9 อุตสาหกรรมหนัก แบงก์หนุนสินเชื่อเร่งเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

9 อุตสาหกรรมหนัก แบงก์หนุนสินเชื่อเร่งเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

CIMB Thai เดินโรดแมปตามแผนร่วมมือสถาบันการเงินทั่วโลกเร่งลดคาร์บอนเป็นศูนย์ NZBA ร่วมมือลดอุณหภูมิทำให้โลกเย็นลง วางเป้าหมาย 9 อุตสาหกรรมโลกเก่า หนุนสินเชื่อเปลี่ยนผ่าน นำร่อง อุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซ ก่อนถึงจุดโลกไร้ฟอสซิล หาทางออกลงทุนเทคโนโลยีการผลิตคาร์บอนต่ำ ดักจับคาร์บอน  

 

 

ใกล้เวลาครบรอบ 10 ปี สัญญาข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งตามคำมั่นสัญญาที่ลงนามจาก 195 ประเทศสมาชิกทั่วโลก มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2016 (พ.ศ.2559) มีเป้าหมายในการรักษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5  องศาเซลเซียส หรือระดับเดียวกันกับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 

จากเป้าหมายดังกล่าวทำให้สถาบันการเงิน เข้ามามีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านธุรกิจซึ่งมุ่งสู่การค้าโลกในปัจจุบันและเกาะขบวนไปสู่อนาคต “โลกสีเขียว” ค้นหาวิธีเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเป็นศูนย์ หรือมีการเก็บกักคาร์บอน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ

เจสัน ลี ผู้บริหารฝ่ายความยั่งยืน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยข้อมูลหลังเข้าเป็นสมาชิก ความร่วมมือสถาบันการเงินและภาคธนาคารเพื่อคาร์บอนเป็นศูนย์ หรือเรียกว่า NZBA (Net-Zero Banking Alliance) ว่าเป็นความร่วมมือทำให้ภาคการเงินทั่วโลก มีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ทำให้โลกเย็นลง  ดังนั้น ภาคการเงินต้องเข้าไปสนับสนุนการเงินต่อภาคการผลิต ให้พัฒนานโยบายและกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนให้สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจโลก ทำธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาการใช้พลังงานฟอสซิลลง หันมาใช้พลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น 

ทั้งนี้ สถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนนโยบายด้านการสร้างระบบนิเวศ ซัพพลายเชน ให้ความรู้และการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้เกิดการลงทุน เร่งส่งเสริมภาคธุรกิจให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการผลิตคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่ความยั่งยืน

 

 

 

สถาบันการเงินหนุนมาตรการลดโลกร้อนใน 9 อุตสาหกรรมหนัก 

ทั้งนี้สถาบันการเงินในนาม NZBA  (Net-Zero Banking Alliance)  ได้จัดลำดับความสำคัญของอุตสาหกรรรม ที่ต้องเร่งเข้าไปปล่อยสินเชื่อเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯสูง  ใน 9 กลุ่มอุตสาหกรรม หรือ กลุ่มสีน้ำตาล (Brown Sector industry) เป็นต้นเหตุทำให้โลกร้อน  ประกอบด้วย 

 

1.ภาคการเกษตร มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปศุสัตว์ การตัดไม้ทำลายป่า  รุกล้ำพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และยังมีการใช้ปุ๋ยเคมี จึงมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก จึงต้องมีวิธีการแก้ไขปัญหาดังนี้ 

  • จัดหาเงินทุนสำหรับการทำเกษตรที่ยั่งยืนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  • สนับสนุนโครงการที่ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ การเกษตรป่าไม้ และการเกษตรฟื้นฟู
  • ลงทุนในการวิจัยและพัฒนาวิธีการเกษตรที่ยั่งยืน

 

2.ถ่านหิน เป็นการนำทรัพยากรฟอสซิลใต้ผืนดิน มาเผาเพื่อผลิตพลังงานที่กระบวนการผลิตมีการเผาไหม้ในอุณหภูมิสูง จึงทำปล่อย CO2 และเกิดมลพิษในปริมาณมาก 

วิธีการแก้ไขปัญหา 

  • ยุติการลงทุนในเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหิน
  • เปลี่ยนทิศทางการลงทุนไปยังโครงการพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด 
  • สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของชุมชนที่พึ่งพาถ่านหินไปสู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน

 

3.น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็นทรัพยากรจากฟอสซิล มีกระบวนการผลิตผ่านการสกัด การกลั่น และการเผาไหม้น้ำมัน รวมถึง ก๊าซเป็นแหล่งสำคัญของการปล่อย CO2 ก่อให้เกิดมีเทน แนวทางการแก้ไขมีดังนี้ 

  • ลดการจัดหาเงินทุนในโครงการสำรวจน้ำมันและก๊าซใหม่
  • ลงทุนในแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวภาพ
  • ช่วยให้บริษัทในการลดคาร์บอนในกระบวนการผลิต โดยนำเทคโนโลยีที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้

 

4.อลูมิเนียม การผลิตใช้พลังงานมากและปล่อย CO2 และ perfluorocarbons (PFCs) 

  • ส่งเสริมการใช้อลูมิเนียมรีไซเคิลและกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงาน
  • จัดหาเงินทุนสำหรับการวิจัยวัสดุทางเลือกที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ
  • พัฒนาโครงการที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซในกระบวนการผลิตอลูมิเนียม

 

5.อสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้างอาคารต่างๆ ต้องใช้พลังงานและวัสดุในปริมาณมาก ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซในปริมาณมาก แนวทางการแก้ไข

  • ส่งเสริมมาตรฐานและมีการรับรองอาคารสีเขียว
  • จัดหาเงินทุนสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานและโครงการก่อสร้างที่ยั่งยืน
  • พัฒนาเมืองอัจฉริยะและการวางผังเมืองที่ยั่งยืน

 

6.ภาคพลังงาน  โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งสำคัญของการปล่อย CO2 แนวทางการแก้ไขปัญหา 

  • เพิ่มการลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังน้ำ
  • พัฒนาโซลูชันการเก็บพลังงานและเทคโนโลยีสายส่งไฟฟ้า(กริด)อัจฉริยะ
  • จัดหาเงินทุนสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานพลังงานที่มีอยู่เพื่อลดการปล่อยก๊าซ

 

7.ซีเมนต์  กระบวนการผลิตซีเมนต์ต้องใช้การระเบิด เผาไหม้หินการผลิตเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีที่ปล่อย CO2 และยังใช้พลังงานสูง แนวทางการแก้ไขปัญหา  

  • ลงทุนวิจัยและพัฒนาทางเลือกใช้ซีเมนต์สูตรปล่อยคาร์บอนต่ำ
  • นำเทคโนโลยีการจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) มาใช้
  • ส่งเสริมการใช้วัสดุเสริมซีเมนต์ (SCMs) เพื่อลดปริมาณคลิงเกอร์

 

8.เหล็กและเหล็กกล้า มีกระบวนการผลิตใช้พลังงานมากและปล่อย CO2 ทำให้เกิดมลพิษอื่นๆ แนวทางแก้ไขปัญหา 

  • หันไปใช้เตาหลอมไฟฟ้า (EAFs) ที่ใช้เศษโลหะแทนแร่เหล็กดิบ
  • พัฒนาการผลิตเหล็กที่ใช้ไฮโดรเจน
  • ลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานและระบบการกู้คืนความร้อนเสีย

 

9.ภาคการขนส่ง   ยานพาหนะขนส่งส่วนใหญ่ยังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การเดินทางและการขนส่งยิ่งเพิ่มขึ้น ยิ่งปล่อย CO2 และยังก่อให้เกิดฝุ่นควัน แนวทางการแก้ไขปัญหา   

  • ผลักดันให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าและไฮโดรเจนมากขึ้น 
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะ

 

เจสัน มองว่า การมีบราวน์เซ็คเตอร์ ปล่อยคาร์บอนสูง เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถเป็นกรีนได้ 100%  เช่น  โรงไฟฟ้าฟอสซิล การผลิตปูนซีเมนต์ เหล็ก ขนส่ง บางส่วนของภาค อสังหาริมทรัพย์ เหล่านี้ถือเป็นเซ็คเตอร์ ที่เข้าไปดู ช่วยเปลี่ยนผ่าน ปรับการดำเนินธุรกิจ ให้มีการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ก่อนเปลี่ยนผ่าน เช่น ลงทุนเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน 

 

 

 

 

3 หมวดธุรกิจ เปลี่ยนผ่าน สู่เศรษฐกิจสีเขียว 

เจสัน ลี ได้กล่าวถึง วิธีการจำแนกธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อให้เข้าไปสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านได้ตรงจุดแตกต่างหมวดหมู่ธุรกิจ 3 ด้านที่เกี่ยวข้องกับการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) ประกอบด้วย 

  1. การลดหรือป้องการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ (Climate Mitigation) เป็นธุรกิจที่ลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ  จุดประสงค์หลักคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า โรงงาน  การขนส่ง และการเกษตร มีเป้าหมายพัฒนาขยายขอบเขตสู่ระดับโลก โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อช่วยลดผลกระทบในทุกระดับ ตั้งแต่การปรับพฤติกรรมการปล่อยก๊าซในระดับคน จนถึงนโยบายระดับชาติ 

โดยมีแนวทาง อาทิ การใช้พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การปลูกป่า และอนุรักษ์ป่า การใช้เทคโนโลยีจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) 

“Climate Mitigation ถือเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ทุกอย่างเป็นสีเขียว (Green) แต่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง ดังนั้น กลุ่มที่ไม่เข้าเกณฑ์ อาทิ เชื้อเพลิง ฟอสซิล เหมืองแร่ ถ่านหิน แต่ทางสถาบันการเงินมีหน้าที่เข้าไปสนับสนุนให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน” 

 

  1. กลุ่มที่ต้องการการเปลี่ยนผ่าน (Climate Transition) การเปลี่ยนผ่านด้านสภาพภูมิอากาศ มุ่งเน้นองค์กร มีการวางแผนการเปลี่ยนผ่านที่บริษัทวางแผนโมเดลธุรกิจ และวิธีการเปลี่ยนผ่านตลอดจนกรอบการทำงาน ที่จะทำธุรกิจโดยการบรรลุการลดการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ 

“Climate TRanstion ต้องยอมรับว่าไม่ได้เป็นสีเขียวทั้ง 100% แต่มีการพัฒนาสู่กรีนในบางส่วน โดยใช้นวัตกรรม เช่น  อุตสาหกรรการบินเครื่องบิน จะต้องสนับสนุนให้เกิดการลงทุนใช้เชื้อเพลิงไบโอดีเซลมาผสม หรือ เรียกว่า SAF” 

            3กลุ่มธุรกิจสีเขียว (Green) ธุรกิจที่ลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การป้องกันและควบคุมมลพิษ รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของนิเวศ 

 

 

 

 

2 ปีแรก พุ่งที่เป้า 2 อุตฯ  น้ำมัน-ก๊าซ ปล่อยคาร์บอนสูงสุด

สำหรับแนวทางการสนับสนุนทางการเงินให้กับธุรกิจที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ในปีแรก ธนาคาร CIMB Thai ได้วางแผน จับกลุ่มเป้าหมาย อุตสาหกรรมน้ำมัน & ก๊าซ (Oil & Gas) เช่น โรงกลั่นน้ำมัน แท่นขุดเจาะน้ำมัน และกลุ่มธุรกิจภาคการผลิตพลังงาน (Power) อาทิ ธุรกิจโรงไฟฟ้า ถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสีน้ำตาล ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่จะต้องได้รับการสนับสนุนปรับตัวอย่างเร่งด่วน มีสัดส่วน 70% ของอุตสาหกรรมทั้งหมดในไทย โดยประเมินเบื้องต้นทั้งอุตสาหกรรม มีเป้าหมายปล่อยสินเชื่อเข้าไปช่วยเหลือวงเงินรวมกัน 20,000 ล้านบาท ใน 300 บริษัท ภายใน 2 ปี (24 เดือน)  ที่จำเป็นจะต้องลงทุนใหม่ในโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากร คน เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้ ในการพัฒนาซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ช่วยกันลดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างเป็นรูปธรรม

โดยรูปแบบการให้สินเชื่อจะมีหลากหลายด้าน ตั้งแต่ สินเชื่อเพื่อความยั่งยืน(Sustainability-Linked Loan),  ตราสารหนี้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน (Transition Bond) และสินเชื่อเปลี่ยนผ่านเพื่อความยั่งยืน (Transition Loan) ที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์เป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ (Science-based Targets) ลดอุณหภูมิโลกไม่สูงเกิน 1.5 องศา 

“น้ำมันและก๊าซ เป็นสีน้ำตาล (Brown) โดยธรรมชาติของอุตสาหกรรม เป้าหมายภายใน 24 เดือน ธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้องการเงินลงทุนาราว  2 หมื่นล้าน ที่จะช่วยลูกค้าราว 300 บริษัท ลดคาร์บอน เพื่อสเกลอัพสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ   เช่น การพัฒนาพลังงานประสิทธิภาพ พัฒนาหมุนเวียน ติดตั้งโซลาร์ และพลังงานลม ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ประหยัดพื้นที่ ไม่ปล่อยมลพิษ ทำน้ำเสีย เข้าไปสนับสนุนช่วงเปลี่ยนผ่านที่ค่อยๆ หลุดจากพลังงานฟอสซิล โดยกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงาน”  

 

 

4 กลยุทธ์เปลี่ยนผ่านตามความพร้อมอุตสาหกรรม

1.Climate solution  หาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มธุรกิจสีน้ำตาล ให้เปลี่ยนผ่านสู่สีเขียว

2. Aliged วิเคราะห์ลูกค้าปัจจุบันอยู่ในหมวดใด เพื่อทีค่จะเข้าไปกำหนดแนวทางการสนับสนุนได้ตรงจุด

3.Aligning ค้นหาแนวทางหรือธุรกิจใหม่ หากอุตสาหกรรมเดิมเป็นสิ่งทคี่จะต้องหยุด เช่น ะถ่านหิน นำเสนอให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน 

4.Managed phasedout เป็นกลุ่มที่ต้องปิดกิจการและลงทุนใหม่ เช่นการเปลี่ยนไปสู่เทคโนโลยีชีวภาพ หรือ พลังงานชีวมวล