อีกประมาณ 34 วัน จะถึงวันสำคัญทางการเมือง คือ จะเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.ในวันที่ 24 มี.ค. 2562 การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของ รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่ง วิธีการกาบัตรลงคะแนน และวิธีนับคะแนนเพื่อให้ได้ส.ส. มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม วันนี้ Thai Quote จะ ทำความเข้าใจให้กับ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ว่า เราจะต้องการบัตรเลือกตั้งอย่างไร และ เขามีวิธีนับคะแนนเพื่อให้ได้ส.ส.อย่างไรเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้ได้ ส.ส. ที่เราอยากได้ ได้พรรคที่เราต้องการอย่างไร
บัตรเลือกตั้งใบเดียว
การเลือกตั้งครั้งนี้มี จะแจก ‘บัตรเลือกตั้งใบเดียว’ ให้เราตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือก โดยการลงคะแนน จะให้เรากาเลือกเพียง 1 เบอร์ที่เราต้องการ แต่หากเราตัดสินใจไม่เลือกใครจะมีช่องให้ กาไม่ประสงค์เลือกผู้ใดไว้ต่างหาก
วิธีนับคะแนน
คะแนนที่เรากาเลือกเบอร์ จะเป็นฐานคะแนนสำหรับตัดสิน จำนวนส.ส. ทั้ง 2 แบบ คือ แบบแบ่งเขต(มีจำนวนส.ส.ทั้งหมด 350 คน) และ แบบบัญชีรายชื่อ (จำนวนส.ส. 150 คน)
ส.ส.แบบแบ่งเขต วิธีนับคะแนน เป็นเหมือนเดิมเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา คือ หาก ผู้สมัครหมายเลขใด มีคะแนนมากที่สุดในเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนนั้นจะเป็นผู้ชนะ ได้รับเลือกเป็นผู้แทน เป็นส.ส.แบบแบ่งเขตประจำเขตนั้นๆ
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) การได้ตัวผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จะมีวิธีการคิด โดยใช้ฐานจำนวนคะแนนของการลงคะแนน ส.ส.แบ่งเขตมาเป็นฐานในการคำนวณ โดยทุกคะแนนจะมีค่า มีความหมายสำหรับการคิด วิธีคิดจำนวนส.ส. แบบบัญชีรายชื่อยังขึ้นอยู่กับจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตประกอบด้วย ดังนี้คือ
สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ แบ่งออกเป็นขั้นตอน ดังนี้
หาคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน
ให้นำคะแนนที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนให้ ส.ส. ทุกพรรคมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวน ส.ส. ทั้งหมดคือ 500 คน
ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งปี 2562 ซึ่งมีชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอยู่ประมาณ 51.7 ล้านคน หากมีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 35 ล้านคน เมื่อหาร 500 จะได้ผลลัพธ์ 70,000 ซึ่งจำนวนนี้คือ ฐานสำหรับคะแนนเสียงต่อจำนวน ส.ส. 1 คน
หาจำนวน ส.ส. ที่แต่ละพรรคพึงมี
ให้นำคะแนนของพรรคการเมืองที่ได้รับจากการลงคะแนนในแบบส.ส.เขตทุกเขตมาเป็นฐานในการคำนวณ อย่างเช่น พรรค ก. ได้คะแนนจากจากการลงคะแนนทั่วประเทศ 7 ล้านคะแนน จากฐานคะแนนเฉลี่ยส.ส.ที่ยกตัวอย่างข้างต้นจะทำให้ พรรค ก. มีจำนวน ส.ส. ที่พึงมี 100 คน
ดังนั้น หาก พรรค ก. ชนะการเลือกตั้งในแบบ ส.ส. เขต 70 เขต พรรค ก. จะมีโอกาสได้รับ เลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีก 30 คน ตามสิทธิที่พึงมี เป็นต้น
ในทางกลับกัน หากพรรค ก. ได้ ชนะการเลือกตั้งได้ ส.ส. เขต จำนวน 101 เขต พรรค ก. จะไม่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.ในแบบบัญชีรายชื่ออีก
ทั้งนี้ทั้งนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จะมีการพิจารณาค่าเฉลี่ย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ โดยต้องรอดูผลการลงคะแนนจากทั้งหมดก่อน เพราะถึงอย่างไร จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จะได้รวมกันไม่เกิน 150 คน ตามกรอบใหญ่
สุดท้าย วันอาทิตย์ที่ 24 มี.ค. 62 นี้ อย่าลืมไปใช้สิทธิใช้เสียง ลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. กันนะครับ ในครั้งนี้ เรามีเวลาลงคะแนนมากขึ้น โดยสามารถลงคะแนนได้ตั้งแต่ เวลา 08.00 น จนถึงเวลา 17.00 น. (จากเดิม 08.00 – 15.00น.)ครับ