นวัตกรรม “ชักโครก” สุดล้ำ แปลง “ของเสีย” เป็นพลังงานในอาคาร

นวัตกรรม “ชักโครก” สุดล้ำ แปลง “ของเสีย” เป็นพลังงานในอาคาร


จะดีแค่ไหน หากเราสามารถนำ “ของเสีย” หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ในรูปแบบของพลังงานที่ใช้ในที่อยู่อาศัย เรื่องดังกล่าว “Cho Jae-weon” ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและเมือง จากมหาวิทยาลัย Ulsan National Institute of Science and Technology (UNIST) เมืองอุลซัน เกาหลีใต้ มีคำตอบ

 

“Cho Jae-weon” ได้คิดค้นนวัตกรรมการพัฒนา “โถชักโครก” ชื่อว่า “BeeVi” ซึ่งย่อมาจาก “bee and vision” ที่สามารถแปลง “อุจจาระ” ให้กลายเป็นก๊าซ ที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ในอาคารได้ เช่น เตาแก๊ส กาน้ำร้อน และเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์แข็ง (solid oxide fuel cell)

 

วิธีการทำงานของชักโครก “BeeVi” ใช้ระบบปั๊มสุญญากาศส่งต่อ “ของเสีย” ไปยังถังใต้ดินตามธรรมชาติ ซึ่งใช้น้ำน้อยมากเมื่อเทียบกับโถชักโครกแล้วปกติ เมื่อตกถึงถังแล้ว จุลินทรีย์จะทำให้ของเสียแตกตัวเป็นมีเทน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานท่สวนหนึ่งของมหาวิทยาลัย

 

โถชักโครก จะเก็บ “อุจจาระ” จากร่างกายคน 1 คน ในแต่ละวันได้ประมาณ 500 กรัม แปลงเป็นก๊าซมีเทนประมาณได้ 50 เทียบได้กับพลังงานประมาณครึ่งหนึ่งของกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง (0.5 kWh) ซึ่งมากพอที่จะเป็นพลังงานสำหรับขับรถยนต์ไฟฟ้าได้ประมาณ 1.2 กม.

 

นอกจากนี้เขายังได้คิดค้น เงินดิจิทัลที่ชื่อว่า “Ggool” ซึ่งแปลว่า “น้ำผึ้ง” แต่ละคนที่ใช้ห้องน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะได้รับ 10 Ggool ต่อวัน ซึ่งสามารถนำใช้จ่ายซื้อของเช่น กาแฟ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลไม้ และหนังสือภายในมหาวิทยาลัย โดยการสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อจ่ายเงินดังกล่าว

 

 

“ถ้าเราคิดนอกกรอบแล้ว อุจจาระ ที่เป็นของเสีย ก็สามารถกลายเป็นสิ่งที่ล้ำค่าในการสร้างพลังงาน ซึ่งผมได้ใส่คุณค่านี้ ไว้ในส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียนในระบบนิเวศ” “Cho Jae-weon” กล่าว

 

ที่มา : Reuters