กระบวนการทำ ESG เส้นทางสู่ความยั่งยืน

กระบวนการทำ ESG เส้นทางสู่ความยั่งยืน


เราผ่านปี 2566 ด้วยเมกะเทรนด์ คำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ การทำธุรกิจยั่งยืน (Sustainability) และ ”ESG” การทำธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำถึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรรมาภิบาล กันหนาหูมากขึ้น

 

 

องค์กรขนาดใหญ่เป็นกลุ่มแรกที่ต้องทำ ESG เพื่อสร้างความยั่งยืนได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ธุรกิจไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น สร้างประโยชน์ ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เพราะธุรกิจมีอนาคตเติบโตยั่งยืน

ผลสำรวจจากหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยพบว่า รูปแบบการลงทุนแบบยั่งยืน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการลงทุนมากขึ้น จึงทำให้ดัชนีชี้วัดด้านความยั่งยืน (Sustainability Index) มีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจ

ทาง สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT) ได้กำหนด 4 ขั้นตอนกระบวนการทำ ESG ให้ผู้ที่กำลังสนใจได้มองเห็นภาพกลยุทธ์ วิธีการ ปลายทางการก้าวไปสู่การทำ ESG พาองค์กรก้าวพ้นการแข่งขันยืนเด่นเป็นธุรกิจยั่งยืนโดยไม่ต้องแข่งขันกับใคร

1.ทำแผน (Mapping)

     -พิจารณาว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร มีความเสี่ยงอะไรกับธุรกิจ
     -ระบุให้ได้ว่าจุดอ่อนจุดแข็ง ความพิเศษขององค์กรคืออะไร
     -เปรียบเทียบการดำเนินงาน สินค้าและบริการ กับองค์กรอื่น อย่างสม่ำเสมอ และรอบคอบ

2.กำหนดรูปแบบ (Defineing)

     -เลือกว่าจะพัฒนารูปแบบก้าวกระโดด (High Jump) หรือ พัฒนาในระยะยาว (Long Jump)
กรณีศึกษาของ วอลมาร์ท (Walmart) มีเครือข่ายซัพพลายเออร์ ที่แข็งแกร่งตั้งเป้าหมายทำ ESG ทั้งห่วงโซ่อปทานระยะยาวแบบ Long Jump
     -คิดอย่างเป็นระบบว่าองค์กรจะได้หรือต้องเสีย (Trade-offs) อะไรบ้าง จากการทำ ESG
     -วัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ให้ความสำคัญกับ KPI ด้านความยั่งยืน

3.ฝัง ESG เข้าไปในองค์กร (Embedding)

ผสาน ESG เข้าไปกับการดำเนินงานส่วนต่าง ๆ ขององค์กร เรียกว่า กลยุทธ์ 5 P สู่ความยั่งยืน
     -Portfolio Strategy and Product ผสานกับกลยุทธ์การลงทุนและการผลิตสินค้า
     -People and Culture ผสานในการขับเคลื่อนคนและวัฒนธรรมองค์กร
     -Process and System ผสานกระบวนการและระบบ
     -Performance Metrics ผสานในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงาน
     -Positions and Engagement ผสานในจุดยืนและการมีส่วนร่วม
หลังจากวางแผนเหล่านี้แล้วต้องมีการติดตามความคืบหน้า เพื่อให้แน่ใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น แยกให้ออกว่าตัวชี้วัดหรือการจัดอันดับเกี่ยวข้องกับการทำ ESG หรือไม่

4.สร้างการมีส่วนร่วม (Engaging)

สื่อสารการดำเนินการด้านESG เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กรณีศึกษา
Dick’s Sporting Goods ยอมยกเลิกธุรกิจการขายอาวุธปืนในปี 2018 ส่งผลทำให้ยอดขายและราคาหุ้นตก แต่การลดทิ้งธุรกิจที่ส่งผลกระทบกับคนได้สร้างความสัมพันธ์และความรู้สึกดีจากผู้บริโภค จึงเกิดการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผยกับผู้บริโภค พนักงาน นักลงทุน ตามวัตถุประสงค์ ต่อมารายได้และมูลค่าหลักทรัพย์ก็กลับมาดีและสูงกว่าก่อนหน้านี้

     -สื่อสารกับนักลงทุนถึงแผน ESG ที่วางแผนไว้ในธุรกิจ
     -สื่อสารเรื่อง ESG ในจังหวะที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ เมื่อ ESG เป็นหัวใจสำคัญของโมเดลธุรกิจ หากรายงานผลดำเนินงานด้าน ESG ล่าช้า อาจถูกตีความว่าม่ความมุ่งมั่นในเรื่องนี้น้อยเกินไป

 

ที่มา สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT)