CPAC พลิกโฉมวงการก่อสร้าง นวัตกรรมก่อสร้างสีเขียวในปั๊ม PT

CPAC พลิกโฉมวงการก่อสร้าง นวัตกรรมก่อสร้างสีเขียวในปั๊ม PT


CPAC นำนวัตกรรมก่อสร้างสีเขียว Green Solution จับมือ PTG พลิกโฉม ก่อสร้างปั๊มน้ำมัน มุ่งสู่ Low Carbon Construction ตอบโจทย์PTG ผู้ให้บริการปั๊มน้ำมันพีที (PT) ตั้ง “ปั๊มน้ำมันต้นฉบับแบบสีเขียว “ เป็นศูนย์กลาง ไลฟ์สไตล์สีเขียว รองรับเปลี่ยนผ่านลดคาร์บอนสู่บริการพลังงานไฟฟ้า

 

 

 

ในงานเสวนา “Decarbonizing Construction with BIM CPAC Green Solution X PTG Showcase” CPAC ผู้พัฒนานวัตกรรมก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมครบวงจร ร่วมกับ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์แชร์องค์ความรู้กระบวนการบริหารจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระบวนการก่อสร้าง ผ่านการดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันต้นแบบด้านนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้โนโลยีดิจิทัลทั้ง KIT Carbon และ BIM เข้าไปประยุกต์ใช้ “ปั๊มน้ำมันสีเขียว” ตอบโจทย์คาร์บอนต่ำ (Low Carbon Construction)

นายไกรสร สวัสดิ์ไธสง Head of SSHE PTG บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (PTG) กล่าวว่า ถึงแผนการขับเคลื่อนธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามข้อตกลงการประชุม COP21 ที่กรุงปารีสในปี 2015 ที่ประเทศไทยได้ร่วมแสดงเจตนารมย์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้ประกาศเป้าหมายการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065

ทั้งนี้ PTG จึงทบทวนธุรกิจ พร้อมกับประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่ทางองค์กร ซึ่งรัฐบาลได้กระตุ้นให้ภาคเอกชนหันมาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การจัดทำมาตรฐานฉลากคาร์บอน และการเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ซึ่งเป็นภาษีที่รัฐบาลของแต่ละประเทศ จะเรียกเก็บจากผู้ประกอบการและองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูงกว่าเกณฑ์กําหนด เป็นต้น

สำหรับความเสี่ยงทางธุรกิจของPTG มี2 กลุ่ม ที่มีการปล่อยคาร์บอนมากที่สุดคือการขนส่งและสถานีบริการน้ำมัน จึงหาวิธีการจัดการ กับ CPAC Green Solution เพื่อหาวิธีในการบริหารจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระบวนการทำงานก่อสร้าง ตั้งแต่ วิธีการเลือกวัสดุ วิธีการก่อสร้าง และ นำเทคโนโลยี Digital & BIM เข้ามาเพื่อประเมิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการก่อสร้าง ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างด้านอื่นๆ

  

 

นายกีรติ นิติโชติ Construction Business Development Manager บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า โจทย์หลักของ CPAC Green Solution คือหาวิธีการลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการก่อสร้างโดยเลือกปรับวัสดุให้เป็นวัสดุคาร์บอนต่ำ ผ่านแพลตฟอร์ม ใช้เทคโนโลยี Digital & BIM เข้ามาช่วยคำนวน การออกแบบกระบวนการก่อสร้างและการเลือกใช้วัสดุ KITCARBON เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ( KIT Carbon) ช่วยในการคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสมและเก็บข้อมูลการจัดการคาร์บอนของการก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน โดยจัดวางรูปแบบก่อสร้างในระบบ แทนการก่อสร้างในสถานที่จริง เพื่อลดการสูญเสีย (Offsite Construction) ผ่านระบบ

วัสดุดังกล่าวเป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีการขึ้นรูปมาจากโรงงาน และ ยังนำเทคโนโลยี จำลองกระบวนการก่อสร้างในอาคารในรูปแบบดิจิทัล( Building Information Modelling) เพื่อช่วยบริหารจัดการการก่อสร้างเพื่อการวางแผนงานที่ดี ลดการสูญเสีย พร้อมกับ ติดตามประสิทธิภาพ ( BIM SITE Dashboard) ให้เป็นตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ในขั้นตอนของการบริหาร อาคาร เลือกใช้วัสดุที่ช่วยประหยัดพลังงานเพื่อช่วยลดปริมาณคาร์บอนจากการใช้พลังงาน และยังวางแผนว่าในอนาคตจะนำวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้างกลับมาคืนสู่การใช้งานรีไซเคิล (Recycle Aggregate) อีกด้วย

“สำหรับการพัฒนาสถานีบริการน้ำมันต้นแบบด้านนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อมของ PT มีการปรับเรื่องการใช้วัสดุในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Synthetic Fiber แทนการใช้เหล็กเส้นในการทำพื้น ซึ่งนอกจากจะลดคาร์บอนแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานนานขึ้น หรือการเลือกใช้ผนังสำเร็จรูปแทนผนังอิฐมวลเบา ช่วยควบคุมอุณหภูมิในอาคารและลดการใช้ ไฟฟ้าลง จากการวิเคราะห์ของแพลตฟอร์ม พบว่าสามารถลดคาร์บอนที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าลงได้ถึง 10 เท่า นอกจากนี้ การที่เราเลือกใช้การก่อสร้างแบบ cut-to-length ก็ช่วยลดปริมาณเศษเหล็กหน้างานลงอย่างมีนัยยะสำคัญ” นายกีรติกล่าว

นายวีระยุทธ ต่วนพันธ์ล้อม BIM Specialist บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า การนำ BIM มาใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ ช่วยให้แยกการก่อสร้างในแต่ละส่วนออกจากกัน และคำนวนค่าคาร์บอนของวัสดุแต่ละชนิดให้ โดยเราสามารถลองเปลี่ยนวัสดุต่างๆ ใน BIM เพื่อดูค่า Embodied carbon ของวัสดุแต่ละชนิดและเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งานและเกิดคาร์บอนต่ำที่สุดได้ ซึ่งส่งผลให้การพัฒนาสถานีบริการน้ำมันต้นแบบด้านนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อมของ PT ครั้งนี้สามารถลดการเกิดคาร์บอนเมื่อเทียบกับกระบวนการออกแบบและก่อสร้างแบบเดิมประมาณ 8% หรือ 60-70ตันคาร์บอน

นายอิทธิพล ดีมี ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (PTG) กล่าวว่า ด้วยโซลูชันและกระบวนการที่ทาง CPAC Green Solution พัฒนาขึ้นมา สามารถตอบโจทย์ของทาง PTG ได้ครบ ไม่ว่าจะเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุด การลดระยะเวลาก่อสร้างลงจากเดิม 150 วันต่อหนึ่งสถานี เหลือไม่ถึง 120 วัน แรงงานที่ใช้ในการก่อสร้างลดลงจาก 60-70 คนเหลือเพียง 40 คนเท่านั้น ราคาสมเหตุสมผล และคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม

“แม้ว่าตอนแรกจะกังวลเรื่องคุณภาพอยู่บ้าง เนื่องจากมีการเปลี่ยนวัสดุหลายอย่างที่ไม่เคยใช้มาก่อน แต่หลังจากที่เปิดสถานีบริการน้ำมันนี้มา 4-5 เดือน ก็ยังไม่พบปัญหาใดๆ จากความสำเร็จครั้งนี้ เรามุ่งมั่นที่จะจับมือกับ CPAC Green Solutionพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ ในการลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุด และเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้ในที่สุด” นายอิทธิพล กล่าว