ตามหนังสือ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0205/ ว189 ลง 2 ต.ค. 2544 ให้ถือปฏิบัติเรื่องหลักเกณฑ์การใช้รถตำรวจนำขบวนของบุคคลสำคัญ หรือ นักการเมืองหรือ
การใช้รถนำขบวนรับรองแขกต่างประเทศในการเยือนประเทศไทย นอกจากขบวนเสด็จพระราชดำเนิน ขบวนเสด็จพระดำเนิน และขบวนเสด็จของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีรถตำรวจนำขบวนตามปกติประเพณีแล้ว บุคคลสำคัญอื่นๆ สามารถใช้รถตำรวจนำขบวนได้เป็นประจำหรือ ครั้งๆ ไป ตามหลักเกณฑ์ นั้น เพื่อให้หลักเกณฑ์ การขอใช้รถวิทยุตำรวจทางหลวงนำขบวนเกิดความชัดเจน สะดวกแก่การปฏิบัติของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางการปฏิบัติที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ลง 25 ก.ย.2544
เรื่องหลักเกณฑ์การใช้รถตำรวจนำขบวนของบุคคลสำคัญ หรือ นักการเมือง หรือการใช้รถนำขบวนรับรองแขกต่างประเทศในการเยือนประเทศไทย สำหรับนอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง หรือ ผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับการตำรวจทางหลวง มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ใช้รถตำรวจทางหลวงนำขบวนเป็นครั้ง ๆ ไป ตามความจำเป็นแห่งโอกาสสำหรับบุคคลดังนี้
1.การใช้รถตำรวจทางหลวงนำขบวนเป็นประจำโดยปกติ ได้สำหรับบุคคล ในกรณีนี้ (เป็นภารกิจปกติที่ต้องจัดรถนำขบวนโดยมิต้องร้องขอ) ดังนี้ 1.1 ประธานองคมนตรีรัฐบุรุษ 1.2 นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา (ประธานสภาผู้แทนราษฎร)รองประธานรัฐสภา (ประธานวุฒิสภา) ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด 1.3สมเด็จพระสังฆราช 1.4 รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และประธานกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และมีอำนาจหน้าที่ติดตามการปฎิบัติราชการในท้องที่ต่างๆ 1.5 ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
2. การใช้รถตำรวจทางหลวงนำขบวนที่จะต้องอนุญาตให้ใช้เป็นครั้งๆไป ตามความจำเป็นแห่งโอกาสสำหรับบุคคล (เป็นกรณีจะต้องร้องขอ หรือ สั่งการ และ ต้องอนุญาตตามระเบียบ)ดังนี้
2.1 ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ ประมุขของรัฐต่างประเทศ ผู้นำรัฐบาลต่างประเทศ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
2.2 องคมนตรี
2.3 ผู้นำทางศาสนาอื่น สมเด็จพระราชาคณะ
2.4 ขบวนที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่สำคัญของส่วนราชการต่างๆ ที่จะเดินทางไปปฏิบัติภารกิจสำคัญของทางราชการ และเกรงว่าจะไม่ทันเวลา เช่น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล, ผู้ว่าราชการจังหวัด, ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นต้น
2.5 ขบวน ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ตำรวจนำขบวนเพื่อความปลอดภัยของขบวน หรือความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนตามความจำเป็นแก่กรณี เช่น รถนักเรียน ขบวนรถซึ่งเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือพิธีการ ขบวนที่มีรถหลายคัน เป็นต้น หรือเป็นกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนของบุคคลผู้มีตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในทางราชการเพื่อเดินทางไปปฏิบัติภารกิจสำคัญของทางราชการ
3.หลักเกณฑ์การขอใช้รถตำรวจทางหลวงนำขบวน ที่จะต้องพิจารณาอนุญาตซึ่งมีความจำเป็นต้องการขอใช้รถตำรวจทางหลวงนำขบวน ตามวัตถุประสงค์ (เป็นกรณีที่บุคคลทั่วไปขอ ซึ่งจะต้องพิจารณาอนุญาตตามหลักเกณฑ์ ) ดังนี้
3.1เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง หรือเส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
3.2จำนวนรถในขบวน
3.2.1รถโดยสาร(บัส) จำนวน 5 คันขึ้นไป
3.2.2รถยนต์เก๋ง จำนวน 8 คันขึ้นไป
3.2.3รถยนต์เก๋งและรถยนต์โดยสารรวมกัน 8 คันขึ้นไป
3.3ต้องมีรถวิทยุตรวจการณ์เพียงพอ และไม่เสียภารกิจหลักหรือ การถวายความปลอดภัย