รัฐบาลฯระดมคลัง-มหาดไทย-สถาบันการเงิน แก้หนี้ทั้งระบบอย่างยั่งยืน

รัฐบาลฯระดมคลัง-มหาดไทย-สถาบันการเงิน แก้หนี้ทั้งระบบอย่างยั่งยืน


ระดมสรรพกำลังจัดการหนี้เบ็ดเสร็จ เผย 3 มาตรการแก้หนี้ครอบคลุมในและนอกระบบ, ลงทะเบียนลูกหนี้-เจ้าหนี้ หาทางไกล่เกลี่ย และปล่อยกู้ปรับโครงสร้างหนี้ เผยหนี้ลดแล้ว 670 ล้านบาท จัด 4 กลุ่มลูกหนี้เร่งหาทางช่วยครบทุกเหตุแห่งหนี้

 

 

1.หนี้สินที่ได้รับการแก้ไขปัญหาจะต้องครอบคลุมทั้งในส่วนหนี้นอกระบบ และ หนี้ในระบบ ไปพร้อมกัน

2.เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีการลงทะเบียนครบถ้วนจะต้องได้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย 100%

3.ลูกหนี้ที่ผ่านการไกล่เกลี่ยแล้วทุกรายจะต้องได้รับการพิจารณาสินเชื่อ หรือปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งได้รับการช่วยเหลือพื้นฟูศักยภาพในการหารายได้ โดยตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2566 – 31 ม.ค. 2567 ยอดลงทะเบียนทั้งหมด 140,000 ราย ทำการไกล่เกลี่ยแล้ว 12,000 ราย คิดเป็น 57 % ของจำนวนที่เข้าสู่กระบวนการ และผลจากการไกล่เกลี่ย ทำให้มูลค่าหนี้ลดลง 670 ล้านบาท

ที่ผ่านมา ปัญหาหนี้ ทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน โดยเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 รัฐบาลฯ ได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับประชาชน ทั้งหนี้นอกระบบและหนี้ในระบบเป็นวาระแห่งชาติ

โดยปัจจุบัน มูลค่าหนี้ลดลงแล้วกว่า 670 ล้านบาท จากโครงการ “ตลาดนัดแก้หนี้” และ “คลินิกแก้หนี้” เร่งผลักดันความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพ พัฒนาอาชีพ นำไปสร้างรายได้อย่างยั่งยืน รวมถึงประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปล่อยเงินกู้เป็นธรรม กำจัดเจ้าหนี้ข่มขู่ สู่การแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แถลงความคืบหน้าผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ โดยมีผู้ร่วมแถลง ประกอบด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายกฤษณะ จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี, นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง, นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ตามที่ได้มอบนโยบายเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 และเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 กำหนดให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินเป็นวาระแห่งชาติ ทั้งหนี้นอกระบบและหนี้ในระบบ โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันการเงินของรัฐให้บูรณาการและประสานงานร่วมกัน ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้ ให้กับประชาชนอย่างครบวงจร มุ่งแก้ปัญหาให้จบภายในรัฐบาลนี้

ปัจจุบัน โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ฯ คืบหน้าไปมาก ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ หรือ KPI ของการแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชน มี 3 วิธีการประกอบด้วย

1.หนี้สินที่ได้รับการแก้ไขปัญหาจะต้องครอบคลุมทั้งในส่วนหนี้นอกระบบ และ หนี้ในระบบ ไปพร้อมกัน

2.เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีการลงทะเบียนครบถ้วนจะต้องได้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย 100%

3.ลูกหนี้ที่ผ่านการไกล่เกลี่ยแล้วทุกรายจะต้องได้รับการพิจารณาสินเชื่อ หรือปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งได้รับการช่วยเหลือพื้นฟูศักยภาพในการหารายได้ โดยตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2566 – 31 ม.ค. 2567 ยอดลงทะเบียนทั้งหมด 140,000 ราย ทำการไกล่เกลี่ยแล้ว 12,000 ราย คิดเป็น 57 % ของจำนวนที่เข้าสู่กระบวนการ และผลจากการไกล่เกลี่ย ทำให้มูลค่าหนี้ลดลง 670 ล้านบาท

ตลาดนัดแก้หนี้ รุกจัดสรรปัญหาทุกจังหวัด
มอบหมายสนช.เอาผิด 1,300เจ้าหนี้

เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อขอเข้าร่วมการแก้หนี้ได้สะดวกมากขึ้น จึงได้ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยจัดกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้” ซึ่งได้มีการดำเนินการในทุกจังหวัดแล้ว รวมถึงเร่งเชิงรุก ดำเนินการไกล่เกลี่ยระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) จัดการกับเจ้าหน้าหนี้ที่มีพฤติกรรมข่มขู่ ซึ่งได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดแล้ว 1,300 ราย มูลค่าหนี้กว่า 40 ล้านบาท

รวมทั้งยังดำเนินการจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ โดยได้ประสานงานกับธนาคารออมสิน หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ที่ผ่านการไกล่เกลี่ย เพื่อให้สามารถพัฒนาอาชีพ พัฒนาฝีมือแรงงาน สร้างรายได้เพิ่ม และไม่ต้องกลับมาเป็นหนี้นอกระบบซ้ำอีกในอนาคต”

จัดกลุ่ม 4 ลูกหนี้
แก้โจทย์ตามต้นเหตุแห่งหนี้

มาตรการการแก้ไขปัญหานี้ได้ตรงจุด จึุงได้จัดกลุ่มของผลการแก้หนี้ในระบบ จำแนกตามกลุ่มลูกหนี้ออก 4 กลุ่ม ได้แก่

 ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19

ลูกหนี้กลุ่มนี้ได้รับการช่วยเหลือโดยปิดบัญชีหนี้เสียแล้ว มากกว่า 603,000 หมื่นบัญชี มูลหนี้กว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ลูกหนี้กลับมา มีสถานะปกติในระบบเครดิตบูโร และสามารถกลับเข้าสู่ระบบการเงินได้ อีกทั้งยังมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ SMEs แล้วมากกว่า 10,000 ราย มูลหนี้กว่า 5 พันล้านบาท

ลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมาก

จนเกินศักยภาพในการชำระคืนหนี้

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหนังสือขอความร่วมมือให้สหกรณ์ออมทรัพย์ทุกแห่ง คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่สูงจนเกินไป ไม่ควรเกินร้อยละ 4.75 ซึ่งมีสหกรณ์ออมทรัพย์กว่า 80 แห่ง ทยอยลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงมาแล้ว ซึ่งคาดว่าการลดดอกเบี้ยดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ได้กว่า 3 ล้านราย นอกจากนี้ ลูกหนี้บัตรเครดิต ได้เข้าร่วมปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในโครงการคลินิกแก้หนี้แล้วมากกว่า 150,000 หมื่นบัญชี

กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน

รายได้ไม่แน่นอน ทำให้การชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งมีเกษตรกรได้รับการพักชำระหนี้แล้วมากกว่า 1,800,000 ราย มูลค่าหนี้รวมกว่า 250,000 ล้านบาท ส่วนลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เข้ามาติดต่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วมากกว่า 600,000 ราย

คือ กลุ่มที่มีหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีหลักเกณฑ์การร่วมทุน ระหว่างสถาบันการเงินกับบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้ว และจะขยายหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ออมสินตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์

พร้อมจัดคลินิกแก้หนี้

 อย่างไรก็ตามธนาคารออมสินอยู่ระหว่างเจรจาผู้ร่วมทุน เพื่อเตรียมจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ คาดว่าจะแล้วเสร็จไตรมาสแรกของปี 2567 เมื่อการจัดตั้งแล้วเสร็จ ลูกหนี้กลุ่มนี้จะสามารถโอนขายไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อให้การช่วยเหลือแบบผ่อนปรนต่อไป

ในส่วนของสินเชื่อธาคารและบัตรเครดิท โครงการ “คลินิกแก้หนี้” ที่เป็นหน่วยงานกลางที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้แทนเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ประกอบการทางการเงินทุกรายของลูกหนี้อย่างครบวงจร สามารถทำให้ลูกหนี้ที่ตกอยู่ในภาวะชำระหนี้ไม่ได้ สามารถนำมากำหนดเงินต้นที่ถูกต้อง และมีการผ่อนชำระคืนในระยะ สั้น ปานกลาง ยาว ในอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน ร้อยละ 3-5 แต่ก็ย้งมีสถาบันทางการเงินบางแห่งที่ไม่ให้ความร่วมมือ รัฐบาลจะดำเนินการขอความร่วมมือต่อไป

ด้านค่าผ่อนปรนตามศักยภาพต้องดำเนินการตามอย่างเคร่งครัด ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยมีข้อกฏระเบียบที่จะตัดเงินเพื่อชำระหนี้ไปสู่เงินต้น ไม่ได้หักชำระแต่ดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว จากการสุ่มตัวอย่างพบว่า ยังมีบางสถาบันทางการเงินที่ดำเนินการผิดอยู่ รัฐบาลยืนยันว่าท้ายที่สุดแล้วทุกสถาบันฯจะต้องดำเนินการตามแผนดังกล่าว ในส่วนของความคืบหน้า ทุกๆส่วนมีความคืบหน้าจริงๆ ลูกหนี้ที่อยู่ในแผน Non-Performing Loan (NPL) หรือ หนี้เสีย ลดลงอย่างชัดเจน

“ขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบในครั้งนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนให้ร่วมกันช่วยปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนต่อไป ผมขอให้ความเชื่อมั่นว่า การแก้ไขปัญหาหนี้ของรัฐบาล จะสามารถช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึง และเราจะแก้หนี้ทั้งระบบให้จบภายในรัฐบาลนี้ให้ได้” นายก กล่าวทิ้งท้าย