สถิติมูลค่าการจ่ายเงินสำหรับโฆษณาในสื่อดิจิทัลของไทยปี 2012-2018
ปี 2012 มูลค่า 2,783
ปี 2013 มูลค่า 4,248 การเติบโต +53%
ปี 2014 มูลค่า 6,115 การเติบโต +44
ปี 2015 มูลค่า 8,084 การเติบโต +32
ปี 2016 มูลค่า 9,479 การเติบโต +17
ปี 2017 มูลค่า 12,402 การเติบโต +31
ปี 2018 มูลค่า 14,973 การเติบโต +21
โดยปี 2018 6,684 ล้านบาท เป็นใช้จ่ายจริงในครึ่งปีแรก คาดการณ์ครึ่งปีหลังไว้ที่ 8,289 ล้านบาท
สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ Digital Advertising Association (Thailand) (DAAT) ร่วมกับ กันตาร์ ทีเอ็นเอส (ประเทศไทย) บริษัทวิจัยชั้นนำ สำรวจมูลค่าเม็ดเงินลงทุนผ่านสื่อดิจิทัลพบว่านอกจากอัตราการเด็บโตจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ตัวเลขเม็ดเงินสรุปในครึ่งปีแรกของปี 2561 สูงขึ้นแบบก้าวกระโดดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 เป็นมูลค่า 1,100 ล้านบาท มากกว่าที่คาดการณ์ไว้
โดย 5 อันดับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงเงินในการ โฆษณาดิจิทัล สูงสุด ได้แก่
1.กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ (1,722 ล้านบาท)
2.กลุ่มการสื่อสาร (1.657 ล้านบาท)
3.กลุ่มสกินแคร์ (1,256 ล้านบาท)
4.กลุ่มธุรกิจธนาคาร (1,052 ล้านบาท)
5.กลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม (619 ล้านบาท)
คิดเป็นเงินกว่า 6,500 ล้านบาท ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลเพิ่มเป็นมูลค่าสูงสุดเทียบจากปี 2560 คือ กลุ่มสกินแคร์ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 533 ล้านบาท ตามด้วยกลุ่มการสื่อสาร ที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 162 ล้านบาทตามลำดับ
กลุ่มอุตสาหกรรมดาวรุ่งที่มีการเติบโตขึ้นอย่างนาจับตามอง ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มเม็ดเงินลงทุนในโฆษณาดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 124% ในปีนี้ จนขยับขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงเงินในการโฆษณาดิจิทัลมากที่สุด จากเดิมเคยอยู่ในอันดับที่ 14 และกลุ่มสกินแคร์ที่เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 74% ทำให้กลุ่มสกินแคร์กลายเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงเงินในการโฆษณาดิจิทัลมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของปีนี้ แซงหน้ากลุ่มธุรกิจธนาคารที่รั้งอันดับที่ 3 ในปีที่ผ่านมา
แพลตฟอร์มไหนที่ธุรกิจไทยใช้เป็นสื่อ โฆษณาดิจิทัล มากที่สุด
นักการตลาดในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสื่อ โฆษณาดิจิทัล มากขึ้นทุกปี ในปี 2561 จะเห็นความพยายามของนักการตลาดที่จะนำการตลาดแบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data driven Marketing) มาผสานกับการทำการตลาดแบบเน้นเนื้อหา (Content Marketing) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแบรนด์ในการเข้าถึงผู้บริโภคได้ถูกกลุ่ม ถูกช่องทาง ถูกเวลา และสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคด้วยเนื้อหาที่ผู้บริโภคอยากฟัง (Right group, Right Channel, Right time และ Right content)
แพลตฟอร์มระดับโลกอย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) และยูทูป (YouTube) ยังคงเป็นแพลตฟอร์มหลักที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค คิดเป็นสัดส่วนเงินลงทุนประมาณร้อยละ 50 ของเงินลงทุนในโฆษณาทั้งหมด และยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทวิตเตอร์ (275%) ไลน์ (83%) และอินสตาแกรม (77%) เป็นแพลตฟอร์มที่มีการเติบโตของการลงทุนโฆษณาดิจิทัลเพิ่มขึ้นตามล่าดับ
การสำรวจมูลค่างบโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล ปัจจุบันคนไทยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย 70% ของคนไทยใช้ Social Network ทุกวันโดยเฉลี่ย 4.2 แพลตฟอร์มต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางออนไลน์ที่มีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นในประเทศไทย