ค้นแก่นแท้ ปรัชญา ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ งาน SX2024 ปีที่ 5 มหกรรมยั่งยืนยิ่งใหญ่ที่สุดอาเซียน กระเพื่อมแนวคิด ‘พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก’

ค้นแก่นแท้ ปรัชญา ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ งาน SX2024 ปีที่ 5 มหกรรมยั่งยืนยิ่งใหญ่ที่สุดอาเซียน กระเพื่อมแนวคิด ‘พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก’

ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล   เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถา อธิบายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่ “ทำนา ปลูกข้าว” คนไทยผิวเผินไม่เข้าใจแก่นแท้ อยู่ที่กระบวนการคิด ใช้ทุนทางสติปัญญาสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจ ในภาวะโลกรวน บริหารจัดการทรัพยากรไม่เพียงพอ ให้พอเพียง ค้นหาคำตอบ ผ่านงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024)  สืบสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างโลกที่ยั่งยืนในทุกมิติ เชื่อมโยงธุรกิจและผู้บริโภค

 

 

ยุคโลกเดือด หรือ Global Boiling เป็นสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งถ้าเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นมากเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส จะส่งผลกระทบเป็นโดมิโน่ ไม่ว่าจะคน, สัตว์, ธรรมชาติ และ โลกใบนี้ 

Sustainability Expo 2024 (SX2024) จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 กับแนวคิด ‘พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก’ (Sufficiency for Sustainability) มหกรรมความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน 

เพื่อสร้างสรรค์ให้โลกสมดุลและผลักดันให้เกิดการลงมือทำ (Decade of Action) รวมพลังเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกใบนี้น่าอยู่ 

เพราะโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ประชากรโลกต้องรับมือด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals) และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่ 9 มาปรับใช้ ในเรื่องการพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิกันที่ดี ไม่หวังเพียงโลภหรือทุจริตคอรัปชั่นเพียงอย่างเดียว

ในงานนี้ร่วมอัปเดทไอเดียความยั่งยืน นวัตกรรมและต้นแบบการพัฒนาเมืองสู่ชุมชน ผ่านงานเสวนา เวิรค์ช้อป นิทรรศการศิลปะ ตลอดจนวิทยากรระดับท็อปที่ลงมือหาวิธีการช่วยโลกใบนี้

เปิดพิธีด้วยเสียงประสานร้องเพลง What A Wonderful World ของ Louis Armstrong ที่มีเนื้อเพลงกล่าวถึงโลกที่สวยงาม การที่คนหนึ่งคนได้เห็นต้นไม้สีเขียว ดอกไม้สีแดงบานสะพรั่ง ได้ยินเสียงเด็กร้องและนกขับขาน การได้เห็นทุกสรรพสิ่งเติบโตบนโลกพื้นนี้ใต้ท้องฟ้าสีคราม ซึ่งอาจเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในอนาคตหากเราปล่อยให้โลกถึงจุดวิกฤตนี้ไปเราคงไม่ได้มีวันเช่นนี้อีก 

 

 

 

ความเข้าใจ เศรษฐกิจพอเพียง 

ไม่ใช่ปลูกผัก แต่เป็น ‘วิธีคิด’ ดำรงชีวิต  

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถาในพิธีเปิดงานว่า ความยั่งยืนสอดคล้องกับหลักปรัชาญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ตามความเข้าใจของทุกคนยังคงคลาดเคลื่อนแม้มีมานานตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตั้งไว้เมื่อปี 2542 หลังจาก เศรษฐกิจไทยเกิดฟองสบู่ ปี 2539 ทำให้บ้านเมืองล่มจ่มหนี้สินเท่าตัว ภาคธุรกิจต้องปิดกิจการไปไม่รอด เกิดเหตุทุกข์รอดทั่วประเทศ จนต้องกู้เงินองค์การการเงินระหว่างประเทศ(IMF) เข้ามาแก้ไขปัญหา  

ผลสุดท้ายพระองค์ท่านเริ่มกล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) อันเป็นหัวใจหลัก โดยใช้เวลาอธิบายซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนได้นำไปบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549)  และมีพระราชทานจำกัดความที่ย้ำเตือนถึงความเปลี่ยนแปลง ที่ตอนแรกอาจนึกถึงแค่เศรษฐกิจแต่ระยะหลังทำให้นึกถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ น้ำท่วม โรคระบาดที่เข้ามาหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 จึงพบว่า 

 

ท่านเตือนเราไว้ทุกอย่างแล้ว เราแค่แปลไม่ออกเอง!!

“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ท่านได้ใช้เวลา อธิบายซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 และที่9 แต่เมื่อจำนวนประชากรโลกมากขึ้นถึง 9 พันล้านคน พฤติกรรมมนุษย์จึงกลายเป็นผู้สร้างและผู้ทำลายบริโภคเกินพอเพียง จนต้องกลับมาทวนทวนการบริโภคในชีวิตประจำวัน การผลิตต้องใช้ทรัพยากรในโลกที่เติบโตขึ้น เป็นการบริโภคด้วยเหตุผล หรือด้วยความโลภ เสื้อผ้า ของใช้ พลังงาน”

 

 

ทุนปัญญา ภูมิคุ้มกันกิเลส กำกับความโลภ 

โดยวางหลักความคิดไว้สามองค์ประกอบ คือความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน สามด่านแรกที่ไม่ว่าจะทำอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ธุรกิจหรือแม้กระทั่งตัวเราเอง ก็ต้องดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างประมาณตน 1.ประเมินทุนสติปัญญา ทุนทรัพยากร 2.มีเหตุผลที่ยับยั้งกิเลส เช่น นักลงทุนไปกู้มาเพราะเห็นตลาดเติบโตแต่สุดท้ายหนี้ท่วม 3.สร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันความเสี่ยง (Risk Management) ด้วยการทำเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 

“ก่อนทำอะไรจึงต้องประมาณตน ดูทุน ดูตลาด นี่คือกระบวนการคิดมีเหตุผล ใช้ทุนทางสติปัญญา มีศีล สมาธิ ปัญญามาคอยเป็นตัวกำกับ ไม่มีเหตุผลที่เป็นสิ่งที่เกิดจากกิเลส หลายครั้งที่นักลงทุนเห็นการเติบโตไปกู้มาขยายการลงทุนจนหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะทำตามกระแส”

เวลานั้นไม่เคยรอคอย ต้องกับมาคิดทบทวนว่ามนุษย์ดึงทรัพยกรของโลกนี้มาใช้ แม้จะสร้างนวัตกรรมใหม่ แต่โลกใบนี้เล็กมากหากเทียบกับมนุษย์ ดังนั้นต้องตั้งคำถามว่าของที่เราบริโภคอยู่ทุกคน ประดับไว้ในบ้านจำตามหลักเหตุและผล หรือแค่ความโลภ 

“นักวิทยาศาสตร์บอกว่าสิ่งของ 70% ในบ้านคนเรานั้นไม่ได้มีความจำเป็นในชีวิตเลย แต่เราต้องแลกมาจากแผ่นดิน ที่มีวันหมดนะครับ น้ำมันก็เริ่มจะหมดแล้วนะ เริ่มมีปัญหาแล้วมนุษย์ถึงจะเริ่มหาทางออก”

 

 

เข้าใจ เข้าถึง แก่นแท้พอเพียง

อยู่ที่สติปัญญา เกราะคุ้มกันภาวะจิตใจ 

น่าเป็นห่วงคนไทยเป็นคนผิวเผิน ไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ ชอบติดอยู่แค่เปลือกไม่ลงลึกถึงแก่น ต้นไม้ก็ดูแค่ผิว เห็นแค่ผิวเรียบ ๆ ไม่รู้ว่า ต้นไม้อายุเท่าไหร่ เช่นเดียวกันกับพระพุทธศาสนา เพียงนับถือกราบไหว้พระ แต่ไม่ได้น้อมนำพระธรรมมาปฏิบัติ หรือเพียงนั่งส่องพระเครื่อง หัวใจสำคัญของปรัชญาพระพุทธศาสนาคือ ปัญญา ภูมิคุ้มกันความเสี่ยงระมัดระวังสิ่งที่จะเข้ามากระทบต่อภาวะจิตใจของเราทุกคน 

“โลกเปลี่ยนไปแล้ว องค์ความรูัในยุคปัจจุบันด้านการศึกษาไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลง และความต้องการในยุคปัจจุบัน เป็นโลกที่ไร้พรมแดน สิ่งที่เกิดขึ้นจากนอกประเทศ นอกโลกย่อมส่งผลมาถึงตัวเรา เพราะโลกนี้เป็นหนึ่งเดียวกัน แบ่งแยกไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความสัมพันธ์ถูกโยงใยใกล้ชิดกัน ทุกคนจึงต้องมีภูมิคุ้มกัน”  

 

พอเพียง ปรัชญาเชื่อมโยงกับทุกบริบท

ทุกระแสเศรษฐกิจโลกใหม่

พระองค์ท่านทรงเน้นย้ำในด้านคุณงามความดี ไม่มีทุจริต คอรัปชั่น ซึ่งอยู่ในการพัฒนายั่งยืน คือ Good Governance เป็นสิ่งสำคัญในการนำพาให้องค์กรขนาดใหญ่อยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน 

พระองค์ท่านทรงสอนด้านการบริหารจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ทำไว้เป็นต้นแบบ ยังไม่มีใครนำมาสืบสาน ปฏิบัติ จึงยังวนเวียนอยู่กับความทุกข์ กระแสโลกใหม่ทคี่ล้วนมีคำว่า Green, Net Zero Emission, Circular Economy, Creative Economy, Small is Beautiful ล้วนเกี่ยวโยงกับความพอเพียง และปัญญา นี่คือทางรอดของชีวิต และส่งต่อทรัพยากรให้กับคนรุ่นต่อไป 

“ทำเพื่อตัวเองรอด และลูกหลานรอดแล้วก็ต้องทำเพื่อโลกส่งต่อทรัพยากรทั้งหลายให้มีอยู่เพียงพอไปสู่ลูกหลาน เพื่อให้ยั่งยืน จากรุ่นสู่รุ่นได้มีความสุขบนอัตภาพ” 

ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) ได้รับการตอบรับที่ดี จากปีที่ผ่านมาที่มีผู้เข้าชมมากกว่า 360,000 คน ถือเป็นงานที่จัดขึ้นจากความร่วมมือของภาคธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยน้อมนำพระบรมราชโองการในการสืบสานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นแนวทางในการพัฒนาความยั่งยืน โดยปีนี้ได้ขยายเครือข่ายพันมิตรในการร่วมพลังในทุกมิติเข้าร่วม 

นำโดย 5 องค์กรต้นแบบธุรกิจความยั่งยืนระดับโลกได้แก่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้, เอสซีจี, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ, ไทยยูเนี่ยน และปตท. พร้อมทั้ง เครือข่าย TSCN (Thailand Supply Chain Network ) ร่วมด้วยผู้สนับสนุนการจัดงานทุกภาคส่วน 

 

10 วันจัดเต็ม ชี้เป้า 10 แอคชั่น

 

  1. โซน SEP INSPIRATION หัวใจหลักความยั่งยืน
  2. โซน Better Me วิถียั่งยืนที่เริ่มต้นจากตัวเอง
  3. โซน Better Living ความยั่งยืนจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ
  4. โซน Better Community เพื่อสังคมที่ดีจากไทยสู่สากล
  5. โซน Better World งานศิลป์ในโลกแห่งความหลากหลาย
  6. โซน SX Food Festival เปิดประสบการณ์ใหม่ อาหารอนาคตบนจานแห่งความยั่งยืน
  7. โซน SX Marketplace ตลาดสร้างสรรค์ในบรรยากาศสวนกลางเมือง
  8. โซน SX REPARTMENT STORE ส่งต่อ ข้าวของที่ไม่ใช้ สู่คุณค่าใหม่เพื่อผู้อื่น
  9. โซน B2B Event หลากสัมมนาและเครือข่ายธุรกิจเพื่อความยั่งยืน และเวทีเสวนา
  10. โซน SX Kids สนุกคิดส์ สนุกทดลอง 

 

โดยในปีนี้เนรมิตชั้น LG ชั้น G และชั้น 2 เป็นโซนหลากหลายให้เลือกเยี่ยมชมและร่วมกิจกรรม เวลา 10.00-20.00 ถึง 6 ตุลาคม 2024 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์