พระพุทธโฆษาจารย์ “ประยุทธ์ ปยุตฺโต” “สมเด็จ” รูปแรกในรัชกาลที่ 10

พระพุทธโฆษาจารย์ “ประยุทธ์ ปยุตฺโต” “สมเด็จ” รูปแรกในรัชกาลที่ 10

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) นับเป็นพระสุปฏิปัณโณที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่ง ท่านเป็นพระที่ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย
สมถะ มีวัตรปฏิบัติที่อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ได้มีตำแหน่งทางการปกครองอื่นใด
นอกเหนือจากเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน
แต่กลับได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะในครั้งนี้ ได้สร้างความประหลาดใจในวงการสงฆ์

ขณะเดียวกันมีเสียงตอบรับแซ่ซ้องว่าท่านคือผู้ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง
เพราะนอกจากวัตรปฏิบัติที่งดงามแล้ว ท่านยังเป็นนักคิดนักเขียนที่มีผลงานมากมาย
เป็นพระนักปราชญ์สำคัญในพระพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องทั้งในประเทศและทั่วโลก มีผลงานโดดเด่นด้านพระพุทธศาสนาและได้รับการประกาศเกียรติคุณมากมาย

ท่านมีนามเดิมว่า
ประยุทธ์ อารยางค์กูร หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามปากกา “ป.อ. ปยุตฺโต”
เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม
2481 ที่ตลาดใต้ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลครูเฉลียว
ตลาดศรีประจันต์ ปี 2487 และระดับประถมที่โรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์
(วัดยาง) จ.สุพรรณบุรี ปี 2488-2490 ชั้น ม.1-3 ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา
กรุงเทพฯ โดยได้รับทุนเรียนดีของกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2490-2493

บรรพชาเป็นสามเณร
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2494 ที่วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เมื่ออายุย่าง 13 ปี สอบได้นักธรรมชั้นตรี โท เอก และเปรียญธรรม 3 ถึง 9 ประโยค
ขณะยังเป็นสามเณร
จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในฐานะนาคหลวง ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้รับโอกาสเช่นนี้

เมื่อจบการศึกษาขั้นปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต
(เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสอบได้วิชาชุดครู พ.ม.

ส่วนงานด้านศาสนกิจ
ปี 2507-2507 เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ และรองเลขาธิการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
(มจร.) อาจารย์สอนในชั้นปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต ของ มจร.
, ปี 2515-2519 เจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์, ปี 2515
บรรยายวิชาพุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทยที่
University Museum, University of
Pennsylvania,
ปี 2519-2521 บรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาที่ Swarthmore
College, Pennsylvania,
ปี 2524 ได้รับอาราธนาเป็น Visiting
Scholar
ที่ Center for the Study of World Religions และบรรยายวิชาการทางพุทธศาสนา สำหรับ Divinity Faculty และ Arts Faculty ที่ Harvard University

และปี 2537-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน
ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบัน อาทิ
พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มจร.
, ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(สาขาปรัชญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
, ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(สาขาหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
, อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
, ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(สาขาภาษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล
, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาปรัชญาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
, ตรีปิฎกอาจารย์กิตติมศักดิ์
(สาขาปรัชญา) นวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
, ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้รับประกาศเกียรติคุณและรางวัลจำนวนมาก
อาทิ ปี 2525 ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
ในการฉลอง 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
, ปี 2532
รับพระราชทานโล่รางวัล “มหิดลวรานุสรณ์”
, ปี 2533
รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา
, ปี 2537 รางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพจากองค์การยูเนสโก (UNESCO
Prize for Peace Education),
ปี 2538 สถาบันนวนาลันทา ประเทศอินเดีย
ถวายตำแหน่ง “ตรีปิฎกอาจารย์” หมายถึงอาจารย์ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก

ปี
2544 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น “ศาสตราจารย์พิเศษ”
ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
, ปี 2547
มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก ถวายตำแหน่ง “เมธาจารย์”
 (
Most Eminent Scholar) ในฐานะนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาสายเถรวาท,
ปี 2549 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น “ราชบัณฑิต
(พิเศษ)” เป็นต้น

นับว่า
“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)” เป็น “สมเด็จพระราชาคณะ” รูปแรก
ในรัชสมัย “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10”

ที่มา : Thaiquote 

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค Thaiquote.org

ทวิตเตอร์ @ThaiQuoteORG

สนใจลงโฆษณาติดต่อด่วน [email protected]

โทรศัพท์ 022463270