วาระร้อนโลกธุรกิจป้องกันดิสรัปท์ยุคโลกเดือดและเทคโนโลยีคุกคาม ผ่านงาน ESG Symposium2024 เคาะ 5 ประเด็น ยื่นรัฐช่วยคลี่ปม เปลี่ยนผ่านประเทศสู่อนาคตใหม่ที่ยังยืน
ทิศทางของธุรกิจในโลกกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน ข้อมูลจาก S&P 500 ได้ชี้ให้เห็นว่าอัตราของการอยู่รอดของธุรกิจ ตั้งแต่ปี 1965 -2021 (พ.ศ.2508-2564) มีอายุเฉลี่ยของบริษัทสั้นจาก 85 ปี เหลือ 33 ปีจนเหลือ 15 ปี ภายในปี 2027 (พ.ศ.2570) นั่นสะท้อนให้เห็นว่าความเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกับธุรกิจให้ถูกล้มหายไปจากตลาดเริ่มมากขึ้น สิ่งที่สะท้อนได้ว่าธุรกิจจะทำเหมือนเดิมไม่ได้อีกต่อไป สิ่งที่ยากและท้าทายขึ้นไปอีกคือ อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศพัฒนาแล้ว ต่างจากประเทศกำลังพัฒนาถึง 5 เท่า นั่นคือสิ่งที่ตอกย้ำถึงความสามารถของประเทศอยู่ที่การใช้เทคโนโลยี ในการขับเคลื่อน ประกอบกับ ความท้าทายที่ทั่วโลกกำลังเผชิญในปัจจุบันคือ สภาพอากาศ สิ่งแวดล้อมจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศกำลังพัฒนาต่างเพิ่มระเเบียบมาตรการ เข้ามาบังคับโดยเฉพาะการปฏิบัติตามพันธสัญญาขององค์การสหประชาชาติเพื่อลดอุณหภูมิโลกให้ไม่สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดได้ในศตวรรษต่อไปให้เติบโตยั่งยืน
การเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ไม่เพียงเป็นเกราะช่วยโลกรอดพ้นจากภาวะวิกฤตโลกเดือด แต่ยังช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจและประเทศ โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจขาลง ตลาดแข่งขันสูงจากสินค้านำเข้าจากจีน พร้อมทั้งการบังคับใช้มาตรการ ปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism- CBAM) และภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ที่จะกระทบต่อภาคการผลิต นำเข้า และส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยคาร์บอน เราจึงต้องเร่งเปลี่ยนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ควบคู่ไปกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยวิธีการอื่น ๆ
รวมไปถึงความท้าทายในการทำ ESG สำหรับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ยังมีข้อจำกัดของทรัพยากร องค์ความรู้ และแหล่งเงินทุน เพราะต้องลงทุนสูง ในการทำการติดตามการปล่อยก๊าซคาร์บอน ที่เรียกว่า Carbon Footprint of Organization (CFO) ทั้งใน Scope 1, 2 และ 3 เป็น เป็นประเด็นสำคัญที่ทั้งภาคธุรกิจในซัพพลายเชน (ห่วงโซ่การผลิต) จะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนแนวทางการลดการปล่อยคาร์บอน
รวมไปถึง บรรจุภัณฑ์ (Packaging) เป็นสิ่งที่จะต้องปรับทัศนคติว่า การทำ ESG จะช่วยลดต้นทุนในระยะยาว มากกว่าการเพิ่มต้นทุน จึงต้องมีการจัดทำระบบนิเวศธุรกิจ ( Ecosystem) ที่ร่วมมือกันแลกเปลี่ยน บริหารจัดการธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้มแข็งในเครือข่ายธุรกิจระยะยาว
ภายในเวที ESG Symposium 2024 จึงพาไปหาคำตอบ ภายใต้ธีม “Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส” ที่จะมีการยื่นสมุุดปกขาว นำเสนอต่อรัฐบาล เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยสู่คาร์บอนต่ำ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว เกิดจากการระดมสมองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนธุรกิจจากหลายเซ็คเตอร์ รวมถึงนักวิชาการ ภาคประชาสังคม ผ่านการหารือ 5 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย
5 ประเด็นร้อน ท้าทายเปลี่ยนผ่านไทย
- Saraburi Sandbox
โมเดลต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย ที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเมืองสีเขียว จากอุตสาหกรรมหนักสู่การปล่อยคาร์บอนต่ำ ผ่านการลงทุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยการร่วมมือกันปลดล็อก กฎหมาย ภาคการเงิน และเทคโนโลยี อาทิเช่น
การทำนาเปียกสลับแห้งพื้นที่สระบุรี เกษตรกร และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตร และเอกชน มองว่า ความท้าทายหลักของเรื่องนี้ คือการปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาแบบดั้งเดิมให้เป็นการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ต้องเริ่มจากากรเปลี่ยนทัศนคติ
–การอนุรักษ์และสร้างพื้นที่สีเขียว การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืน จากการหารือของตัวแทนที่เกี่ยวข้องด้านท่องเที่ยวและเครือข่ายป่าชุมชนสระบุรี ที่ผ่านมามีความร่วมมือแล้ว ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว 45 ป่าชุมชน แต่ทั้งนี้ยังพบว่ามีความท้าทาย 3 ด้านคือ 1.ความรู้ 2.งบประมาณ และ3. ความร่วมมือ
-การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านการบริหารจัดการขยะ
มีการหารือถึงความต้องการในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการลงทุนในเทคโนโลยีการจัดการขยะที่เหมาะสมและการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดปริมาณและเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ
– BCG จากโครงการต้นแบบความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมในการสร้างงานในพื้นที่ ผ่านการพัฒนาอาชีพบนฐานพืชพลังงานสู่ BCG จังหวัดสระบุรี โครงการนี้ต้องปลดล็อกความท้ทายของเกษตรกรที่ยังขาดเงินลงทุนในการปลูก เก็บเกี่ยว และแปรรูป
-เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด มีการหารือด้านนโยบายและกฎหมาย การออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานต่าง ๆ
2.Circular Economy
การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้คุ้มค่าสูงสุด ค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาขยะล้นโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงมีการร่วมมือการตั้งเป้าหมายลดขยะ วางโรดแมป จัดการขยะจากพลาสติก วัสดุก่อสร้าง และจากอาหารเหลือ
- Just Transition
การสนับสนุนทรัพยากรแก่ภาคส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่าน ผู้แทนจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ สถาบันการเงิน ได้มีการหารือถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรม รวมไปถึงการพัฒนาด้านคมนาคม และการขนส่งสีเขียว พร้อมการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมชีวพลังงาน และเคมีจากชีวภาพ
โดยสรุปสิ่งที่หารือได้ คือ กฎระเบียบของภาครัฐต้องส่งเสริมการลดคาร์บอน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือส่งเสริมกิจกรรมที่จำเป็น รวมทั้งแผนเทคโนโลยีแห่งชาติต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและความสามารถของประเทศ โดยเฉพาะการลดคาร์บอนและเศรษฐกิจชีวภาพ
ไม่เพียงเท่านั้น ยังได้หารือถึงโครงสร้างพื้นฐานต้องถูกคิดใหม่และเร่งการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ อย่างระบบ Grid และการจัดเก็บพลังงาน (ESS) ที่รองรับความต้องการไฟฟ้าสะอาดของประเทศ
- Technology for Decarbonization
เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีการหารือกฎระเบียบต้องส่งเสริมการลดคาร์บอน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือส่งเสริมกิจกรรมที่จำเป็น รวมถึงเรื่องแผนเทคโนโลยีแห่งชาติที่ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและความสามารถของประเทศ โดยเฉพาะการลดคาร์บอนและเศรษฐกิจชีวภาพ
- Sustainable Packaging Value Chain
การจัดการแพคเกจจิ้งทั้งระบบอย่างยั่งยืน มานำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อร่วม-เร่ง-เปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ลูกค้าและคู่ธุรกิจของ SCGP รวมทั้งหมด 299 คน ได้หารือถึงความเข้าใจ และเข้าถึงกฏกติกาต่าง ๆ ของ Carbon Tax และมาตรการกีดกันทางการค้าในสหภาพยุโรปอย่าง CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ที่นับเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการ เนื่องจากกฎกติกาเหล่านี้มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ต้องการความรู้เฉพาะทางและการเตรียมพร้อมในการปฏิบัติตาม เพื่อช่วยให้แต่ละองค์กรวางแผน และมุ่งไปสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำ Carbon Footprints of Products (CFP) เป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งในส่วนของการร่วมมือกันใน Value Chain ลดก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจร่วมกัน