“มือพิฆาตเฉพาะกิจ”

“มือพิฆาตเฉพาะกิจ”

ขณะที่ในเวลาอันไล่เลี่ยกันยังตามไปเขย่าต่อในโครงการอบรมหลักสูตรขององค์กรอิสระต่าง
ๆโดยเฉพาะการไปดูงานต่างประเทศที่ถูกระบุว่าไม่คุ้มค่าเพราะ ไปดูงานเพียง 1-2 วัน
ที่เหลืออีก 5-7 วันไปดูงานวัฒนธรรมหรือไปเที่ยวแต่ใช้งบประมาณแผ่นดิน พร้อเสนอให้นายกรัฐมนตรี
ใช้มาตรา 44 สั่งยกเลิกจัดอบรมหลักสูตรพิเศษของทั้งองค์กรอิสระและศาลยุติธรรม
รวมทั้งหลักสูตรมหานครของกทม. ที่ถูกระบุว่ามีนักธุรกิจบางคนใช้เครือข่ายสายสัมพันธ์วิ่งเต้นเพื่อขอเรียนทุกหลักสูตรเพราะเป็นคนขายเครื่องจักรกลรายใหญ่ให้
กทม. ปีละนับพันล้านบาทและยังมีเรื่องของการชงมาตรการ 4 ข้อแก้ปัญหาทุจริตต่อประธาน
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
หรือ กรธ.

ย้อนเวลากลับไปครั้งที่
“วิลาศ” ยังรั้งตำแหน่งประธาน
คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
สภาผู้แทนราษฎร
ต้องยอมรับว่าบทบาทของคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวถือว่ามีผลงานโดดเด่นที่สุดเพราะมีการพิจารณาเรื่องของปัญหาการทุจริตมากมายตั้งแต่โครงการของรัฐบาลไปยันกระทั่งเรื่องของการใช้งบประมาณของท้องถิ่นทั้งในส่วนของอบต.,
อบจ.เรียกว่าตามซักฟอกกันอย่างถึงลูกถึงคน  โดยเฉพาะในส่วนของกทม.นั้นจำได้ว่ามีด้วยกันหลายเรื่องตั้งแต่การจัดซื้อจัดจ้างของเล่นเด็ก
การจัดสัมมนาทั้งในและต่างประเทศ ฯลฯ ว่ากันว่ากระทั่งถึงขั้นต้องเชิญข้าราชการระดับสูงในกทม.ขณะนั้นมาซักถามกันอย่างดุเด็ดเผ็ดมันในที่ประชุม

กับการตรวจสอบโดยเฉพาะกับคนในพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดเขาเคยกล่าวไว้ว่า
“มองได้สองมุม มุมหนึ่งคือ เกิดความแตกแยกภายในพรรค อีกมุมหนึ่งมองว่า เอ๊ะ
มันก็ดีนะ คนในพรรคของตัวเองทำผิดก็จัดการ ไม่ละเว้น แต่ผมมองว่า
คนมองอย่างหลังมากกว่า มองว่าพรรคนี้เยี่ยมยอด คนผิดก็เอาเต็มที่
เพื่อจะได้ออกจากพรรคไป และผมก็บอกไปแล้วว่า ผมเอาเต็มที่ แล้วผมไม่เสนอให้พรรคไล่ออกด้วยนะ
ผมไล่เอง

นอกจากนี้
“วิลาศ” ยังเคยให้มุมมองถึงการปฏิรูปกับเรื่องของปัญหาการบ้านการเมืองว่า การเมืองทุกวันนี้ที่มีปัญหาเพราะนักการเมืองมันไปสร้างแบบอย่างที่ไม่ดีไว้
ซึ่งตนเสนอมาตลอดว่าวันนี้ถ้าเราคิดจะปฏิรูปไม่ต้องไปตั้งคณะปฏิรูปหลาย
ๆคณะอย่างที่ทำกันอยู่ตอนนี้ ตั้งเพียง
4 คณะพอแล้วคือ
คณะที่ 1 ปฏิรูปนักการเมือง คณะที่ 2 ปฏิรูปบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 3 ปฏิรูปตำรวจ
และคณะที่ 4 ปฏิรูปทหาร

ถามว่าต้องปฏิรูปอะไรก่อนลำดับแรก
คิดว่าต้อง
ปฏิรูปการเมืองไม่ให้นักการเมืองโกง
ถ้านักการเมืองมันไม่โกงเสียอย่างเดียวทุกอย่างจบ เพราะคนมันขี้อิจฉา เมื่อนักการเมืองโกงไม่ได้มันก็จะไม่ยอมให้คนอื่นโกง
ข้าราชการจะโกงก็ไม่ได้ ตำรวจทหารก็โกงไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องเอานักการเมืองเสียให้จบ
แต่วันนี้พอเราจะไปปฏิรูปเรื่องอื่น ก็ถูกย้อนกลับมาว่า นักการเมืองยังโกงเลยดังนั้นต้องเอานักการเมืองให้โปร่งใสก่อนเป็นลำดับแรก

ส่วนตัวผมเห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาของประเทศ
ผมก็จะเอาข้อมูลที่ส่งมาให้ผมตลอดนั้นตามไปเล่นงาน
และผมจะเสนอแนวความคิดที่เห็นว่าควรจะทำเพื่อปฏิรูปองค์กรตรวจสอบที่มีอยู่ เพราะการปราบปรามการทุจริตวันนี้ปัญหา
คือ องค์กรปราบปรามการทุจริตมีเยอะแต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร
วิลาศกล่าวทิ้งท้าย

เพราะการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมานั่นเองทำให้ชื่อชั้นของ
“วิลาศ” กลายเป็นที่โดดเด่นมาตลอด ว่ากันว่าในสนามการเมืองระดับชาติย่านฝั่งธนบุรี
กระทั่งมีเรื่องเล่าขานกันว่าทำให้คนโตย่านบางบอน
ซึ่งเป็นแม่ทัพคนสำคัญของพรรคการเมืองใหญ่คู่แข่งยังต้องหวาดผวาเมื่อเอ่ยถึงชื่อ
“วิลาศ” คนนี้       

วิลาศ
เกิดเมื่อ 6 ก.พ.
2495
 เป็นชาว
อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก
คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสาขาวิชานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
, ปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มีน้องชายที่เป็นอดีตส.ส.ร่วมพรรคการเมืองเดียวกันคือ ทันตแพทย์ สุรันต์
จันทร์พิทักษ์(อดีตเป็นนักการเมืองท้องถิ่นในสภากทม.)

เส้นทางการเมืองของวิลาศนั้นต้องยอมรับว่าเขาเติบโตและต่อเนื่องมายาวนานเป็นส.ส.ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2531,พ.ศ. 2535/1,พ.ศ. 2535/2ในสังกัดพรรคพลังธรรมก่อนจะย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ในปีพ.ศ.2539,พ.ศ.2544 นอกจากนี้ยังเคยเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ปี
พ.ศ.2535พ.ศ. 2537 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2537พ.ศ. 2538

ต้องยอมรับว่าตลอดชีวิตบนเส้นทางการเมืองของวิลาศ
นั้นตัวเขาเองค่อนข้างโลว์โปรไฟล์ แต่ใครจะคิดว่าแท้ที่จริงแล้ว
ฐานะทางสังคมของเขาไม่ได้น้อยหน้าเพื่อนร่วมพรรคและต่างพรรคแต่ประการใด
โดยเฉพาะเมื่อกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกมาเปิดเผยถึงบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ส.ส.) ที่ได้รับเลือกตั้งวันที่
3 กรกฎาคม 2554
(ยื่นแสดงต่อป.ป.ช.วันที่ 3 สิงหาคม 2554)
พบว่า วิลาศ
และคู่สมรส คือนางรัตนา จันทร์พิทักษ์ มีทรัพย์สินมูลค่า

469.5 ล้านบาท โดยภรรยาของเขาดำเนินธุรกิจในกลุ่มบริษัทน้ำมันพืช คงเพราะเหตุนี้กระมังที่เป็นปัจจัยหนุนในการทำงานของเขา

ที่มา
:
Thaiquote