นักวิจัยสหภาพยุโรปเผย 2024 ปีที่ร้อนสุดในประวัติศาสตร์

นักวิจัยสหภาพยุโรปเผย 2024 ปีที่ร้อนสุดในประวัติศาสตร์

นักวิทยาศาสตร์สหภาพยุโรปและอุตุนิยมฯโลก เผยตรงกัน ปี 2024  ทุบสถิติเป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่ที่เคยเป็นประวัติการณ์ หลังจากอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกพุ่งสูงเป็นพิเศษติดต่อกันมาเป็นเวลานาน คลื่นความร้อนนำมาซึ่งความปั่นป่วนโลกรุนแรง ร้อนจัดเพิ่มก๊าซเรือนกระจก เกิดภาวะแล้ง น้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ภูมิอากาศสุดขั้ว คนจะใช้ชีวิตอย่างไร

 

 

ในยุคปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต้องเผชิญ โดยเฉพาะ “ภาวะโลกร้อน” ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จนถึงระบบนิเวศที่ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า และการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ไม่ยั่งยืน 

สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงทำลายสมดุลของธรรมชาติ แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ในรูปแบบของภัยพิบัติ เช่น คลื่นความร้อน น้ำท่วม และภัยแล้งที่รุนแรงขึ้น

ปี 2024 ได้รับการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ย้ำเตือนถึงความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่สูงเกิน 1.5 °C เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเสี่ยงต่อการทำให้ระบบนิเวศและวิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่อาจย้อนกลับได้ 

นี่คือช่วงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับตัวให้ทันกับผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อรักษาโลกให้คงอยู่สำหรับคนรุ่นต่อไป

 

 

 

 

ตามรายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ( World Meteorological Organization – WMO) ปี 2024 (พ.ศ.2567)  เตือนถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรวดเร็วจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น โดยช่วงปี 2015-2024 (2558-2567) ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ร้อนที่สุด จนทำให้ น้ำแข็งละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และอุณหภูมิมหาสมุทรเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อชุมชนและเศรษฐกิจ 

อุณหภูมิเฉลี่ยเดือนมกราคม-กันยายน 2024 สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม 1.54°C  นำไปสุ่ประกฎการณ์ทางธรรมชาติอย่าง เอลนีโญเป็นตัวเร่ง 

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาติ (UN) ระบุว่า ภัยพิบัติทางภูมิอากาศทำลายสุขภาพ ความเท่าเทียม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้เปราะบางได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

 

 

นำไปสู่ปรากฎการณ์ดังนี้คือ 

ก๊าซเรือนกระจก
ระดับก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดในปี 2023 (พ.ศ.2566)  และยังคงเพิ่มขึ้นในปี 2024 ส่งผลต่อความเข้มข้นของ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มขึ้น 51% ตั้งแต่ปี 1750 (พ.ศ.2293) จาก 278 ppm เป็น 420 ppm ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอย่างมาก

 

 

มหาสมุทร

ปี 2023 มีความร้อนสะสมในมหาสมุทรสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และปี 2024 ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน มหาสมุทรดูดซับความร้อนมหาศาล ทำให้ภาวะโลกร้อนกลายเป็นปัญหาที่ไม่อาจย้อนกลับได้ในช่วง 100-1,000 ปี

 

 

ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการละลายของน้ำแข็งและการขยายตัวของน้ำอุ่น โดยปี 2014-2023 (พ.ศ.2557-2566)  มีอัตราระดับเพิ่มขึ้น 4.77 มม. ต่อปี ซึ่งเร็วกว่าสองเท่าจากช่วงปี 1993-2002 (พ.ศ.2536-2545) 

 

 

สภาพอากาศและภูมิอากาศสุดขั้ว

สภาพอากาศแปรปรวนสุดขั้วส่งผลกระทบต่อการเป้าหมายพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้การขาดแคลนอาหารและการย้ายถิ่นเพิ่มขึ้น ภัยพิบัติจากความร้อน น้ำท่วม และพายุสร้างความเสียหายมหาศาล เอลนีโญทำให้ภัยแล้งในบางภูมิภาครุนแรงขึ้น

 

 

ผลกระทบจากสภาพอากาศสุดขั้ว 

สภาพอากาศสุดขั้วได้เกิดขึ้นทั่วโลกในปี 2024 ตั้งแต่ภัยแล้งในอิตาลีและอเมริกาใต้ ไปจนถึงคลื่นความร้อนที่คร่าชีวิตคนจำนวนมากในเม็กซิโก ซาอุดีอาระเบีย และมาลี นอกจากนี้ ยังมีการเกิดพายุไซโคลนรุนแรงในสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ และน้ำท่วมที่คร่าชีวิตผู้คนในหลายประเทศ ข้อมูลจาก WMO ระบุว่าเหตุการณ์เหล่านี้ได้รับการยืนยันว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แม้ว่าจะมีความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก โดยมีหลายประเทศให้คำมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593)  แต่การปล่อย CO2 ทั่วโลกในปี 2024 ทำให้ทำลายสถิติร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ถึงแม้จะมีการลดการปล่อย CO2 แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อโลกในระยะยาว

 

 

เสียงของโลกคือการเตือนภัยจากปรากฏการณ์ลานีญา
นักวิทยาศาสตร์กำลังติดตามการเกิดปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งอาจทำให้อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลลดลงในปี 2025 (พ.ศ.2568) แต่ก็ไม่สามารถหยุดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แม้ว่าลานีญาจะช่วยลดอุณหภูมิในระยะสั้น แต่โลกจะยังคงเผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดจากคลื่นความร้อนและพายุไซโคลนที่รุนแรง

 

 

งบประมาณช่วยเหลือประเทศยากจนยังไม่เพียงพอ  

แม้จะมีข้อตกลงในการให้เงินสนับสนุน 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการเจรจาด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในปีนี้ แต่ประเทศยากจนยังคงมองว่าเงินจำนวนนี้ไม่เพียงพอที่จะรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในแต่ละปี

 

บักทึกปรากฎการณ์อุณหภูมิโลกสูงเกิน 1.5 องศา จาก WMO 

WMO เผยแพร่รายงานสถานการณ์ภูมิอากาศโลกประจำปีตั้งแต่ปี 1993 และเริ่มรายงานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวชี้วัดภูมิอากาศสำคัญในปี 2016 เพื่อสนับสนุนการประชุมระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีการตกลงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสารก่ออากาศเพื่อลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ หรือ  UNFCCC (COP) ได้เปิดรายงานปี 2024 กรมอุตุนิยมวิทยาและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญระดับโลก (WMO) ตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญกำหนดตัวชี้วัดและวิธีตรวจสอบที่สอดคล้องกับ รายงานที่ครอบคลุมถึงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (IPCC) เพื่อการติดตามอุณหภูมิที่เชื่อถือได้ พร้อมพัฒนางานต่อไปเพื่อสนับสนุน UNFCCC (COP) และ IPCC WMO เป็นหน่วยงานของ UN ที่ส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตุนิยมวิทยา ติดตามสภาพอากาศและทรัพยากรน้ำ และสนับสนุนการพยากรณ์และบรรเทาภัยพิบัติ เพื่อพัฒนาความรู้และความปลอดภัยของประชาชนทั่วโลก

ได้ระบุว่าในปี 2024 ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้น 1.54°C จากค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางสภาพอากาศสุดขั้ว เช่น คลื่นความร้อน พายุไซโคลน และภัยแล้งที่กระทบเศรษฐกิจและชุมชนทั่วโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงทำลายสถิติสูงสุด และแม้จะมีการพยายามลดการปล่อย CO2 แต่ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังคงอยู่ ภายใต้ความเร่งด่วนนี้ WMO ยังคงเผยแพร่รายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกปี พร้อมพัฒนาเครื่องมือในการติดตามอุณหภูมิที่เชื่อถือได้ เพื่อตอบสนองการประชุม UNFCCC (COP) และ IPCC

 

 

เตือนภัยรับมือภัยบัติรุนแรงใน 5 ปี 

บริการด้านสภาพภูมิอากาศและการเตือนภัยล่วงหน้าได้คาดการณ์ล่วงหน้า 5 ปี ในโครงการการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกคน (Early Warnings for All – EW4All) เพื่อปกป้องชีวิตคนจากสภาพอากาศที่อันตราย น้ำ หรือเหตุการณ์ทางสภาพภูมิอากาศต่าง ๆ ด้วยระบบเตือนภัยที่สามารถช่วยชีวิตได้ภายในสิ้นปี 2027 (พ.ศ.2570) รายงานว่ามี 108 ประเทศที่มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าจะเกิดภัยพิบัติรุนแรงหลากหลายด้าน 

ดังนั้น จึงต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานทดแทน เพื่อมั่นใจว่ามีการรองรับด้านพลังงานอย่างยืดหยุ่นโดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงทำความร้อนและการทำความเย็น

ที่มา: https://www.reuters.com/business/environment/2024-will-be-hottest-year-record-eu-scientists-say-2024-12-09/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1K5TkpIBY9_84xGSX26eooFTzXAW1WBtF6jddlS9D5BOHBtiAFxK1ZyBg_aem_7vb9xnZwqbJKqAcDuLCH9w#:~:text=C3S%20said%20data%20from%20January,year%20on%20record%20was%202023

 

https://wmo.int/news/media-centre/2024-track-be-hottest-year-record-warming-temporarily-hits-15degc?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1VktpcFwvIwO5ioCi9X9glKFVtnWY_DUeKw6NSrThArCkkx-z6Mymh3Oo_aem_hopjwnQa6CgvIO-oomTNng