บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ ปรับกลยุทธ์สีเขียวเผยยุติลงทุนเพิ่มถ่านหิน ลงทุน 500 ล้านบาท ซื้อโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มเสริมพอร์ต พร้อมขับเคลื่อน CCS เป้าหมายเพิ่ม เดินหน้าเปลี่ยนผ่านสู่นิเวศพลังงานสะอาดครบวงจรในปี 2573
ยุคที่ บมจ. บ้านปู เพาเวอร์ ไม่ได้หารายได้จากเหมืองถ่านหิน เพราะโลกไม่ยอมรับ ถือเป็นกลุ่มพลังงานที่สกปรกที่สุด แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันทั่วโลก ยังมีโครงสร้างการใชัพลังงานถ่านหินสัดส่วนประมาณ 40%
เวทีข้อตกลงสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP(Conference of the Parties) เป็นการประชุม โดย COP 26 ที่กลาสโกว์ จนมาถึง COP28 ดูไบ ได้ให้คำมั่นสัญญาชัดเจนเกี่ยวกับเส้นทางการมุุ่งสู่การยกเลิกการใช้ถ่านหิน มีประเทศสมาชิกภาคีกว่า 60 ประเทศ ที่ร่วมทำสัญญาปรับปรุงและลดการใช้ถ่านหิน ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573) พร้อมกันกับมีธนาคารรายใหญ่เริ่มหยุดการจัดหาเงินทุนสนับสนุนพลังงานถ่านหินใหม่ ตั้งแต่สิ้นปี 2564 แต่ยังมีหลายประเทศที่ยังคงใช้ถ่านหิน ไม่ได้เข้าร่วมข้อตกลงงดใช้ถ่านหิน
บ้านปู เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายถ่านหินรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้ปิดตัวไปตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2551 เนื่องจากปริมาณถ่านหินสำรองหมดลง ขณะเดียวกันมีการขยายการลงทุน 8 ประเทศ ประกอบด้วย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศมองโกเลีย ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ความเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการพลังงานโลกนั้นไม่เหมือนเดิม ทำให้ บ้านปูเพาเวอร์ฯ จะต้องปรับกลยุทธ์ใช้ประสบการณ์ที่ไปลงทุนเหมืองในหลากหลายประเทศเป็นเวลา 40 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนผ่านตัวเองให้เป็นต้นกำเนิดพลังงานที่โลกยังต้องการ
โดยเฉพาะในปีนี้มีการเปลี่ยนผ่านกลุ่มผ้บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งทีมผู้บริหารรุ่นใหม่ นำทัพทศวรรษที่ 5 ก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านอนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน ภายใต้กลยุทธ์ “Greener & Smarter” เพิ่มธุรกิจสีเขียว พร้อมกันกับนำเทคโนโลยีมาเสริมประสิทธิภาพ ที่เน้นการดำเนินธุรกิจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ควบคู่ไปกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาด ไปพร้อม ๆ กับเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจให้สอดคล้องกับเทรนด์พลังงานรูปแบบใหม่ ซึ่งประกอบด้วย
-การกระจายตัวการผลิตและจำหน่ายพลังงานแบบไม่รวมศูนย์ (Decentralization)
-การใช้พลังงานที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization)
-การใช้เทคโนโลยีดิจิตอล (Digitalization) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในปี 2567 และทิศทางในการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว ภายใต้กลยุทธ์ธุรกิจเดียวกันกับบริษํทแม่ บมจ. บ้านปู Greener & Smarter ว่า บ้านปูเติบโตมาจากธุรกิจถ่านหิน ซึ่งในปัจจุบันได้หยุดลงทุนไปแล้ว เหลือเพียงโรงงานผลิตที่มีอยู่ซึ่งกระจายไปในต่างประเทศ อินโดนีเซีย จีน และออสเตรเลีย ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ จะต้องมีการบริหารจัดการปรับปรุงประสิทธิภาพกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี ในการเพิ่มคุณภาพด้านพลังงาน ลดการปล่อยคาร์บอน พร้อมกันกับการพัฒนาจัดหาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (CCUS- Carbon Capture Utilization and Storage) เพื่อช่วยให้โรงงานที่ใช้อุตสาหกรรมหนัก ไม่เป็นผู้ร้าย ปลดปล่อยมลพิษ ไปพร้อมกันกับการลงทุนในพลังงานทางเลือก (Renewable Energy) ที่กลุ่มธุรกิจได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
ซื้อโรงไฟฟ้าก๊าซฯ สหรัฐ เสริมพอร์ตปั้นกำไร
พร้อมCCUS รับโอกาสไฟฟ้าลดคาร์บอน
ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด ตอบสนองธุรกิจสีเขียว ในอนาคต บ้านปู เพาเวอร์ฯ จึงมุ่งเน้นการลงทุนด้านพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการเปลี่ยนผ่าน โดยสะท้อนจากการไปลงทุนเข้าซื้อกิจการโรงไฟ้าก๊าซธรรมชาติ ในสหรัฐอเมริกา โรงไฟฟ้า TempleII ในปีที่ผ่านมา ต่อเนื่องจากการเข้าซื้อ Temple I ในปี 2564 ทำให้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสร้างผลดำเนินงานในปี 2566 เติบโตเพิ่มกำไร ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม(EBIDA) รวมมูลค่า 12,262 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยกำไรสุทธิอยู่ที่ 5,319 ล้านบาท ทำให้ภายในกลางปีนี้จะมีการปิดดีลอีก 1 โรงไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจา
สำหรับ แรงขับเคลื่อนอีกด้าน ที่จะเป็นมิติใหม่ แห่งโอกาสก้าวสำคัญในการลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่าน คือการลงทุนด้านเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน หรือ CCUS หลังจากได้รับการสนับสนุนการลงทุนจาก (Subsidy) ผ่านกฎหมายลดอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Reduction Act) ซึ่งกลุ่มบ้านปู ถือเป็นรายแรก ๆ ในเท็กซัส ที่จะสร้างโอกาสในการบริหารจัดการขายไฟฟ้าพร้อมกันกับ CCUS ต่อยอดธุรกิจโรงไฟฟ้าในอนาคต ที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission)
ก้าวสู่ ระบบนิเวศพลังงานสะอาดครบวงจร ปี 2573
ในขณะเดียวกัน ด้านการเตรียมเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน หรือ พลังงานสะอาด (Renewable) ที่ลงทุนมายาวนาน โดยบมจ. บ้านปู เพาเวอร์ ถือหุ้น 50% ในบ้านปู เน็กซ์ จำกัด มีการลงทุนพลังงานสะอาด กระจายอยู่ในกลุ่มเประเทศที่เข้าไปลงทุน ประกอบด้วย
-จีน มีฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) 89 เมกะวัตต์ (MW) , พลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคา (Solar Rooftop) 66 MW,
-ญี่ปุ่น โซลาร์ฟาร์ม 73 MW , โซลาหลังคา 1MW
-เวียดนาม โซลาร์ฟาร์ม 19 MW, พลังงานลม (Wind) 59MW , โซลาบนหลังคา 20MW
-สหรัฐอเมริกา โซลาร์ฟาร์ม 1 MW
-อินโดนีเซีย โซลาร์บนหลังคา 3MW
-ออสเตรเลีย โซลาร์ฟาร์ม 17MW
-ไทย โซลาบนหลังคา 25 MW, โซลาร์ลอยน้ำ 24 MW
เป้าหมายพลังงานสะอาดเพิ่ม 11% เป็น 17% ในปี 2568
ทั้งนี้ มีการตั้งเป้าหมาย กำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 สัดส่วน 11% กำลังการผลิต 395 MW เป็นสัดส่วน 17% กำลังการผลิต 800 MW ในปี 2568 จากภาพรวมกำลังการผลิตไฟฟ้าปัจจุบัน 3,247 MW เพิ่มเป็น 4,500 MW ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นการผลิตจากพลังงานความร้อนร่วม (HELE & Thermal)
“ภายใน 3-4 ปีข้างหน้า ธุรกิจบ้านปุ จะมีภาพของพลังงานสีเขียวเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของพลังงานสะอาดจะเพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 11% ในปี 2566 เป็นสัดส่วน 17% ภายในปี 2568 “
สำหรับเป้าหมายระยะยาว ธุรกิจพลังงาน ภายใน 7 ปีข้างหน้า หรือ ปี 2573 จะมีการหลอมรวมระบบนิเวศด้านพลังงานสะอาดอย่างครบวงจร โดยมีทั้งโซลาร์ฟาร์ม โซลาร์ลอยน้ำ และโซลาร์บนหลังคา มีการพัฒนา แบตเตอรี่ และ ระบบกักเก็บพลังงงาน ( BESS -Battery Energy Storage System Solution) , มีการพัฒนาการบริการบริหารจัดการเมืองและพลังงานอัจฉริยะ มีการค้าขายพลังงาน และมีการบริการขนส่งพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย MUVMI, HAUP, FOMM Beyond Green, จุดชาร์จไฟฟ้า Evolt และปรับเปลี่ยนแบตเตอรี่ OYIKA
“ในพอร์ตฟอลิโอบ้านปู เพาเวอร์ มีความหลากหลายของแหล่งพล้งงานเชื้อเพลิง โดยการเปลี่ยนผ่านเพื่อก้าวไปข้างหน้า สิ่งสำคัญในเวลานี้คือ พลังงานไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ เป็นตัวขับเคลื่อนช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสีเขียว เพราะต้องยอมรับความจริงว่าอาจจะไม่ใช่ทุกภูมิภาคในโลกนี้ที่จะเริ่มต้นพรุ่งนี้เป็นสีเขียวเลย 100% เพราะแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างในการเข้าถึงเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ รวมถึงราคาที่ประชาชนในประเทศจะจ่ายได้ ดังนั้นการเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้า Temple I และ II ในสหรัฐ จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เสริมศักยภาพทำรายได้ให้กับธุรกิจ ”
นอกจากนี้ยมีการลงทุนในบริษัท เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (SVOLT Thailand) ธุรกิจแบตเตอรี่และเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ครบวงจร (Battery & Energy Storage System Solution) เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงมีการเข้าไปลงทุนโครงการฟาร์มแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ กำลังกักเก็บพลังงานไฟฟ้า 58 เมกะวัตต์ ที่เมืองโตโนะ (Tono) จังหวัะ อิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงร่วมกันพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศไทย โรงงานตั้งอยู่ในจ.ชลบุรี กำลังการผลิต 2 กิกะวัตต์ชั่วโมง
“ในธุรกิจขนส่งเป็นหนึ่งหัวใจสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนผ่าน เพราะเป็นสาเหตุหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั่วโลกจึงต้องตื่นตัว เปลี่ยนมาลดการการพึ่งพาน้ำมัน เมืองไทยมีข้อได้เปรียบตรงที่ คนใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสของบ้านปูในการเข้าไปร่วมทุน ทำโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ส่งให้กับอุตฯยานยนต์”
ด้วยการดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์ Greener & Smarter ที่เน้นการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ควบคู่ไปกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาด ไปพร้อม ๆ กับเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจให้สอดคล้องกับเทรนด์พลังงานรูปแบบใหม่ โดยมีการวางรูปแบบการบริหาร 3 ด้าน ประกอบด้วย
1.การกระจายตัวการผลิตและจำหน่ายพลังงานแบบไม่รวมศูนย์ (Decentralization)
2.การใช้พลังงานที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization)
3.การใช้เทคโนโลยีดิจิตอล (Digitalization) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร ระบบจัดเก็บพลังงาน และระบบการจัดการเทคโนโลยีพลังงาน) ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของผู้บริโภค ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตั้งกรรมการESG วางยุทธศาสตร์ลงทุนสู่การเติบโตสีเขียว
ทั้งนี้ บ้านปู เพาเวอร์ ยังได้แต่งตั้ง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และ การกำกับดูแลกิจการ (ESG Committee) ซึ่งทำหน้าที่ในการพิจารณาทิศทางและนโยบาย ESG ของ บริษัทฯ และทำงานร่วมกับฝ่ายบริหาร เพื่อทำให้ทิศทางการขับเคลื่อนธุรกิจมีการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน