ไลอ้อน เปลี่ยนผ่านธุรกิจอายุกว่า 56 ปี บนจุดยืนเป็นกลุ่มสินค้าFMCG ที่ให้คุณค่าอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนESG ในองค์กรท้้งกระบวนการผลิตปล่อยคาร์บอน จนถึงการออกแบบสินค้า 20SKUs นำร่องฉลาดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ลงทุนดิจิทัล ทั้ง IOT, AI วางแผนจัดการพลังงานในโรงงาน
สินค้าอุปโภคบริโภคถือเป็นกลุ่มสินค้าที่เคลื่อนไหวในตลาดรวดเร็ว(FMCG) หนึ่งในการเพิ่มการบริโภคที่มาพร้อมขยะ ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่จะครองความอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน จึงต้องหาตรงกลางระหว่างขายของให้ได้ ผู้บริโภคยังต้องยอมรับ ในขณะเดียวกันไม่ทำร้ายโลก เพิ่มมลพิษและขยะ
ดร. กิตติวัตร โสมวดี รองผู้จัดการบริหารการผลิต บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในไทย ที่อายุกว่า 56 ปี (ก่อตั้งปี 2510) เปิดเผยถึงกลยุทธ์ธุรกิจยั่งยืนว่า ไลอ้อน ประเทศไทย ตอกย้ำนโยบายการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ESG จาก 3 แกนหลักสำคัญ คือ การดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment) การดูแลสังคม (Social) และการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบของการมีธรรมาภิบาล (Governance) เพื่อให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals)
ไลอ้อนได้มีการลงทุนเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้สามารถเข้าสู่เป้าหมาย “คาร์บอนต่ำ” ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 55% ในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ.2573) เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ.2560)และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ.2593)
ทางด้าน เป้าหมายหนึ่งคือ การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน มีเป้าหมายจะใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต 30% ในปี ค.ศ. 2030 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2017
ไลอ้อน ยังได้รับความร่วมมือจากพันธมิตร ช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกหมุนเวียน รวมถึงการใช้วัสดุชีวภาพ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้กับหลายผลิตภัณฑ์ อาทิ บรรจุภัณฑ์ครีมอาบน้ำ “โชกุบุสซึ” ขวดน้ำยาซักผ้า “เปา วินวอช” ที่ใช้พลาสติกที่รีไซเคิลได้ ยังจะมีสินค้าอื่นนอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาร่วมกันกับพันธมิตรพัฒนาบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ เริ่มคิดค้นออกมาในตลาด
นอกจากนี้ ไลอ้อนยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนากระบวนการผลิตที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยปัจจุบันมีสินค้ากว่า 20 SKUs ที่ทำการประเมินและได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of products: CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานไลปอนเอฟ และน้ำยาล้างจานโปร ได้การรับรองฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือ ฉลากลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction: CFR) ของผลิตภัณฑ์นน้ำยาล้างจานเป็นรายแรกของประเทศไทย
สิ่งสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการผลิตให้มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในกระบวนการผลิต คือ การพัฒนาฐานข้อมูลในระบบ ที่จะช่วยนื่องเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน นำเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งระบบ IoT (Internet of things), Machine Learning, และ, AI (Artificial Intelligence) มาใช้ในการวิเคราะห์และควบคุมการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงในส่วนของการใช้พลังงานทดแทน อาทิ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงการดำเนินการเรื่องการชดเชยคาร์บอน (การซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมในองค์กร) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและสอดรับกับการแข่งขันของตลาดในอนาคต