แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ ลดคาร์บอน เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงองค์กรไม่ดำเนินธุรกิจส่งผลกระทบต่อโลก หลายองค์กรเริ่มต้นจาก ภายในองค์กร(Scope1), การใช้พลังงานในการผลิตขอบเขตที่ 2 (Scope2)
ในปีนี้จะเริ่มมีการขยายไปสู่ห่วงโซ่การผลิต (Supply chain) ที่เกี่ยวข้องกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งเป็นความท้าทายกับการต้องรายงานภาวะการติดตามการปล่อยคาร์บอน (Carbon Footprint) ในภาคธุรกิจ วัตถุดิบ และคู่ค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
ในปัจจุบัน จะเริ่มเข้าไปพิจารณาตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 3 (Scope 3 emissions)
โดยการปล่อยก๊าซใน Scope3 ปัจจุบันยังอยู่ระดับภาคสมัครใจ
แต่กระบวนการวัดจะเริ่มเข้นข้นขึ้น เพื่อพิสูจน์ว่าธุรกิจมีการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอนไม่ส่งผลกระทบต่อโลก จึงจะเริ่มเพิ่มระดับความเข้มข้นในการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของบริษัทมากขึ้น อาทิ การวิธีการส่งสินค้า การใช้วัตถุดิบในการจำหน่าย
ทั้งนี้ ต้องยอมรับขอบเขตของ Scope3 มีสัดส่วน 90% ของกระบวนการผลิตมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่จะต้องมีการรวบรวมข้อมูลในการจัดทำรายงานการติดตาม Carbon Footprint
นี่คือ ปัญหาหลักของบริษัทที่ทำให้ Scope 3 มีการบรรลุการลดการปล่อยก๊าซได้ 100% เพราะมีความยุ่งยากและซับซ้อนในการจัดทำการตรวจสอบซัพพลายเชน การส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะแหล่งที่มาของวัตถุดิบ พันธมิตร การขนส่ง เข้ามาเกี่ยวข้องมีความหลากหลาย
จึงถึงเวลาที่จะต้องจัดวางระบบการติดตามตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับ Scope จะต้องขึ้นมาอยู่ในภาคบังคับ โดยมีเหตุผลดังนี้ คือ
1. สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทมีการรับผิดชอบต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งหมด
2. มีความง่ายในการติดตามประสิทธิภาพ การติดตาม Carbon Footprint เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ชัดเจน
3. กระตุ้นให้ภาคธุรกิจหาวิธีบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 emissions
4. ทำให้สามารถเข้าไปติดตามตรวจสอบ และระบุจุดที่มีการปล่อยคาร์บอนสูงได้ชัดเจนขึ้น
5. ทำให้บริษัทตั้งเป้าหมายเร่งอัตราการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น
6. ทำให้มีฐานข้อมูลในการปล่อยก๊าซชัดเจน มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส และมีความรับผิดชอบ
7.ทำให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Carbon Footprint ที่กำลังมีการเพิ่มมาตรการเพื่อบังคับใช้
มีหลายสิ่งที่เป็นความท้าทายของผู้ติดตาม Scope 3 เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ
– ความซับซ้อนในการเก็บข้อมูลจากผู้จัดจำหน่ายและผู้ส่งออกอื่น ๆ
– การประมาณการปล่อยก๊าซจากบางกิจกรรม อาจมีความยากลำบากในการประเมิน
– ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการติดตาม Scope 3 emissions
ข้อจำกัดที่เป็นความท้าทายของผู้ติดตามScope 3 เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ
– ความซับซ้อนในการเก็บข้อมูลจากผู้จัดจำหน่ายและผู้ส่งออกอื่น ๆ
– การประมาณการปล่อยก๊าซจากบางกิจกรรมอาจมีความยากลำบากในการประเมิน
– ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการติดตาม Scope 3 emissions
อย่างไรก็ตาม แม้เป็นความยุ่งยากในการติดตาม และการดำเนินการวัดผลในซัพพลายเชนที่มีความซับซ้อน ทำให้เพิ่มต้นทุน จากการหาเครื่องมือในการเข้ามาช่วยติดตามรายงานให้เกิดการยอมรับในระดับมาตรฐานสากล และมีความโปร่งใส
ทว่า สิ่งเหล่านี้ถือเป็นมาตรการที่จะเข้ามามีส่วนในการดำเนินการธุรกิจที่ทำให้ธุรกิจได้รับการยอมรับจากคู่ค้าในระดับสากล คู่ค้าอยากคบหาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเฉพาะตลาดที่มีกำลังซื้อ
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มต้นเตรียมพร้อมการทำธุรกิจกับคู่ค้าเหล่านี้ จึงต้องมีการวางระบบตรวจสอบการติดตามการปล่อยคาร์บอน (Carbon Footprint) ในทุกระดับให้ชัดเจน ก่อนที่จะถูกนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการบังคับใช้
ที่มา -https://lnkd.in/dU-sHecy