10 อันดับ แบรนด์เสื้อผ้ายั่งยืน ปี 2023 ปลูกจิตวิญญาณแห่งESGตั้งแต่บุกเบิก

10 อันดับ แบรนด์เสื้อผ้ายั่งยืน ปี 2023 ปลูกจิตวิญญาณแห่งESGตั้งแต่บุกเบิก


อุตสาหกรรมเสื้อผ้า และสิ่งทอ เป็นแฟชั่น มักหมุนเวียนเปลี่ยนไป สวมใส่ตามอารมณ์และตามกระแสความนิยม ตลอดจนฤดูกาล จึงเป็นต้นตอของการสร้างขยะ ทำลายสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) แบรนด์เสื้อผ้าสายแฟชั่น จึงต้องปฏิวัติตัวเอง ให้ขายเสื้อผ้าเพื่อโลก แทนขายเพื่อเป็นอาภรสวมใส่ให้มีภาพลักษณ์ดี เสริมฐานะทางสังคม

 

เป็นยุคที่เกิดการปฏิวัติวงการแฟชั่นครั้งใหญ่ ในหลายแบรนด์ เริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่การค้นหาวัสดุ เส้นด้าย เส้นใยที่ทำมาจากธรรมชาติ หรือ รีไซเคิล และดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมาภิบาล มีจริยธรรมและความโปร่งใส รวมถึงมองไปสู่การลงทุนในด้านการใช้พลังงานทดแทนในธุรกิจ

1. Patagonia ไรอัน เกเลิร์ต เป็นประธานบริหาร

Patagonia คือสุดยอดแบรนด์ที่รู้กันดีว่าแม้จะขายเสื้อผ้ากีฬาและอุปกรณ์กลางแจ้ง แต่เงินที่ได้จากการขายเสื้อผ้ามีไว้ลงทุนเพื่อฟื้นฟูปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ของโลก บริษัทก่อตั้งมากว่า 50 ปี (ตั้งแต่ ค.ศ.1973)ในปีที่ผ่านมา ผู้ก่อตั้ง อีวอง ชูนาร์ด (Yvon Chouinard) ได้โอนกำไรทั้งหมดเพื่อกิจกรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่เรียกว่า Patagonia Purpose Trust และ Holdfast Collective ในการปกป้องสัตว์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ
ไม่เพียงเท่านั้นโครงสร้างธุรกิจยังวางไว้เพื่อเป้าหมายแก้ไขปัญหาของโลกเป็นหลัก แทนการทำผู้ถือหุ้นรวย ธุรกิจมูลค่า 3,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงใหญ่ที่ทำหน้าที่บริหารองค์กรไม่แสวงกำไร กองทุน Patagonia Purpose Trust และ Holdfast Collective
เสื้อผ้าของPatagonia แม้ราคาจะแพงเสื้อเริ่มต้นราว 139 เหรียญสหรัฐ (ราว 5,000 บาท) กางเกงเริ่มต้น 59 เหรียญสหรัฐ (ราว 2,000 บาท) แต่ก็มีคนแย่งกันซื้อ และจำกัดจำนวนซื้อ เป็นเสื้อผ้ามีคุณสมบัติโดดเด่น ใส่ทนทานยาวนาน กันเหงื่อระบายความชื้น มีบริการรับซ่อมแซมอีกด้วย วัสดุทำจากเส้นใยธรรมชาติ และรีไซเคิลเป็นหลัก เพื่อไม่ให้ปล่อยขยะแบรนด์Patagonia เหลือทิ้งบนโลกแม้แต่ชิ้นเดียว

2. Tentree เดอริก แอมส์ลีย์, ประธานบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง

ฟังชื่อก็ไม่ต้องสืบกันเลยว่า ตั้งขึ้นมาเพื่อต้นไม้ โดยแนวคิดทุกการขาย 1 ชิ้น นำไปปลูกต้นไม้ 10 ต้น ตั้งแต่ก่อตั้ง ในปี 2011 ปลูกต้นไม้ไปแล้ว 70 ล้านต้น วางเป้าหมายให้ปลูกต้นไม้ให้ได้ 1,000 ล้านต้นภายในปี 2030
เป็นบริษัทที่จริงจังกับการปลูกต้นไม่ ที่ไม่ใช่เพียงเพื่อทำการตลาด ฟอกเขียว (Green Wash) ดังเช่น หลายแบรนด์กำลังทำอยู่ จึงทำให้บริษัทบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตั้งแต่ปี 2020 เร็วกว่าเป้าหมายแบรนด์ยักษ์ใหญ่ของโลกในหลายสินค้าตั้งไว้
วิสัยทัศน์ของแบรนด์ ตั้งขึ้นมาเพื่อกอบกู้ผืนป่าไม้ของอินโดนีเซีย เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคน มีการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส รับรู้ถึงก้าวย่างของการทำธุรกิจ ได้รับการรับรองจาก B Corp Tentree ในการรักษามาตรฐานสูงสุด ที่ให้การรับรองบริษัทสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์กับคนส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม ในทุกกระบวนการผลิต ในทุกเส้นด้าย เส้นใย ของแบรนด์ ผลิตจากธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. Adidas เบียร์น กุลเดน, ประธานบริหาร

Adidas เป็นแบรนด์ที่ทุกคนทั่วโลกรู้จัก โดยเฉพาะสาวกกีฬา ดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน ในปี 2024 ตั้งเป้าหมายที่จะนำวัตถุดิบทำจากโพลีเอสเตอร์ใหม่ที่มาจากวัสดุรีไซเคิล ในปี 2015 ที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับองค์กรสิ่งแวดล้อม ‘Parley for the Oceans’ มุ่งเน้นการนำวัสดุจากพลาสติกที่ได้จากมหาสมุทร มาเป็นวัตถุดิบ สามารถผลิตรองเท้ากว่า 27 ล้านคู่ (Parley Ocean Plastic)

4. Amour Vert ลอรี เอเธอริดจ์, ประธานบริหาร

Amour Vert รู้ดีว่ากระบวนการผลิตเสื้อผ้าถึง 60% ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในช่วงผลิตเส้นใยและสิ่งทอ จึงลุกขึ้นมาต่อสู้ ปฏิวัติตัวเอง จับมือพันธมิตรโรงงานเพื่อหาหนทางในการผลิตเสื้อผ้ายั่งยืน และทนทาน โดยใช้วัตถุดิบที่รักษ์โลก มีการตรวจสอบในทุกกระบวนการผลิต

5. People Tree ซาเฟีย มินนีย์, ประธานบริหาร

เป็นหนึ่งในแบรนด์แฟชั่นที่เปลี่ยนตัวเองมาทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนเบอร์ต้นๆ (ตั้งแต่ปี 1991) ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนานวัตกรรมริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ในวงการแฟชั่น เสื้อผ้าตลอดเวลา คุณค่าหลักขององค์กร คือการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร สร้างมาตรฐานในการทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการผลิต

6. Pact แบรนแดน ซินโนต, ประธานบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง

เริ่มต้นก่อตั้งด้วยการยึดมั่น ปรัชญาด้านความยั่งยืนของ Pack ผู้ก่อตั้ง เพราะนี่คือวิธีคิดที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักของคน และยอมรับจากชุมชน เขาเน้นการทำธุรกิจ ที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จึงก้าวเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิล รวมถึงการนำทุกส่วนที่ผลิตจากบริษัทมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีขยะเป็นศูนย์

 

7. Reformation ฮาลี บอเรนสไตน์, ประธานบริหาร

Reformation ด้วยความเชื่อที่คิดถึงความยั่งยืนในทุกส่วนการทำงาน ตั้งแต่การลดขยะ จึงใช้วัตถุดิบรีไซเคิล ใช้ทรัพยากร น้ำและพลังงานในกระบวนการผลิตอย่างรู้คุณค่า ไม่ปล่อยเป็นของเสียสู่โลก มีการลงทุนด้านสถาปัตยกรรมสีเขียว ผ่าน Refscale- Reformation ติดตามเส้นทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
มีความยั่งยืนอยู่ในทุกส่วนของกระบวนการ มีการลดการสร้างขยะ การใช้น้ำและพลังงานอย่างคุ้มค่า ด้วยการลงทุนด้านโครงสร้างสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวที่จำเป็นกับธุรกิจ และยังมีการพัฒนานวัตกรรม ผ่าน RefScale – Reformation ตราสัญลักษณ์ที่ใช้ติดตามเส้นทางการปล่อยก๊าซคาร์บอน และการใช้น้ำ ในสินค้าของบริษัทได้อย่างละเอียด จึงสามารถคำนวณผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการผลิต ที่เปิดเผยให้ผู้บริโภครับรู้ได้ทุกแง่มุมอย่างโปร่งใส

8. Quince ซิด กุปตา, ประธานบริหาร

Quince มองว่าความยั่งยืนเป็นหลักการดำเนินชีวิตและธุรกิจที่เรียบง่าย และเป็นความจริง ที่เป็นมาตรฐานที่ทุกคนควรเข้าถึงได้ โดยไม่จำเป็นต้องดูหรูหรา พันธกิจของแบรนด์ คือการดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นเสื้อผ้าที่ทุกคนเข้าถึงได้ จึงกำหนดราคาที่คนสามารถซื้อหาจ่ายได้ สบายกระเป๋า มีสินค้าหลากหลายตั้งแต่ ผ้าไหมสุดหรู ถึงเสื้อคลุมผ้าแคชเมียร์ กระเป๋าหนัง ที่มีการจัดการความยั่งยืน

9. Whimsy + Row เรเชล เทมโก, ผู้ก่อตั้ง

การติดตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Carbon Footprint) ของแบรนด์ Whimsy + Row ต้องการคงมาตรฐานการปล่อยคาร์บอนให้ต่ำที่สุด จึงผลิตสินค้าแต่ละชนิดจำกัดปริมาณการผลิต สินค้าจึงมีจำกัด มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน โดยการผลิตที่ไม่สร้างขยะ พร้อมกันกับมีการเพิ่มฟีทเจอร์บนเว็บไซต์ เพื่อประเมินปริมาณสินค้าที่จะผลิตให้เท่ากับความต้องการในตลาด ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าทุกชิ้นที่ลงทุนลงแรง และพลังงานผลิต ออกมาแล้วสามารถนำมาใช้อย่างแท้จริงทุกชิ้น มีปริมาณเพียงพอเท่ากับความต้องการ หลีกเลี่ยงการผลิตเกินความต้องการ

10. Levi’s ชาร์ลส์ เบอร์ก, ประธานบริหาร

Levi’s คือแบรนด์เสื้อผ้ายักษ์ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักดี และอยู่มายาวนานกว่า 170 ปี (ปี 1853) เจตจำนงในการก่อตั้งและผลิตภัณฑ์สินค้าเริ่มต้นด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ ตรงไปตรงมา ยึดมั่นใน 3 หลักการ ภูมิอากาศ, การบริโภคและชุมชน ที่เป็นคำตอบสอดคล้องกับความยั่งยืนในยุคนี้ (ESG สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ให้ความสำคัญในการออกแบบและสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อแก้ไขผลกระทบที่สำคัญของอุตสาหกรรมเสื้อผ้า บริษัทยังสนับสนุนลูกค้าเข้ามาดูข้อมูลการบริหารธุรกิจอย่างโปร่งใส เพื่อให้มีส่วนร่วมกระตุ้นให้ธุรกิจสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกของเรา

นี่คือ 10 เสื้อผ้าแบรนด์ดังระดับโลกที่ไม่ใช่คิดเพียงแค่ผลิตสินค้าเพื่อให้ขายได้ แต่ยังคิดตั้งแต่ต้นทางไปถึงปลายทางจะผลิตสินค้าไม่ให้เหลือทิ้ง ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและทำให้โลกนั้นดีขึ้นได้อย่างไร มิติใหม่แห่งวงการแฟชั่นเสื้อผ้า ที่กำลังถูกตั้งคำถามกระทบไปยังทุกแบรนด์ที่กำลังขยายสาขา และผลิตคอลเล็คชั่นใหม่ๆ ในแต่ละฤดูกาล ได้เตรียมการรับมือกับผู้บริโภคที่มีจิตสำนึกรักษ์โลก ในความเป็น แบรนด์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ทรัพยากร จะแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร

 

ที่มา CNN,Forbes, Sustainabilitymag, goodtrade