‘ไทยน้ำทิพย์’กางโรดแมปตามโคคา-โคล่า โกลบอล 3 เสาหลัก สำนึกใช้ คืน ฟื้นฟูแหล่งน้ำ สมดุลทรัพยากรโลกที่น่าอยู่

by ESGuniverse, 13 กันยายน 2567

ไทยน้ำทิพย์ ผู้ผลิตและจำหน่าย 'โคคา-โคล่า' เปิดกระบวนการผลิตใส่ใจสิ่งแวดล้อม และชูนวัตกรรมด้านความยั่งยืน 3 เสาหลัก ได้แก่ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และด้านบรรจุภัณฑ์ ตั้งเป้าเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

 

 

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม โดยในส่วนของการผลิตเครื่องดื่มของ”โคคา-โคล่า”(Coca-Cola) มีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ตามเป้าหมายการเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจุบันการใช้ทรัพยากรน้ำในโลกยังขาดสมดุล น้ำหลาก น้ำแล้ง จึงเกิดปัญหาขาดแคลนทรัพยากร และการเข้าถึงน้ำสะอาดบริสุทธิ์

ดังนั้นอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม จึงต้องเข้าไปมีส่วนจัดการน้ำเสีย ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่ม ด้วยการลงทุนระบบการจัดการน้ำเสีย ไม่ปล่อยน้ำเสียลงสู่ธรรมชาติ ลดผลกระทบต่อชุมขนรอบข้าง และธรรมชาติ สะอาดและปลอดภัย ไม่เกิดความเสี่ยงทางด้านน้ำ เมื่อเกิดน้ำเสีย น้ำขาดแคลน ส่งผลกระทบต่อสังคม ชุมชน ก็เป็นความเสี่ยงย้อนกลับมากระทบต่อภาคธุรกิจ

เมื่อกติกาโลกกำหนดให้มีการจัดการน้ำเสีย มาตรฐานคุณภาพน้ำ ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ มีความรับผิดชอบต่อสังคมป้องกัน ผลกระทบต่อชุมชน นำไปสู่ความเชื่อถือในแบรนด์

‘โคคา-โคล่า’ กำหนดเป้าหมายบริหารน้ำเสีย
โรงงานทั่วโลก 804 แห่ง

บริษัท โคคา-โคล่า ระดับโลก จึงมีเป้าหมายเข้าไปบริหารจัดการน้ำเสียในโรงงานโคคาโค-โคล่าทั่วโลกที่มีจำนวนกว่า 804 แห่ง พร้อมกับพัฒนาโครงการกำกับดูแลและการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ บำบัดน้ำเสีย เพื่อคืนน้ำสะอาดกลับคืบสู่ระบบ 100% เป็นการรักษาทรัพยากรน้ำให้กับชุมชนท้องถิ่น ช่วยในการดูแลสมดุลของสิ่งแวดล้อม มีส่วนยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน กระตุ้นให้โรงงานบรรจุขวดนำกระบวนการและเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียอย่างครบถ้วนมาใช้ภายในโรงงานโดยการลงทุนพัฒนาระบบขนาดใหญ่รวมมูลค่ากว่า 1,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับโคคา-โคล่า ในประเทศไทย โดยบริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอเปอเรชั่นจำกัด ผู้จำหน่ายและผลิตผลิตภัณฑ์ในแบรนด์ โคลา-โคล่า ​รับผิดชอบพื้นที่​​ 63 จังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้น 14 จังหวัดภาคใต้ เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปีได้เปิดฐานการผลิตในจังหวัดปทุมธานี ที่ใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย MBR (Membrane Bio Reactor) ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและวางกลยุทธ์และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ทันสมัยตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่ง จนถึงมือผู้บริโภค

 

 

 

โรดแมป 2573 ยังยืนครบมิติ
สินค้า-สังคม-สิ่งแวดล้อม


นางสาวปุณฑริกา สุสัณฐิตพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ องค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยถึงโรดแมปกลยุทธ์ของโคคา-โคล่า ภายในปี 2573 มุ่งมั่นสร้างความสุขและความสดชื่นให้คนไทยควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีการพัฒนาด้านความยั่งยืนครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ และสังคม

โดยด้านสิ่งแวดล้อม มีแผนลดและใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการเติมน้ำกลับคืนสู่ธรรมชาติและชุมชน มีการจัดการขยะ ส่งเสริมการรีไซเคิลและการลดขยะพลาสติก พร้อมกันกับ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทางด้านผลิตภัณฑ์ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มทางเลือกของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลต่ำหรือไม่มีน้ำตาล และการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน วัสดุสามารถรีไซเคิลได้และลดการใช้พลาสติก

ด้านสังคม สนับสนุนชุมชน ลงทุนในโครงการที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน เช่น การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดและการศึกษาการสร้างความหลากหลายและการมีส่วนร่วมพนักงานและชุมชน ส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม


นวัตกรรมแปลงน้ำสุดล้ำมาตรฐานโลก


นายเทอดพงษ์ ศิริเจน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านคุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ไทยน้ำทิพย์ ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และได้มาตรฐานระดับโลกมาใส่ในทุกกระบวนการผลิตในโรงงานการผลิตที่มี 5 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด จึงได้รับการยกย่องในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคใต้ในด้านการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันไทยน้ำทิพย์มีสายการผลิตที่ทันสมัยถึง 21 สาย ​ผ่านกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้นกว่า 450 ล้านยูนิตเคสต่อปี


โดยหนึ่งในแนวทาง​ที่ไทยน้ำทิพย์ใช้เพื่อลดการใช้น้ำ (Reduce) คือการดำเนินการผ่านการพัฒนา​แอปพลิเคชัน “บำรุง” ​แพลตฟอร์มคำนวณการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด​ (Reuse) โดย​นำน้ำที่ไม่เกี่ยวข้องในการผลิตเครื่องดื่มมาใช้ประโยชน์หลายๆ ทาง รวมทั้งนำน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วมาบำบัด (Recycle) เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ติดตั้งระบบ Membrane Bio Reactor บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบ R.O. (Reverse Osmosis) เพื่อนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดจนสะอาดได้มาตรฐานในการกลับมาใช้ใหม่​ในขั้นตอนการผลิต (ไม่ใช่วัตถุดิบสำหรับผลิตเครื่องดื่ม) ซี่งการบริหารจัดการทรัพยากการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้​ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2020 -2023) สามารถลดการใช้น้ำจากทั้ง 5 โรงงานได้กว่า 907 ล้านลิตร หรือเทียบเท่าสระว่ายน้ำโอลิมปิก 363 สระ


“เรามีสายการผลิตที่ทันสมัย 21 สาย มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้นกว่า 450 ล้านยูนิตเคสต่อปี โรงงานไทยน้ำทิพย์ ปทุมธานี สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2524 บนพื้นที่ 140 ไร่ มีสายการผลิต 7 สาย รวมถึงสายการผลิตเครื่องดื่มแบบกระป๋องที่มีความเร็วที่สุดในโรงงานผลิตเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องในประเทศไทย สามารถผลิตได้ถึง 2,000 กระป๋องต่อนาที”

 

  

เป้าหมาย 3 เสาหลัก
โคคา-โคล่า ฟื้นฟูธรรมชาติ

ขณะที่ 3 เสาหลักในการบริหารน้ำของ โคค่า-โคล่า เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ ประกอบด้วย

1. น้ำ หัวใจสำคัญในทุกการผลิต บริหารจัดการน้ำด้วย 3R ลดการใช้น้ำ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และการบำบัด (Recycle) โดยน้ำนวัตกรรมแอปพลิเคชันคนไทย 'บำรุง' มาคำนวณการใช้น้ำให้​มีประสิทธิภาพ พร้อมวางแผนใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ติดตั้งระบบ Membrane Bio Reactor และ​ R.O. (Reverse Osmosis) เพื่อบำบัดน้ำเสียให้สะอาดตามมาตรฐานและน้ำกลับ มาใช้ใหม่ ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต อาทิ กิจกรรมลดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาด เป็นต้น การบริหารจัดการทรัพยากการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้​ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2563 -2566) สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 907 ล้านลิตร หรือเทียบเท่าสระว่ายน้ำโอลิมปิก 363 สระ

 2. แก้วิกฤติสภาพภูมิอากาศ สร้างกระบวนการผลิตลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด ไทยน้ำทิพย์ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงงานทั้ง 5 แห่ง ได้แก่โรงงานรังสิต ปทุมธานีนครราชสีมา ขอนแก่น ทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้าสะอาดได้ในอัตราส่วน 10% ที่ใช้ในโรงงาน โดยตั้งเป้าเพิ่ม 15-30% ผ่านการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ว่าง​ อีกทั้งยังดึงนวัตกรรม EV Forklift​ มายกสินค้าในคลัง ​ตลอดจน นำรถจนส่ง EV Truck​ มาใช้ในการจัดการการขนส่ง พร้อมนำระบบ Telematics มาใช้เพื่อช่วยลดทั้งการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และกล้อง AI ช่วยมอนิเตอร์ความเสี่ยงของพฤติกรรมการขับขี่ เพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงานขับรถ​ ซึ่งลดการใช้พลังงานในปี 2566 ได้ 34.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

3.บรรจุภัณฑ์ หมุนเวียน ลดปริมาณพลาสติก (Reduce) ในบรรจุภัณฑ์ผ่าน​การ lightweight โดยยังคงรักษาคุณภาพและความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ ​ทำให้ไทยน้ำทิพย์สามารถลดการใช้เม็ดพลาสติกลงได้กว่า 7,645 ตัน มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สามารถนำไปรีไซเคิล (Recycle) ได้ 100% เปลี่ยนขวดสไปรท์สีเขียวเป็นสีใส และภายในปี 2568 สามารถนำชิ้นส่วนที่ถูกนำมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ กลับมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ต่อไป 50% ไทยน้ำทิพย์สนับสนุนการจัดเก็บ รีไซเคิลขวดและกระป๋อง (Collection & Recycling) เพื่อนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต (Close Loop) โดยเฉพาะในกลุ่มขวด PET ที่สามารถเก็บกลับได้มากกว่า 50% ที่จำหน่าย ซึ่งมีแผนงานในการเพิ่มสัดส่วนการใช้บรรจุภัณฑ์ (rPET) ในทุก ๆ ปี