Fin4Bio ระดมภาคธุรกิจตั้งเกณฑ์ ลงทุนฟื้นความหลากหลายทางชีวภาพ สกัดจุดเสี่ยงเศรษฐกิจล่มสลาย

Fin4Bio ระดมภาคธุรกิจตั้งเกณฑ์ ลงทุนฟื้นความหลากหลายทางชีวภาพ สกัดจุดเสี่ยงเศรษฐกิจล่มสลาย


 

“Fin4Bio” ภาคการเงิน-ธุรกิจ จับมืออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ หนุนเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Taxonomy)

 

งานเสวนาและปาฐกถาเพื่อขับเคลื่อนภาคการเงินและภาคธุรกิจเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เตรียมพร้อมการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ Conference of the Parties (COP) to the Convention on Biological Diversity (CBD) หรือ COP16 CBD ในปี 67

 

ที่ผ่านมา ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ยังได้รับความสนใจน้อยมาก เพราะถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว จนกระทั่งมีการเรียกร้องให้จัดการกับวิกฤติของสภาพอากาศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ที่จะส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงของการเงินในระบบ เนื่องมาจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึงการสูญเสียประชากรสัตว์นานาพันธุ์ เป็นต้น

 

ทางการนำไปสู่สูญเสียพืชพรรรณนานาชนิด ซึ่งเป็นระบบการผลิตแหล่งอาหารของมนุษย์ เช่น วิกฤติประชากรผึ้งที่ลดลงในโลกได้ทำลายกระบวนการผสมเกษรพืชหลากหลายชนิดให้เจริญเติบโต ผึ้งที่หายไป จึงหมายถึงอาหารที่หายไปจากระบบ อาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษยชาติ

 

ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ Fin4bio (Finance for Biodiversity) ขึ้น เพื่อสร้างกลไกการระดมทุน ความช่วยเหลือสร้างการเงิน เช่น การตั้งกองทุนการเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ขับเคลื่อนให้ภาคธุรกิจลงทุนในการส่งเสริม การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพกลายเป็นกระแสหลักของสังคม

Fin4Bio (Finance for Biodiversity) โครงการความร่วมมือเพื่อสร้างการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานกลางที่ใช้อ้างอิงในการจำแนกและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของไทย การส่งเสริมให้มีการประเมินและเปิดเผยความเสี่ยงของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ มาตรการสิ่งจูงใจสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรแก่ธรรมชาติ (Nature Positive Economy) รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถ การแบ่งปันความรู้และสิ่งจูงใจในการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่โมเดลธุรกิจ

 

6 ข้อเสนอเพื่อบรรลุเป้าหมาย Fin4bio

เรียกร้องให้จัดเก็บภาษีความหลากหลายทางชีวภาพในกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรม การทำธุรกิจจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์สัตว์ท้องถิ่น ภาคเอกชนต้องสำรวจความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติสร้างแรงจูงใจด้วยเงินทุนสีเขียว (Finance For Green) เช่น กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) เผยแพร่องค์ความรู้ที่แพร่หลายและเข้าถึงได้ ขับเคลื่อนธรรมชาติเชิงบวก (Nature Positive) สู่สังคม ส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ สร้างความร่วมมือขับเคลื่อนการรณรงค์และสร้างโครงการ่วมกันในทุกกลุ่มธุรกิจ

การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางบก แม่น้ำ ชายฝั่ง และมหาสมุทร นั้น มีส่วนช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ในการตั้งรับปรับตัวและลดผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มหาสมุทร พืช สัตว์ และดินทั่วโลกมีส่วนช่วยในการดูด
ชับก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้นสูงถึง 54% โดยธุรกิจทั่วโลกมีการพึ่งพาธรรมชาติมากโดยคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าครึ่งของจีดีพีโลก ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติหรือการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

ทั้งนี้ภาคการเงินและภาคธุรกิจมีบทบาทเป็นอย่างมาก ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ (Nature Positive’ Economy)

ข้อแนะนำร่วมกันเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้

1) ยินดีให้เกิดการพัฒนาการกำหนดนิยามและจัดหมวดหมูโครงการหรือกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกันที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย (Thai Biodiversity Taxonomy) เพื่อใช้เป็นเครื่องมืออ้างอิงสำหรับกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพสู่กระแสหลัก

2) ส่งเสริมให้มีการประเมินและเปิดเผยความเสี่ยงของภาคธุรกิจ ระดับการพึ่งพาและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำกรอบรายงาน เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีความเข้าใจที่ดีขึ้น ถึงการพึ่งพาธรรมชาติและผลกระทบของที่จะเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจของตน

3) สนับสนุนให้เกิดการสร้างมาตรการแรงจูงใจและกลไกทางการเงินที่จะมีส่วนเพิ่มผลกระทบเชิงบวกต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

4) สร้างความมั่นใจว่ามีการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ  สารสนเทศ ความรู้และการเสริมสร้างความสามารถ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ

5) ส่งเสริมการดำเนินการเพื่อลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนการฟื้นฟูระบบนิเวศ และส่งเสริมการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

6) ร่วมกันสร้างความตระหนักรู้แก่ภาคธุรกิจและสถาบันการเงินเกี่ยวกับความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมไปถึงบริบทและคำมั่นสัญญาของกรอบงาน คุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก และสนับสนุนการดำเนินการของไทยที่เกี่ยวข้องกับ
การเตรียมการสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 16 (COP-16) และ 2030 Mission

 

เศรษฐกิจเท่าเทียม
สร้างธรรมชาติเชิงบวก

ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร เลขาธิการและกรรมการบริหารสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษในประเด็นนี้ว่า การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่เท่าเทียม มุ่งเน้นการสร้างธรรมชาติเชิงบวก (Nature Positive) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ต้องขับเคลื่อนพร้อมไปกับประเด็นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้เรายังจำเป็นต้องส่งเสริมความโปร่งใสผ่านการติดตามและการรายงานอย่างเป็นระบบ ให้มีส่วนสำคัญจนเกิดเป็นการสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กร

นายฌ็อง-โกลด ปวงเบิฟ (Jean-Claude Poimbœuf) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการร่วมสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยในครั้งนี้ว่า ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ทั่วโลกจึงต้องตระหนักรู้ หันมาสร้างความร่วมมือในการฟื้นฟูระบบนิเวศให้เกื้อกูลกันอย่างธรรมชาติอย่างกลมกลืน มีความสมดุล

  

ทั้งนี้ประเทศฝรั่งเศสเริ่มมีการสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นรูปธรรม และหวังที่จะร่วมกับประเทศไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรแก่ธรรมชาติ (Nature Positive Economy) เพื่ออนาคตที่ดีของทุกคนร่วมกัน

  

ด้านนางสาวแมทธิว บอ-ลออองส์ (Mathilde Bord-Laurans) ผู้อำนวยการฝ่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและธรรมชาติ สำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (AFD) กล่าวถึงความหลากหลายทางชีวภาพกับยุคการปรับตัวจากภาวะโลกร้อน ซึ่งได้เน้นย้ำถึงการปรับตัวของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจที่ต้องเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ (Nature Positive Economy) มากขึ้น

 

และเพื่อแสดงถึงความตั้งใจของภาคีที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยในการสนับสนุนการลงทุนที่เอื้อต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและกรอบการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก

 

ทั้งนี้ ได้มีองค์กรจากหลากหลายภาคส่วน 31 องค์กร ร่วมลงชื่อสนับสนุนและพัฒนาความร่วมมือในการริเริ่มกลไกทางการเงินเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยมีองค์กรภาครัฐ เอกชน และภาคการเงินร่วมเป็นหน่วยงานสนับสนุนหลัก อาทิ สำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (AFD-Agence Françoise de Développement) ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และบลูเรเนซองส์ ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านงานสัมมนาการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้รับเกียรติจากนายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ระดมธุรกิจ สกัดความเสี่ยง
สูญสิ้นความหลากหลายทางชีวภาพ
ตัดห่วงโซ่อาหาร และท่องเที่ยวไทย

 

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เลขาธิการธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า ความหลากหลายทางชีวภาพ คือ ความเสี่ยงลำดับสุดท้ายหลังจากเกิดโรคระบาด โควิด เศรษฐกิจ และ โลกร้อน ที่จะนำไปสู่การล่มสลายของมนุษยชาติ ที่จะส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่กับการดำรงชีวิตอยู่ และเศรษฐกิจล่มสลาย

 

นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ภาคธุริจจะต้องลุกขึ้นมาสร้างแนวร่วมขับเคลื่อนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอนุรักษ์สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอันดับ 20 จึงถือว่ามีความสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจจากการผลิตอาหาร เป็นครัวของโลก และสร้างการเติบโตจากการท่องเที่ยว ดึงดูดให้เข้ามาในเมืองไทย ความเกื้อกูลกันในระบบทางธรรมชาติ ที่ไม่สามารถปล่อยให้เกิดความเสี่ยงนี้ได้

 

ทุกภาคส่วนจึงต้องหันมาร่วมมือกัน สร้างความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนในสังคม และภาคธุรกิจ รวมถึงภาครัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเงินเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการปล่อยสินเชื่อโครงการพัฒนา จะต้องมีการกำหนดเกณฑ์การลงทุนที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อความหลากหลายทางชีวภาพในอนาคต