นที่ 47.5 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ทดสอบระบบโซลาร์แบบครบวงจร ทั้งการใช้แผงโซลาร์ชนิดต่าง ๆ, Inverter, Energy Storage และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
- โครงการ Solar Rooftop ของเอสซีจี ได้ติดตั้งระบบโซลาร์บนหลังคาในโรงงานและอาคารต่าง ๆ ของบริษัท รวมถึงโครงการในพื้นที่ 13 ไร่ ที่ผลิตพลังงานสะอาดใช้ในองค์กร และยังมีโซลาร์ในรูปแบบต่าง ๆ
-แผงโซลาร์บนหลังคา (Solar Roof) ของเอสซีจี
การติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา (Solar Roof Top) เป็นวิธีการลงทุนที่คุ้มค่าและประหยัด เนื่องจากช่วยลดต้นทุนด้านโครงสร้างและอุปกรณ์ เพราะใช้ประโยชน์จากโครงสร้างหลังคาที่มีอยู่แล้ว การติดตั้งยังทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าระบบอื่น ๆ ในกรณีของเอสซีจี การใช้พื้นที่หลังคาโรงงานขนาด 13 ไร่เพื่อผลิตพลังงานสะอาด ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานซึ่งเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของต้นทุนทั้งหมดของธุรกิจ สามารถผลิตไฟฟ้าต่อปี 2,700,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ช่วยประหยัดค่าไฟได้สูงถึง 9,585,000 บาทต่อปี
-โซลาร์คาร์พอร์ต(Solar Carport) ของเอสซีจี
โครงการโซลาร์คาร์พอร์ต (Solar Carport) บนพื้นที่ลานจอดรถ 3 ไร่ของสำนักงานใหญ่ เน้นประสิทธิภาพพื้นที่ด้วยการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ โดยแก้ไขความท้าทายเรื่องการคืนพื้นที่หน้างานอย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้โครงสร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน เพื่อลดเวลาติดตั้งเหลือเพียง 2 เดือน นอกจากนี้ โครงการยังติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger) และป้องกันปัญหาน้ำรั่วจากแผงโซลาร์ สามารถผลิตไฟฟ้าต่อปี 993,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ช่วยประหยัดค่าไฟได้สูงถึง 3,525,150 บาทต่อปี
-โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ (Solar Floating) ของเอสซีจี
ระบบโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ (Solar Floating) สามารถผลิตพลังงานได้มากกว่าระบบโซลาร์บนบกถึง 5-20% เพราะแผงโซลาร์บนทุ่นลอยน้ำได้รับการระบายอากาศที่ดีและมีอุณหภูมิที่เย็นกว่า ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงาน แม้ต้นทุนจะสูงกว่าเนื่องจากการติดตั้งบนทุ่นและการออกแบบระบบยึดโยงที่รองรับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ แต่การใช้แหล่งน้ำว่างเปล่าช่วยเพิ่มมูลค่าพื้นที่สามารถผลิตไฟฟ้าต่อปี 1,350,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ช่วยประหยัดค่าไฟได้สูงถึง 4,792,500 บาทต่อปี
-โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) ของเอสซีจี
โครงการโซลาร์ฟาร์ม ขนาด 7.2 MWp บนพื้นที่ 47.5 ไร่ ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า แต่ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ทดสอบประสิทธิภาพระบบโซลาร์อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบคุณภาพของแผงโซลาร์ การติดตั้งแผงในตำแหน่งที่เหมาะสม การใช้อินเวอร์เตอร์ (inverter) และ ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โครงการนี้ยังได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีที่ดินจากการใช้พื้นที่ว่างเปล่า และสิทธิประโยชน์จาก BOI (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ในการลดหย่อนภาษีการลงทุนเป็นเวลา 8 ปี สามารถผลิตไฟฟ้าต่อปี 9,723,600 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ช่วยประหยัดค่าไฟได้สูงถึง 34,518,780 บาทต่อปี
ตอบโจทย์ความต้องการโซลาร์ที่แตกต่าง
วชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Living Solution Business ธุรกิจเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิ่ง เปิดเผย เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเอสซีจีได้เปิดตัว ออนเน็ก (ONNEX) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายตลาดด้านพลังงานโซลาร์และโซลูชันสำหรับการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เองภายในโรงงานต่างๆ ทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้มากสุดถึง 40% ในวันนี้จึงพร้อมที่จะตอบรับความต้องการของตลาดโซลาร์ที่มีอัตราโตสูงในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยมีคียเวิรด์สำคัญ คือ นวัตกรรม ตอบโจทย์ความยั่งยืน เพื่อชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดี
ดุสิต ชัยรัตน์ Smart Home Living Solution Director ธุรกิจเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิ่ง ให้ข้อมูลว่า จากนโยบายของภาครัฐและความต้องการที่เพิ่มขึ้นในพลังงานสะอาด นักลงทุนมองหาธุรกิจพลังงานที่ให้ผลตอบแทนดีและความผันผวนต่ำ เอสซีจีจึงเปิดตัว ONNEX by SCG Smart Living เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งภาคธุรกิจและที่อยู่อาศัย บริการครอบคลุมหลายรูปแบบ เช่น Solar Roof, Solar Floating, Solar Farm, และ Solar Carport เพื่อลดภาวะโลกร้อนและสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดยคาดว่าโมเดล EPC+ จะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานโซลาร์ไม่น้อยกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ภายใน 5 ปี
โมเดลที่ออกแบบตามความต้องการของลูกค้า
โมเดล EPC+ ย่อมาจาก Engineering, Procurement, and Construction ซึ่งหมายถึงการออกแบบ จัดหาอุปกรณ์ และก่อสร้าง แต่ในกรณีของ ONNEX มีการเพิ่มมูลค่าให้บริการด้วยการรวมเข้ากับแนวทางการเงิน การจัดการพลังงาน และการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร ตามความต้องการของลูกค้า โดยแบ่งการบริการเป็น 5 ประเภท
1.EPC+F (Finance): ผู้ประกอบการ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการติดตั้งระบบโซลาร์โดยไม่ต้องลงทุนเอง ONNEX จะช่วยจัดหาผู้ลงทุนและให้ประโยชน์จากการลดค่าไฟฟ้าสูงสุดถึง 40%
2.EPC+D (Project Development) นักลงทุน สำหรับนักลงทุนรายใหญ่หรือสถาบันที่สนใจโครงการโซลาร์ ONNEX จะช่วยพัฒนาโครงการให้ตรงกับนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้
3.EPC+O&M (Operations & Maintenance) เจ้าของโครงการ มุ่งเน้นการบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบโซลาร์ในหลายโครงการเจ้าของ มีการติดตามและดูแลผ่านระบบ Centralized Dashboard, Efficiency Audit และะประกันประสิทธิภาพของการผลิตพลังงาน ให้สามารถผลิตไฟได้ตามเป้าหมาย
4.EPC+Alliance พันธมิตร EPC เป็นความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในด้าน EPC เพื่อบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงจากราคาสินค้าและอุปกรณ์ที่ผันผวนที่จะช่วยให้ในกลุ่มพันธมิตรสามารถมีศักยภาพในการบริหารต้นทุนที่ดีที่สุดในระบบการจัดซื้อ (Cost effectiveness)
5.EPC+Authorized Referral ตัวแทนอิสระ เปิดโอกาสให้ตัวแทนอิสระหรือบุคคลทั่วไปที่มีเครือข่ายในธุรกิจโซลาร์สามารถร่วมเป็นผู้แนะนำลูกค้าและรับผลตอบแทนจากโครงการ
สุชาติ นอกพุดซา Associate Director Solar Roof ธุรกิจเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง กล่าวว่า ที่ผ่านมาสามารถผลิตพลังงานสะอาดได้มากกว่า 200 เมกะวัตต์ (MWp) และยังได้สามารถผลิตเพิ่ม 400-600 เมกะวัตต์ (MWp) ในพื้นที่โซลาร์ฟาร์มขนาด 47.5 ไร่ ในจังหวัดสระบุรี ที่ช่วยให้ธุรกิจทราบปริมาณการผลิตโซลาร์เซลล์และการใช้พลังงานสะอาดที่เหมาะสม ในด้านอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) ONNEX by SCG Smart Living มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนสูงที่สุดที่ 34% และมีระยะเวลาคืนทุนภายใน 3 ปี เท่านั้น
“ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในตัวโซลาร์ว่าการลงทุนไป 4-5 ปี จะคุ้มหรือไม่ เราจึงการันตีว่าตัวเลขจะได้ตามเป้าหมายในการลงทุน กลยุทธ์ที่จะให้กับลูกค้า คือเราออกแบบ ดีไซน์ ดูแล หากไม่คืนทุนภายในระยะเวลา 4-5 ปี เราก็ยินดีที่จะจ่ายในส่วนที่ยังไม่คืนทุนให้ เพื่อให้ลูกค้าได้ทุนคืนตามที่เราการันตีเอาไว้”