“กรณ์” ไขข้อสงสัย “ ทำไมมีแต่ธุรกิจเล็ก ๆ ที่ปิดตัว ”

“กรณ์” ไขข้อสงสัย “ ทำไมมีแต่ธุรกิจเล็ก ๆ ที่ปิดตัว ”


“กรณ์” ไขข้อสงสัย “ทำไมมีแต่ธุรกิจเล็ก ๆ ที่ปิดตัว” พร้อมชวนคนกล้า เดินหน้าร่วมกันแก้ปัญหาที่ธุรกิจขนาดเล็กต้องพบเจอ เพื่อปลดล็อควิถีเก่าๆ ความเชื่อแบบเดิมๆ

 

นาย กรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัญหาการปิดตัวของ SMEs โดยตั้งคำถามว่า “ทำไมมีแต่ธุรกิจเล็ก ๆ ที่ปิดตัว” ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีใจความดังนี้

 “ทำไมมีแต่ธุรกิจเล็กๆ ที่ปิดตัว”

เพราะโครงสร้างและนโยบายเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมา ไม่ได้เอื้อต่อการพัฒนาของธุรกิจขนาดเล็ก แต่เอื้อเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ จนทำให้ธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นคู่แข่งในตลาดลดน้อยลง

ทำไมผมถึงพูดแบบนี้? ถ้าเราดูตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่าน GDP ตลอด 4-5 ปี ที่ผ่านมา การเติบโตของประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับต่ำเป็นอย่างมาก ถึงจะไม่ใช่ช่วงโควิด ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ซ้ำยังลดลงเรื่อยๆ จนเป็นลำดับท้ายๆ ของอาเซียน ผิดกับใครที่เคยบอกว่าไทยจะกลายเป็นเสือใหญ่ในภูมิภาคนี้

แล้วปัญหานี้เกิดจากอะไร? ถ้าเรามองให้ลึกถึงตัวเลขของ GDP ที่เติบโตนั้น สัดส่วนราวๆ 30% เป็นผลรวมการเติบโตของกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือ SME นอกนั้นกว่า 70% เป็นของธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ทำให้ผลรวมของ GDP ค่อยๆ เติบโต

 

ในประเทศที่กำลังพัฒนา ธุรกิจขนาดเล็กหรือ SME นั้น ถือเป็นหลักกำลังสำคัญในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะยังมีช่องว่างทางธุรกิจ หรือขีดจำกัดของฐานรายได้ที่เหลือเฟือ ทำให้ธุรกิจเล็กๆ สามารถโตอย่างก้าวกระโดดได้ ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างเวียดนาม เห็นโอกาสตรงจุดนี้ จึงได้ผลักดัน SME ให้เติบโตอย่างรวดเร็ว จนทัดเทียมกับธุรกิจขนาดใหญ่ ด้วยการสร้างการแข่งขันในตลาดที่ยังมีช่องว่าง และทำให้ตัวเลขผลรวมทางเศรษฐกิจของประเทศเติบโต

แต่ภาครัฐของเรา กลับมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้เอื้อต่อธุรกิจขนาดเล็กหรือ SME เลย เช่น

1. มีนโยบายที่สร้างขีดจำกัดในการแข่งขันของตลาด
เช่นเรื่องของ Craft Beer ที่แต่ละประเทศพยายามส่งเสริมและผลักดัน แต่บ้านเราเองกลับมีข้อจำกัดทางกฎหมายที่บังคับให้มีกำลังการผลิตที่มาก หรือใช้ทุนจดทะเบียนที่สูง เพื่อจะทำให้สามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดเบียร์ไทย แล้วรายเล็กที่ไหนจะมีเงินทุนขนาดนั้น?

2. มีความซ้ำซ้อนของระบบและองค์กรรัฐทีไม่สอดคล้อง
และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ตัวอย่าง Craft beer อีกเช่นกัน

 

 

ถ้าผมต้องการจะทำธุรกิจ ผมคงต้องเดินเรื่องขั้นต่ำ 3 กระทรวงไม่ว่าจะเรื่องนำเข้า เรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ เรื่องการเพาะปลูก การทำเรื่องของแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม และการทำการค้าเชิงพาณิชย์ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งทุกๆ ครั้ง ผมจะต้องทำขั้นตอนซ้ำเดิมอยู่ตลอด เนื่องจากความล่าช้าในการเชื่อมต่อข้อมูล รวมถึงการประเมินศักยภาพของธุรกิจของผม ที่ต้องนับหนึ่ง ทุกๆ ครั้ง ที่ทำเรื่องเพื่อของใช้สิทธิต่างๆ ดังนั้นภาครัฐควรปรับปรุงให้เข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้ทุกที่ เพื่อลดขั้นความซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้น

3. มีการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ที่ไม่ได้มีมาตรการประเมินความเสี่ยงที่สอดคล้องกับธุรกิจไทยในโลกปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กไม่ได้สามารถผ่านเกณฑ์ได้รับความช่วยเหลือเหมือนธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่า

4. มีนโยบายการเข้าถึงตลาดที่เน้นแค่การผลิต ถ้ามองวิธีการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ผ่านมา จะเน้นที่การบอกประชาชนว่าแนวโน้มผลิตภัณฑ์อะไรกำลังจะเติบโต ทุกคนจะผลิตพร้อมกันทีละมากๆ และพอสินค้าล้นตลาด ราคาก็จะลดลง และขอร้องให้ประชาชนช่วยใช้สินค้านั้นๆ เพื่อเกษตร

ซึ่งรัฐไม่ได้มีการวางแผนการตลาดที่แน่นอนว่าจะแบ่งสัดส่วนที่พอเหมาะหรือกำหนดหลักเกณฑ์ในการผลิต และจะหาตลาดที่เหมาะสมอย่างไร การแปรรูป ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดเป็นสิ่งสำคัญ จะทั้งการทำวิจัยเพื่อสร้างเอกลักษณ์ใหม่, ออกข้อกฎหมายพิเศษ , หรือการหาลู่ทางการส่งออก เป็นต้น

สรุปจากทั้งหมดนี้ นโยบายของภาครัฐและเศรษฐกิจเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจให้เติบโต ผมอยากเชิญชวนคนกล้า เดินหน้าออกมารวมกันแก้ปัญหาที่ธุรกิจขนาดเล็กต้องพบเจอ เพื่อปลดล็อควิถีเก่าๆ ความเชื่อแบบเดิมๆ มากล้าลงมือทำไปด้วยกันครับ

สมัคร ส.ส. : https://candidate.klaparty.org
สมัครสมาชิกพรรค : https://register.klaparty.org
หรือสมัครผ่านช่องทาง LINE ได้ที่: @klaparty�

#ถ้าการเมืองดี #ไทยจะดีกว่าถ้ากล้าลงมือทำ
#ตามหาผู้กล้า #ปฏิบัตินิยม #ลงมือทำ
#พรรคกล้า

 

ข่าวที่น่าสนใจ