ก้าวสู่การดำรงอยู่บนโลกอย่างมีคุณภาพชีวิต ด้วยสิทธิเสรีภาพการเลือกเกิด หรือ ลาโลกตามใจสั่งผ่านเทคโนโลยี

by ESGuniverse, 10 กันยายน 2567

เราสั่งไก้าวเข้าสู่โลกที่ชีวิตด้ เทคโนโลยีทางเลือกออกแบบ วัฏจักรวงเวียนชีวิตเกิด เจ็บ ตายตามใจเรียกร้อง สิทธิเสรีภาพการใช้ชีวิตบนโลกที่ลิขิตได้เอง

 

เราทุกคนล้วนต้องผ่าน การ เกิด-เจ็บ-ตาย เป็นวัฏจักรชีวิต ขณะที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาเป็นส่วนช่วยประคองหนึ่งชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาให้สามารถลืมตาสู่โลกได้อย่างปลอดภัย ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้สั้นลงและวินิจฉัยโรคอย่างแม่นย่ำมากขึ้น

คำถามต่อมาในเรื่องของความตาย สังคมเรามีมุมมองกับความตายและผู้ที่จะต้องจากไปอย่างไร อาจสังเกตได้จากการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ที่มาไกลถึงช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตที่เราควรออกแบบและเลือกได้เอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้กำลังจะเกิดขึ้นและมีแนวโน้มให้เราพูดคุยกันถึงเรื่องนี้ต่อไประยะยาว

 

 

 

รศ.ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ คณะบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ในงาน Sustrends 2025 ว่าสังคมนิยมทำให้การเรียกร้องสิทธิที่พึงได้รับและเสรีในความคิดมีมากขึ้น ในเรื่องของประเด็นแรก


การเกิด ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ไม่ถึง 5 แสนคนต่อปี ซึ่งน้อยมากหากเทียบกับจำนวนประชากรในประเทศ เรียกได้ว่ากำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนเด็กเกิดใหม่ หรือ ‘baby bust’ ดังนั้นรัฐบาลจึงพยายามที่จะกระตุ้นให้คนมีการเกิดมากขึ้น ส่วนคนรุ่นใหม่มีลูกเฉลี่ยแค่ 1-2 คน และมีลูกได้จริงน้อยกว่านั้น ตามมาด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ความพร้อมในการมีบุตรของผู้หญิงช้าลงและเผชิญภาวะการมีบุตรยากในคู่ชาย-หญิงที่ต้องการมีบุตรด้วยเช่นกัน


มองมุมกลับปรับมุมมอง ไม่ใช่เปลี่ยนใจคนที่ไม่อยากมี แต่ทำให้คนที่อยากมีลูก ต้องได้มี

มองในเรื่องของเหตุและผลว่า สิทธิการเจริญพันธุ์ (Reproductive Rights) จะถูกเรียกร้องมากขึ้นในอนาคตให้ง่ายต่อการเข้าถึงการอุ้มบุญและฝากไข่ ในกลุ่มของผู้ที่อยากมีบุตรซึ่งไม่เพียงแค่เพศชาย-หญิง แต่รวมถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีความพร้อมที่จะมีบุตรมากถึง 42 %

“ต้องให้สิทธิทุกคนมากขึ้น คือสิทธิที่จะให้ความหลากหลายทางเพศมีบุตร ซึ่งก็สอดคล้องกับการมีพรบ.สมรสเท่าเทียม และพรบ.อุ้มบุญ ปี 2558 ไอเดียแบบนี้จะช่วยแก้ปัญหาการเกิดได้ ด้วยเทคโนโลยี และแน่นอนว่าในอนาคตการเกิดแบบธรรมชาติจะมีน้อยลง การเกิดโดยพึงพาเทคโนโลยีจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ”

รศ.ดร.นพพล อธิบายต่อประเด็นที่สอง เรื่องการเจ็บป่วยจะมีความเท่าเทียมมากขึ้น จากเทรนด์ person alive หรือ Customized program การดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล ซึ่งทางการแพทย์สามารถออกแบบการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์จากพันธุกรรม เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างเฉพาะเจาะจงตามความเหมาะสม แทนการจ่ายยาที่แบ่งตามโรค ซึ่งในปัจจุบันบันถูกจำกัดอยู่กับโรงพยาบาลเอกชนที่มีราคาแพง

อยากเกิดต้องได้เกิด อยากตายต้องได้ตาย เมื่อสิทธิทางร่างกายเป็นเรื่องส่วนบุคคล

เชื่อมโยงถึงประเด็นที่สาม การตาย เทคโนโลยีและเสรีภาพในประเทศไทยในปัจจุบันทำให้เราสามารถเตรียมตัวตาย ผ่าน ‘สมุดเบาใจ’ 

https://peacefuldeath.co/activities/baojai/

 

 

 

 

เครื่องมือสำรวจและแสดงเจตนาล่วงหน้า ตามมาตรา 12 ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ระบุว่า บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนา ‘ไม่ประสงค์’ จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ซึ่งแนวโน้มของการผลักดันทางเลือกของการตายให้เป็นนโยบายสาธารณะในประเทศไทย ยังมีในเรื่องของการขอการุณยฆาตโดยแพทย์ (Physician-assisted Suicide : PAS) และการฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (physician-assisted suicide)

ทั้งสองเรื่องนี้ยังไม่มีและไม่ถูกรับรองโดยประเทศไทย ทั้งที่จริงเทคโนโลยีนี้มีแล้ว เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ แคนาดาและเบลเยี่ยม จากประเด็นที่ทุกประเทศกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ผู้สูงวัยเหล่านั้นมีข้อกำหนดบางอย่างมีชีวิตในแบบที่พึ่งพาตัวเองได้ยาก หรือแม้กระทั่งเรื่อง โสด ป่วย เหงา รวมทั้งไม่อยากเป็นภาระให้บุคคลอื่น สุดท้ายคนจะหันมาผลักดันเรื่องนี้มากขึ้น จนทำให้ 3 ประเด็น เกิด-เจ็บ-ตาย มีเทคโนโลยีรองรับที่ทุกคนเข้าถึงได้ตามความต้องการ

“สิ่งที่เราสามารถจัดการได้ในฐานะที่เป็นประชาชน ไม่ใช่เรื่องของการควบคุมเทคโนโลยีแต่เป็นการรับรู้ว่าสิทธิของเราอยู่ตรงไหน”

ทิ้งท้าย รศ.ดร.นพพล ชวนเรารู้เท่าทัน มองซ้ายขวา เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาทำให้เรามีสิทธิอย่างเท่าเทียม จะมีสิ่งใดมาจำกัดหรือไม่ เพราะถ้าปล่อยให้เกิดการอุ้มบุญจะเกิดการค้ามนุษย์หรือไม่ หากรักษาโรคด้วยพันธุกรรมเกิดขึ้นจะเกิดการขายข้อมูลหรือไม่ และถ้าปล่อยให้เกิดการการุณยฆาตจะเกิดการให้คนตายโดยไม่สมัครใจไหม

ทั้งนี้เราอาจต้องฝากให้เป็นภารกิจของผู้ที่สามารถครอบครองเทคโนโลยีเหล่านี้และภาครัฐไม่ปล่อยให้มีช่องโหว่เกิดขึ้น เพื่อให้เราก้าวสู่การมีคุณภาพชีวิตแบบยั่งยืนไปพร้อม ๆ กับคนรอบข้างในอนาคต

เครดิตภาพจาก : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Peaceful Death