ล่าสุดถูกเสนอเป็นรายงานโดย
นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน ด้วยเหตุผลที่ว่าการสร้างเขื่อนแม่วงก์นั้นจะมีน้ำไว้สนับสนุนพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน
301,900 ไร่ ฤดูแล้ง 126,545 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด 6 อำเภอ 23 ตำบล 127
หมู่บ้าน โดยประชาชนจะได้รับประโยชน์
13,749 ครัวเรือน ทั้งนี้ภายหลังนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงเกษตรฯนำโครงการดังกล่าวไปศึกษาเพื่อหาข้อสรุปต่อไป
นายสุเทพ
น้อยไพโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม
2498 ประวัติการศึกษา ป.ตรี
สาขาบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการงานก่อสร้าง) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปี
2526, วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมชลประทาน)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) 2542 ป.โท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
(วิศวกรรมชลประทาน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2549
นอกจากนี้ยังจบหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร
ภาครัฐเอกชนและการเมือง (วปม.) รุ่นที่ 6 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นอย่าง พล.ต.ท.
เดชา ช่วยบุญชุม ผู้ช่วย ผบ.ตร. , นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ , นายวุฒิชัย ดวงรัตน์
รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ และ ร.ต.อ.
นิติภูมิ นวรัตน์
สำหรับเส้นทางการทำงานนั้น
เข้ารับราชการในกรมชลประทานตั้งแต่ปี 2520 เป็นรองอธิบดีกรมชลประทานฝ่ายบำรุงรักษาในปี
2554 และขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทานในเดือนตุลาคม
2558
อย่างไรก็ตามหากการศึกษาโครงการเขื่อนแม่วงก์ปรากฏผลที่เป็นประโยชน์มากกว่าส่วนเสีย
และมีการอนุมัติโครงการให้ก่อสร้างเชื่อว่าชื่อของอธิบดีกรมชลประธานคงจะได้รับการจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์อย่างแน่นอน
ที่มา thaiquote