รีแบรนด์ ‘ปลาร้า หมอลำ’ วัฒนธรรมที่หลับใหล จัดพาเหรดอาหารดนตรี ซอฟต์พาวเวอร์อีสานไทยทูเดอะเวิลด์

รีแบรนด์ ‘ปลาร้า หมอลำ’ วัฒนธรรมที่หลับใหล จัดพาเหรดอาหารดนตรี ซอฟต์พาวเวอร์อีสานไทยทูเดอะเวิลด์

‘ภาคอีสาน’ ถือเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย โดยเกิดจากหลากหลายปัจจัย จุดเริ่มต้นนั้นจากสภาพภูมิศาสตร์ที่แห้งแล้ง ดินด้อยคุณภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐาน ขาดการกระจายรายได้สู่ประชาชนได้อย่างเท่าเทียมรวมถึงขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ คนอีสานส่วนใหญ่จึงอพยพย้ายถิ่นฐานไปประกอบอาชีพ รับจ้างในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะ กทม.

 

 

แต่ความกันดาร ความขาดแคลน นี่เอง เป็นจุดเริ่มต้นของชาวอีสานที่ยังอยู่ในท้องถิ่น หาวิธีเอาตัวรอด มีความคิดสร้างสรรค์ ปรับตัวอยู่คู่กับสภาพอากาศแล้ง จนสั่งสมวัฒนธรรมวิถีชีวิตความรื่นเริง สนุกสนาน ในทุกเทศกาล ทำให้คนไทยและคนทั่วโลกตกหลุมรัก ความเป็น “คนอีสาน”  

จึงเป็นที่มาของการจัดงาน “ปลาร้า หมอลำ อีสาน ทู เดอะ เวิลด์ 24” (Plara Morlam Isan to the World)  ที่จ.ขอนแก่น ระว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2567 ณ อาคารขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จ.ขอนแก่น ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีวัฒนธรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์มากมาย ที่สร้างมูลค่าให้กับท้องถิ่นได้ โดยวัฒนธรรมอีสานมีหลากหลายเกิดขึ้นจากความกันดารในพื้น เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ 

 

 

 

 

ปลุกฝัน พลังซอฟต์พาวเวอร์  อีสาน ทู เดอะ เวิลด์ 

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวออร์แห่งชาติ กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ไทย หรือ พลังอ่อนนุ่ม (Soft Power)ที่มาจากวัฒนธรมบองไทย หากมีการนำมาพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ต่อยอด สอดแทรกในทุกอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างโอกาสสร้างงานสร้างรายได้จากพลังที่มีในคน กุญแจกสำคัญทำคนไทยหลุดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางมากว่า 3 ทศวรรษ  ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง  

ทั้งนี้จะต้องอาศัยแนวคิดสร้างสรรค์ เข้าไปผสมผสานกระตุ้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทำให้คนไทยเห็นคุณค่าในสิ่งที่มี มีการปรับตัวพัฒนาทักษะ ยกระดับให้เป็นต้นแบบ เป็นผู้นำกระตุ้นให้ทำให้คนรู้สึกรักและหลงใหลในวัฒนธรรมไทย เป็นแรงบันดาลใจ พัฒนาระบนิเวศเชื่อมโยงทุกภาคส่วนให้แข็งแกร่ง โดยการร่วมมือกันกับภาครัฐ ที่มีจุดแข็งมีงบประมาณในการสนับสนุน แต่ยังมีข้อจำกัดระบบราชการมีขั้นตอน จึงต้องผสานกับวิธีการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญ ภาคเอกชนที่มีความเข้าใจ และลงมือทำจริงให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

 “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในไทยมีหลากหลายที่สร้างมูลค่าเพิ่มไปในระดับโลกได้ ไม่ว่าจะเป็น มวยไทย ดนตรี ภาพยนตร์ แฟชั่น  ทำให้คนที่เกี่ยวข้องเกิดความฝัน ได้รับโอกาส แต่การทำเรื่องนี้เป็นจริงได้ ภาคราชการขับเคลื่อนคนเดียวไม่เสร็จสิ้น ต้องระดมทุนและองค์ความรู้ความสามารถจากทุกภาคส่วน เพราะแม้ราชการจะแข็งแรง แต่ยังติดข้อจำกัดบางประการ จึงต้องอาศัยภาคเอกชนที่มีความเข้าใจ ลงมือทำ เล่นจริง เจ็บจริง พัฒนาภูมิปัญญหาท้องถิ่น”

 

 

 

 

วัฒนธรรมอีสาน หนึ่งใน Happy Module วิถีชีวิตสุขอย่างไทยเท่

กลินท์ สารสิน ประธานกิตติมศักดิ์ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงาน ปลาร้า หมอลำ อีสาน ทู เดอะเวิลด์ 24 (Plara Morlam Isan to the Wold) ถือเป็นหนึ่งการส่งออกทางวัฒนธรรมไทยไปสู่ต่างประเทศ ที่ถือเป็นพลังอ่อนนุ่ม (Soft Power) ที่จะต่อยอดไปสู่สินค้าและบริการจากความเป็นไทย โดยเฉพาะความเป็นอีสานที่มีอัตลักษณ์ จากรากฐานสะท้อนความเป็นไทย นำมาบวกกับความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกันกับโครงการไทยเท่ ที่หอการค้าไทยได้พัฒนาโมเดล Happy Module เพื่อนำเสนอวิถีชีวิต ความสุข อารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์การกินดีอยู่ดี ของดีในจังหวัดมาเผยแพร่ 

เช่นเดียวกันกับ ปลาร้าหมอลำ สามารถนำมาขับเคลื่อนทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผ่านการเล่าเรื่อง ที่จะดึงดูดความสนใจ กระจายรายได้ให้กับคนท้องถิ่น จากการมาเยือนของนักท่องเที่ยว และสร้างโอกาสไปสู่ธุรกิจซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น 

 

 

 

 

พลิกเมืองขอนแก่น ปลุกฐานรากยากจน 

สู่นักสู้เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์

 ด้าน ไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่น ถือเป็นพื้นที่ใจกลางภาคอีสานที่มีศักยภาพภาพ คนส่วนใหญ่มาจากเกษตรกรรม 60% แต่มีสัดส่วนในการสร้างรายได้ที่ส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในจังหวัดเพียง 10% ส่วนที่เหลือมูลค่ามาจากการขับเคลื่อนด้านอุตสาหกรรมและการบริการ โดยในความเป็นจริงภายในจังหวัดขอนแก่น มีครบเครื่องทั้งอาหาร และศิลปวัฒนธรม ตั้งแต่ส้มตำ ไก่ย่าง ปลาร้า มีบุคคลที่มีชื่อเสียงจากหลากหลายสาขาอาชีพ ประกอบด้วยผู้กำกับภาพยนตร์ ดารา อาทิ พันนา ฤทธิไกร  นักมวย เงินล้าน ทั้งมวยไทยและมวยสากล เช่น สมรักษ์ คำสิงห์ และยังเป็นเมืองหัตถกรรม เช่น ผ้าไหมมัดหมี่  รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวในเทศกาล เช่น ลอยกระทง สงกรานต์ถนนข้าวเหนียว 

มอลำมีสิ่งที่น่าสนใจ เป็นต้นทางของ โคลง กาพย์ ฉันท์ บทกลอนไทย ที่สร้างสัมผัสทางภาษาที่ไพเราะ เช่น ลิลิตพระลอ จังหวัดขอนแก่น และกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างงานสร้างอาชีพในจังหวัด และทำรายได้มูลค่ากว่า 5,000 -6,000 ล้านบาท  จากที่มีหมอลำทั้งสิ้นกว่า 170 คณะ มีสมาชิกในวงกว่า 6,500 คน แต่ละวงทำเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อคืน

 

 

 

 

พาเหรดสินทรัพย์ ของดีถิ่นอีสาน 

ทั้งนี้แนวทางการขับเคลื่อนจึงควรมีการนำเสนอเป็นเทศกาลตั้งแต่การพัฒนานโยบาย ให้ต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมบันเทิง เชิงวัฒนธรรมยกระดับ วิถีชีวิตของคน ผ่านศิลปะ เช่นเดียวกันกับเทศกาลคาร์นิวัล ในบราซิล มีการเดินพาเหรด ดนตรี มีชื่อเสียงดึงดูดคนทั่วโลกทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท 

“อัตลักษณ์ของความเป็นอีสานคือความสนุก คนอีสาน คิดถึงความสนุก เมื่องมารวมกันเกิดประโยชน์เริ่มกับท่องเที่ยว ฝันว่าส่งออกวัฒนธรรมไทยไปต่างประเทศ ซอฟต์พาวเวอร์คือการนำศิลปะมานำเสนอผ่านเทศกาลรื่นเริง เช่น การเต้นแซมบ้า จาก บราซิล จัดงาน คาร์นิวัล ไปต่อยอดในเมือง ริโอเดอจาเนโร มีชื่อเสียงระดับโลก ที่ขอนแก่นมีศักยภาพจะยกระดับเทศกาลได้ เป็นทางเลือกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้ฟื้นตัวหลังจากเผชิญกับภัยธรรมชาติ โดยการกระตุ้นจากจัดเทศกาลในวันหยุดยาว ที่ทำให้โรงแรมเต็มได้ และยังขยายไปสู่ธุรกิจท้องถิ่น” 

 

 

 

 

ยกระดับชีวิตลูกหลานอีสาน ความภาคภูมิใจในบ้านเกิด

ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ Sustainable Brands (SB) Thailand กล่าวว่า การจัดงานปลาร้า หมอลำฯ เป็นโอกาสทำให้ทุกคนลุกขึ้นมาร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน  จึงรีคอนเทนท์ไทยเท่ เพื่อตอบโจทย์ที่ทำให้ทุกชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ ดังนั้น ปลาร้า หมอลำ ถือเป็นงานรื่นเริง เทศกาลจัดงานที่จะยกระดับชีวิตของคนอีสาน โดยนำวิถีชีวิตความรื่นเริง บันเทิง ของคนอีสาน มาขยายสู่คนท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และคนต่างชาติ ที่มาร่วมชมงานหลักแสนคน ที่จะส่งผลกระทบต่อเเศรษฐกิจ ตั้งแต่นำการท่องเที่ยว พัฒนาตลาดปลาร้า พัฒนาคอนเทนท์ด้านเศรษฐกิจ โดยใช้วัฒนธรรม ความเป็นอีสาน ที่คนเคยรู้สึกด้อยกว่าเราให้กลายเป็นคุณค่าที่ต้องภาคภูมิใจทั้งคนอีสาน และคนไทย  

“วัฒนธรรมอีสาน ความเป็นพื้นบ้าน ที่ผ่านมาความเป็นอีสาน เป็นความรู้สึกด้อยกว่าเรา แต่คำว่าอีสาน แท้จริงเป็นชื่อของกษัตริย์ ในยุคพระเจ้าชัยวรมันจึงถือว่าชื่อนี้ในความจริงชื่อนี้สูงศักดิ์ ดังนั้นสิ่งที่คนอีสานมี ไม่ใช่แค่วัฒนธรรรม แต่มีความเป็นอารยธรรมความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ยุคก่อนที่ยาวนานมากกว่าพันปี” 

การนำความเป็นอีสานเข้าสู่ตลาดโลกได้ จึงต้องมีการชูปลาร้า ถือเป็นส่วนหนึ่งของ การขับเคลื่อนนโยบาย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) จากวัฒนธรรม ใช้ศาสตร์และศิลป์ของการหมักดอง (Fermentation) โดยสื่อสารจากอาหาร เช่น ปลาร้า เป็นกระแสสำคัญของธุรกิจอาหารทั่วโลก ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับในรสชาติ และถือเป็นภูมิปัญญาของคนอีสาน และยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตคนท้องถิ่น ที่เป็นภูมิภาคที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวหลากหลายถึง 1,200 สายพันธ์ุ นำมาหมักในปลาร้า ที่มีแนวโน้มเติบโตเป็นหนึ่งในอาหารไทยที่นำมาต่อยอดพัฒนาสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างยั่งยืนในหลากหลายมิติ  

 

 

 

 

หมอลำ พายุหมุนเศรษฐกิจ 

ปลดล็อกความเหลื่อมล้ำทางเพศ จนถึงสถาบันครอบครัว

สุชาติ อินทร์พรหม ผู้อำนวยการบริษัท นิวเจน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ผู้ผลิตรายการ หมอลำ ไอดอล กล่าวว่า หลังจากคลุกคลีกับวงการหมอลำมายาวนาน จัดรายการมา 2 ซีซัน พบว่า หมอลำ ถือเป็นศิลปความบันเทิงที่สื่อสารถึงความเป็นไทยอีสานได้อย่างเห็นภาพ มีพลังส่งผลเป็น “พายุหมุนเศรษฐกิจ” ไปสู่ผู้เกี่ยวข้องมากมาย จากการแสดงหนึ่งครั้ง เกิดการใช้จ่ายผ่านร้านค้า เสื้อผ้า นักท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก เครื่องดื่ม ช่วยให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่มูลค่าราว 6,000 ล้านบาทจากหมอลำวงขนาดใหญ่ประมาณ  200 วงในประเทศ มีผู้เกี่ยวข้องในการแสดงในวงรวมไม่ต่ำกว่า 4,000 คน  

“หมอลำถือว่าเป็นสะพานเชื่อมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่มีมูลค่ามหาศาล ก่อนโควิดประมาณ 4,000 ล้านบาท พอหลังโควิดหมอลำบูมมากเพิ่มขึ้นเป็น  6,000 ล้านบาท มีโอกาสเติบโตได้อีก เพราะทำการแสดงภายใน 1 ปี มีรอบการแสดงราวรวมทุกวงราว 2,600 รอบ เฉลี่ยวงละ 200 รอบต่อปี และยังไม่รวมถึง การแสดง ออนไลน์ให้กับคนอีสานในต่างประเทศ ที่ไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ เมื่อได้ยินเสียงดีดพิณ เสียงแคน ทำให้คนไทยในต่างประเทศมีความสุข รำลึกถึงบ้านเกิด  

หมอลำยังช่วยยกระดับชีวิตลูกอีสานที่เป็น LGBTQ กว่า 200 ชีวิต ที่  อยูุ่ในวงหมอลำกว่า 90% หลายคนมีเรื่องราวเติบโตมาในครอบครัวที่โดนดูถูกดูแคลน ไม่ยอมรับจากครอบครัวจึงต้องหลุดจากระบบการศึกษา ทำให้ไม่มีวุฒิไปสมัครงานกับทั่วไป แต่เมื่อเข้ามาในวงหมอลำได้มีรายได้ ช่วยเหลือเกื้อกูลครอบครัว ผ่อนบ้าน ไถ่ที่นา ออกรถใหม่ให้พ่อแม่ ทำให้พ่อแม่กลับมาภาคภูมิใจอีกครั้ง ถือเป็นการช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ ครอบครัวยอมรับ มีความรักและอบอุ่น มีความเข้าใจกันและกันมากขึ้น รักษาสถาบันครอบครัว 

หมอลำจึงเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่มีโอกาสทำให้คนทั้งโลกเห็นศิลปวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ และเป็นสิ่งที่มีมูลค่า มีความทันสมัยที่ทำให้คนรุ่นใหม่หันกลับมามองและเห็นคุณค่าภาคภูมิใจในความเป็นคนอีสาน 

“หมอลำ ทำให้คนทั้งโลกเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมความเป็นไทย อดีต เด็กรุ่นใหม่อายที่ต้องพูดอีสาน แต่เมื่อมีน้องแต้วนาคี พูดภาษาอีสานในละคร ทำให้ความเป็นอีสานค่อยๆ ก่อตัวได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จนถึงปัจจุบันมีหลากหลายแขนงที่นำไปต่อยอด”

 

 

 

 

ร่วมอยู่ร่วมเจริญ ผลกระทบ 3 เสา เศรษฐกิจ วัฒนธรรมสังคม กว่า 500 ล้านบาท  

กวิน ว่องกุศลกิจ ผู้อำนวยการ บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ กล่าวว่า การจัดงานปลาร้า หมอลำฯ มาจากแนวคิด 3 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด พร้อมด้วย ดร. ศิริกุล เลากัยกุล จาก SB Thailand และ บริษัท นิวเจน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ผู้ผลิตรายการหมอลำไอดอล ที่มีใจรักดนตรีหมอลำ ต้องการผลักดันให้หมอลำไปสู่ระดับโลก จึงร่วมกันขับเคลื่อนศักยภาพของภาคอีสาน และจังหวัดขอนแก่นให้เป็นศูนย์กลาง ภายใต้แนวคิด “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างศูนย์กลางทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันกันกับการพัฒนาสังคม และชุมชน ตลอดจนยกระดับภาคอีสานให้เป็น Thailand Destination 

“การจัดงานปลาร้า หมอลำ อีสาน ทู เดอะ เวิลด์ 24” เป็นการต่อยอดและส่งเสริม มานานุภาพ (Soft Power) ของวัฒนธรรมอีสานเพื่อสร้างโอกาสด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและพื้นภิ่น โดยการเดินหน้าด้วยหลัก 3 ประการ คือ ด้านเศรษฐกิจ สร้างโอกาสทางการตลาดโดยเฉพาะ “ปลาร้า” ให้กับพื้นถิ่นผู้ผลิตขยายสู่ระดับสากล ด้านส่งเสริมวัฒนธรรม นำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนทั้งด้านอาหาร และความบันเทิง ทำให้ชาวอีสานได้ภาคภูมิใจ และ ด้านสังคม เปิดโอกาสให้ประชาชนพื้นถิ่นอีสานที่อาศัยอยู่ทั่วโลก ได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิด กระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ ภาคภูมิใจ พร้อมดึงดูดนักท่องเที่ยวในประเทศ และต่างประเทศ ผลักดันให้ Thailand Festival เป็นงานยิ่งใหญ่ประจำปีของภาคอีกสาน โดยหวังว่า งานมหกรรมนี้จะมีเม็ดเงินสะพัดได้มากกว่า 500 ล้านบาท”