ทำอย่างไร..เมื่อขยะอินทรีย์ล้นเมือง “นวัตกรรม” คือทางออก

ทำอย่างไร..เมื่อขยะอินทรีย์ล้นเมือง “นวัตกรรม” คือทางออก


“นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม” แก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ด้วยกระบวนการเป็นมิตร สู่แนวทางแห่งความยั่งยืน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคำว่า “นวัตกรรม” คุ้นหูเราทุกคนมากขึ้น เนื่องจากเป็นตัวช่วยสำคัญในการพัฒนาความคิด และกระบวนการ ซึ่งความสำเร็จต่างๆ ในทุกวงการตลอดหลายปีที่ผ่านมาล้วนเกิดจากคำว่า “นวัตกรรม” ทั้งสิ้น

ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องสิ่งแวดล้อม หลังจากที่มีคนทั่วโลกหันมาใส่ใจมากขึ้น จนเป็นกระแสรักษ์โลกในรูปแบบต่างๆ “นวัตกรรม” ก็ถูกหยิบยกนำมาเป็นตัวช่วยในเรื่องนี้เช่นกัน

ขณะที่ประเทศไทยก็ได้ตื่นตัวในประเด็นดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดย ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเล่าว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และผู้คนทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นเรื่องแรกๆ โดยส่วนหนึ่ง กำลังฝากความหวังไว้กับ “นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม”

ซึ่งหมายถึง เทคโนโลยี ระบบ หรือการบริการรูปแบบใหม่ที่ใช้งานได้จริงแล้วเกิดประโยชน์ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม และถูกคิดค้นขึ้นเพื่อเข้าไปแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งเป็นปัญหาเดิมที่ทุกคนรู้จักดีอยู่แล้วในปัจจุบันและปัญหาใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลระบุว่า นวัตกรรม จะเข้ามามีบทบาทโดยช่วยให้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น กระบวนการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้บทบาทในการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวแต่ละคนมากขึ้น นวัตกรรมที่มีอยู่นั้น มีทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป พัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือเปลี่ยนแปลงใหม่หมด ในลักษะไม่เคยปรากฏมาก่อน และนำไปสู่อุตสาหกรรมใหม่

“สิ่งที่เราทำอยู่ตอนนี้ คือ พยายามตอบโจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับทุกกลุ่มเป้าหมายทุกมิติ ทั้งระดับครัวเรือน ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม นวัตกรรมที่น่าจะรองรับกลุ่มเป้าหมายและมิตินี้ ก็คือ นวัตกรรมที่เข้าไปจัดการขยะอินทรีย์” ดร.นรินทร์ กล่าว

ดร.นรินทร์ ระบุว่า โจทย์ดังกล่าวพุ่งเป้าไปที่เรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนอาจจะมองข้าม ก็คือเรื่องเศษอาหารจากบ้านเรือน จากสถานประกอบการต่างๆ หรือขยะที่ทุกคนทิ้งอยู่ทุกวัน ขยะกลุ่มนี้ เมื่อนำมาแยกสัดส่วนจากขยะทั้งหมดที่ทิ้งกันในแต่ละวัน โดยจะพบว่า ขยะอินทรีย์ หรือขยะที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น เศษอาหาร เป็นขยะที่ถูกละเลยมากที่สุด แต่มีขยะอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 64 จากขยะทั้งหมด 27.8 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่มาจากอาหารเหลือทิ้ง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

องค์กรสิ่งแวดล้อม ชี้ ทั่วโลกปล่อย “คาร์บอน” ลดลง 4% หลังโควิด-19 ระบาด

เปิดข้อมูล 8 วิถีคนเมืองที่เปลี่ยนไปหลังโควิด -19 ภายใต้ชีวิตที่ต้องปรับตัวกันทั้งโลก