‘โลกเดือด’ สภาวะอากาศสุดขั้ว ร้อนจัด-ฝนตก-น้ำท่วมหนัก ‘ภัยแล้ง’ วิกฤตเพิ่มขึ้น 3 เท่า นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980

‘โลกเดือด’ สภาวะอากาศสุดขั้ว ร้อนจัด-ฝนตก-น้ำท่วมหนัก ‘ภัยแล้ง’ วิกฤตเพิ่มขึ้น 3 เท่า นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980

โลกเดือด ! รายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเผยให้เห็นว่า พื้นผิวดินที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่านับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980

 

 

จากการวิเคราะห์ของวารสาร ‘เดอะแลนเซ็ตเคาท์ดาวน์’ เกี่ยวกับสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The Lancet Countdown on Health and Climate Change) พบว่าพื้นผิวโลก 48%  ประสบภาวะแห้งแล้งรุนแรงอย่างน้อยหนึ่งเดือนในปีที่แล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 15% ในทศวรรษ 1980

เกือบหนึ่งในสามของโลกหรือ 30% ประสบภัยแล้งรุนแรงนานสามเดือนหรือมากกว่านั้นในปี 2566 โดยในปี 2523 ภัยแล้งเฉลี่ยอยู่ที่ 5 % 

การศึกษาใหม่นี้นำเสนอข้อมูลระดับโลกล่าสุดเกี่ยวกับภัยแล้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภัยแล้งกำลังทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงใด

 

กราฟแสดงอัตราการเพิ่มขึ้นของความแห้งแล้งในรอบ 3 ทศวรรษ

 

เกณฑ์ความแห้งแล้งกินเวลานานกว่า 6 เดือน

ทำลายกลไกการเกิดฝน

ทั้งนี้ เกณฑ์ความแห้งแล้งรุนแรงจะเกิดขึ้นหลังจากฝนตกน้อยมากหรือมีการระเหยของน้ำจากพืชและดินในปริมาณสูงมากเป็นเวลาหกเดือน หรือทั้งสองอย่าง

ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อน้ำและสุขอนามัย ความมั่นคงด้านอาหาร และสุขภาพของประชาชนทันที และอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งพลังงาน เครือข่ายการขนส่ง และเศรษฐกิจ

สาเหตุของภัยแล้งในแต่ละครั้งมีความซับซ้อน เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ มากมายที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำ ตั้งแต่เหตุการณ์ธรรมชาติไปจนถึงวิธีที่มนุษย์ใช้ที่ดิน

แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนรูปแบบปริมาณน้ำฝนทั่วโลก ส่งผลให้บางภูมิภาคมีแนวโน้มเกิดภัยแล้งมากขึ้น

ภัยแล้งเพิ่มขึ้นรุนแรงเป็นพิเศษในทวีปอเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกาตะวันออก

ในป่าอะเมซอนของอเมริกาใต้ ภัยแล้งกำลังคุกคามที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบสภาพอากาศ

มันฆ่าต้นไม้ที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดเมฆฝน ซึ่งไปรบกวนวงจรฝนที่สมดุลอย่างละเอียดอ่อน ทำให้เกิดวงจรป้อนกลับที่นำไปสู่ภัยแล้งเพิ่มมากขึ้น

 

พื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง แต่ฝนกลับตกหนัก

ในขณะที่พื้นดินส่วนใหญ่แห้งแล้ง ฝนที่ตกหนักก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 61% ของโลกพบปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยพื้นฐานจากปี พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2533

ความเชื่อมโยงระหว่างภัยแล้ง น้ำท่วม และภาวะโลกร้อนมีความซับซ้อน อากาศร้อนทำให้การระเหยของน้ำในดินเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วงที่ไม่มีฝนตกยิ่งแห้งแล้งมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศยังส่งผลต่อรูปแบบของฝนอีกด้วย เมื่อมหาสมุทรอุ่นขึ้น น้ำจะระเหยไปในอากาศมากขึ้น อากาศก็อุ่นขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่าอากาศสามารถกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น เมื่อความชื้นเคลื่อนตัวผ่านแผ่นดินหรือรวมตัวกันเป็นพายุ ฝนจะตกหนักมากขึ้น

รายงานของ ‘เดอะแลนเซ็ตเคาท์ดาวน์’ พบว่าผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

 

ความแห้งแล้ง ก่อให้เกิดความอดอยาก

 

เกิดภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำ

ภัยแล้งทำให้ประชากรกว่า 151 ล้านคนประสบปัญหาขาดแคลนอาหารเมื่อปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ นอกจากนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตจากความร้อนในกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปยังเพิ่มขึ้น 167% เมื่อเทียบกับช่วงทศวรรษ 1990

ในขณะเดียวกัน อุณหภูมิที่สูงขึ้นและฝนที่ตกหนักขึ้นทำให้ไวรัสที่เกี่ยวข้องกับยุงเพิ่มมากขึ้น โรคไข้เลือดออกมีจำนวนสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และไวรัสไข้เลือดออก มาเลเรีย และไวรัสเวสต์ไนล์ได้แพร่กระจายไปยังสถานที่ที่ไม่เคยพบมาก่อน

พายุฝุ่นที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ผู้คนอีกหลายล้านคนต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตราย

มาริน่า โรมาเนลโล ผู้อำนวยการบริหารของ ‘เดอะแลนเซ็ตเคาท์ดาวน์‘ กล่าวว่า สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเร็วมาก 

“มันกำลังเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขที่เราไม่คุ้นเคย และเราไม่ได้ออกแบบระบบให้สามารถทำงานได้ตามปกติ”

สำหรับซีรีส์ ‘ชีวิตที่ 50 องศา’ (Life at 50 degrees) ทาง BBC World Service ได้เดินทางไปเยี่ยมชมพื้นที่ที่ร้อนที่สุดบางแห่งของโลก ซึ่งความต้องการน้ำมีสูงอยู่แล้ว และพบว่าภัยแล้งที่รุนแรงและฝนตกหนักยิ่งทำให้ขาดแคลนน้ำมากขึ้น

ตั้งแต่ปี 2020 (พ.ศ. 2563) ภัยแล้งทางการเกษตรที่รุนแรงมากขึ้นได้แผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียและบางส่วนของอิรัก

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมืองฮาซาคาห์ซึ่งมีประชากรหนึ่งล้านคน ขาดแคลนน้ำสะอาด

อุสมาน กัดโด หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบน้ำของคณะกรรมการน้ำเมืองฮาซาคาห์กล่าวว่า เมื่อ 20 ปีก่อน น้ำเคยไหลลงสู่แม่น้ำคาโบร์ แต่แม่น้ำสายนี้แห้งขอดมาหลายปีแล้วเพราะไม่มีฝนตก เขาเน้นย้ำว่า “ประชาชนไม่มีแหล่งน้ำจืดใช้”

เมื่อไม่สามารถหาแหล่งน้ำได้ ผู้คนก็จะขุดบ่อน้ำขึ้นมาใช้เอง แต่แหล่งน้ำใต้ดินก็อาจปนเปื้อนจนทำให้ผู้คนเจ็บป่วยได้

น้ำดื่มในเมืองฮาซาคาห์มาจากระบบบ่อน้ำที่อยู่ห่างออกไป 25 กิโลเมตร แต่บ่อน้ำเหล่านี้ก็แห้งเหือด และเชื้อเพลิงที่จำเป็นในการสูบน้ำก็มีไม่เพียงพอ

 

ชนพื้นเมืองขาดแคลนอาหาร น้ำที่ดื่มเสมือนดื่มน้ำโคลน

 

ความแห้งแล้ง เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ – แย่งชิงน้ำ

เสื้อผ้าไม่ได้ซักและครอบครัวก็ไม่สามารถอาบน้ำให้ลูก ๆ ได้อย่างถูกวิธี ส่งผลให้โรคผิวหนังและโรคท้องร่วงแพร่หลาย

ชาวบ้านคนหนึ่งบอกกับบีบีซี ว่า ผู้คนกระหายน้ำกันทุกวัน “ผู้คนพร้อมที่จะฆ่าเพื่อนบ้านเพื่อแย่งน้ำ” 

ในประเทศซูดานใต้ 77% ของประเทศประสบภัยแล้งอย่างน้อยหนึ่งเดือนเมื่อปีที่แล้ว และครึ่งหนึ่งของประเทศประสบภัยแล้งรุนแรงอย่างน้อยหกเดือน ในเวลาเดียวกัน ประชาชนมากกว่า 700,000 คนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

นยากูมา (Nyakuma) ผู้อาวุโสประจำหมู่บ้าน กล่าวว่า สถานการณ์เริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ  “เมื่อเราลงไปในน้ำ เราก็จะป่วย และอาหารที่เรากินก็ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ”

นยากุมาติดเชื้อมาลาเรียมาแล้ว 2 ครั้งภายในเวลาไม่กี่เดือน

ครอบครัวของเธอสูญเสียฝูงวัวทั้งหมดหลังเกิดน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว และตอนนี้ต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาล รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ ที่หาได้

“การกินสิ่งนี้ก็เหมือนกับการกินโคลน” ซันเดย์ สามีของ นยากูมา กล่าวในขณะที่เขาค้นหาต้นลิลลี่น้ำในน้ำท่วม

 

ภัยแล้ง แผ่นดินไหม้เกรียม ส่งผลให้น้ำท่วม

ในช่วงภัยแล้ง แม่น้ำและทะเลสาบจะแห้งเหือด และดินจะไหม้เกรียม ส่งผลให้ดินแข็งและสูญเสียพืชปกคลุม หากเกิดฝนตกหนัก น้ำจะไม่สามารถซึมลงสู่พื้นดินได้และจะไหลออกไปแทน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

 โรมาเนลโล (Romanello) กล่าวเสริมต่อสถานการณ์ดังกล่าวว่า พืชสามารถปรับตัวให้เข้ากับภาวะแห้งแล้งรุนแรงได้ในระดับหนึ่ง แต่ภาวะน้ำท่วมจะส่งผลกระทบต่อสรีรวิทยาของพืชอย่างมาก “ส่งผลเสียต่อความมั่นคงด้านอาหารและภาคการเกษตรอย่างมาก”

หากเราไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและหยุดอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นอีก  ก็อาจต้องเผชิญกับภัยแล้งและฝนตกหนักมากขึ้น ปี 2023 (พ.ศ. 2566) ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้

 โรมาเนลโล กล่าวว่า “ในขณะนี้ เรายังอยู่ในสถานะที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่จะต้องถึงจุดที่เราจะถึงขีดจำกัดของศักยภาพของเราเสียก่อน จากนั้นเราจะเห็นผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้มากมาย” 

“ยิ่งเราปล่อยให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเท่าไร สิ่งต่างๆ ก็จะยิ่งเลวร้ายลงเท่านั้น”

 

ที่มา: https://www.bbc.com/news/articles/clyvje458rvo