เปิดตัว Regenasia ปลุกคนรุ่นใหม่ ออกแบบนิเวศฟื้นฟูโลก

เปิดตัว Regenasia ปลุกคนรุ่นใหม่ ออกแบบนิเวศฟื้นฟูโลก

เปิดตัว Regenasia การสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยการเรียนรู้ เกื้อกูลเชื่อมโยงกัน ในระบบนิเวศปลูกฝังแนวคิด Regenerative ออกแบบฟื้นฟู ระบบนิเวศสร้างทุกชีวิตเชื่อมโยงเกื้อกูลโลก  ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ ผ่านห้องเรียนประสบการณ์จริง ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลง ร่วมมือกอบกู้โลก 

 

 

โลกของเราถือกำเนิดขึ้นมายาวนานกว่า 4,500 ล้านปี  ขณะที่สิ่งมีชีวิตตัวแรกของโลกตามหลักฐานการค้นพบอายุเก่าแก่ที่สุด ถือกำเนิดขึ้นมากว่า 3,800 ล้านปี วิวัฒนาการกำเนิดเซลล์ สิ่งมีชีวิตบนโลกมีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไป วนเวียนตลอดเวลา แต่ละช่วงวิวัฒนาการเมื่อถึงยุคอารยธรรมเริ่มต้น มีการเปลี่ยนผ่าน มีหักล้างความคิด (Paradigm Shift)  วัฒนธรรมเดิมในการขับเคลื่อนโลกในบริบทใหม่ให้ชีวิตดำรงอยู่ตลอดเวลา

 เมื่อก้าวเข้าสู่ศวรรษที่ 21 ท่ามกลางปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ (Climate Change) ทำให้โลกร้อนขึ้น การหยุดโลกเดือดได้ เพื่อรักษาการดำรงชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติ จึงมีการคิดค้นพัฒนาการฟื้นฟูโลกใหม่ด้วยกระบวนทัศน์ กลับคืนสู่แนวคิดมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ผ่านกรอบความคิด การฟื้นฟู สร้างเงื่อนไขกำเนิดชีวิตใหม่ ออกแบบให้ทุกชีวิตในระบบนิเวศได้เกื้อกูลพึ่งพาอาศัยกัน (Regenerative)

 

 

 

 

สำหรับแนวคิด Regenerative จากการฉายภาพของผู้บุกเบิกด้านการออกแบบความยั่งยืนเชิงการฟื้นฟู แดเนียล ซี. วาห์ล (Daniel C.Wahl) ผู้นำเกี่ยวกับการพัฒนา Regenerative ได้ระบุว่า Sustainable is not enough: We need regenerative cultures !  ซึ่งหมายถึง แค่เพียงความยั่งยืน ที่สืบสานรักษาต่อไป ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ไม่เพียงพอสำหรับประชากรทุกคนบนโลก เราจึงจำเป็นต้อง ฟื้นฟู ซ่อมแซม สร้างเสริม วัฒนธรรมกระบวนการเพิ่มพูนความหลากหลายซับซ้อนในระบบนิเวศจึงรุ่งเรืองสมบูรณ์อย่างทบทวีคูณ 

จึงเป็นที่มาของ การเปิดตัว รีเจนเอเชีย “RegenASIA” ก่อตั้งขึ้นมา โดยความร่วมมือระหว่าง ดร.ศิริกุล เลากัยกุล Country Director SB Thailand   ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ และ การสร้างแบรนด์เพื่อความยั่งยืนระดับโลก และ มาร์ค บัคเลย์ นักเศรษฐศาสตร์เชิงนิเวศ  (Ecological Economist) อธิบายถึงเหตุผลของการก่อสร้างรีเจนเอเชีย มีเป้าหมายในการสร้างผลกระทบเชิงบวกไปสู่โลกยั่งยืนผ่านวิธีการเรียนรู้จากการเยี่ยมชมระบบนิเวศฟาร์มปศุสัตว์หมูไดนามิก แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ไร่  ว. ทวีฟาร์ม ต.บ้านเม็ง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

 

 

Regenerative สร้างชีวิตใหม่ให้ระบบอาหารโลกมั่นคง 

 ดร. ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ Country Director SB Thailand  กล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ และ การสร้างแบรนด์เพื่อความยั่งยืนระดับโลก ได้เปิดมุมมองถึงความหมายของการฟื้นฟู ซ่อมแซม และสร้างขึ้นมาใหม่ (Regenerative) ที่กำลังจะพัฒนาขึ้นในทวีปเอเชีย จะเกิดประโยชน์กับไทย หากนำแนวคิดการพัฒนาแบบ Regenerative ซึ่งหมายถึงกระบวนการออกแบบการอยู่อาศัยของระบบนิเวศ ให้มีคุณภาพ และสร้างชีวิตใหม่ โดยการหวนคืนกลับไปสู่สร้างกระบวนการเงื่อนไขใหม่เพื่อให้มีการเกิดขึ้นอยู่อาศัยเกื้อกูลกันในธรรมชาติ 

 

 

 

 

ปัญหาโลกแปรปรวนส่งผลต่อระบบอาหารเริ่มบิดเบี้ยว ไม่มั่นคง ขาดความยั่งยืน เพราะยังมีมนุษย์ เผชิญกับความหิวโหย ขาดแคลนอาหาร บางส่วนที่ถูกลดคุณภาพ ลดสารอาหารจึงทำให้คนเจ็บป่วยทางกายและทางจิตใจ 

“เราเดินมาถึงจุดที่โลกทนไม่ได้ อาหารจึงไม่สร้างสุขภาวะที่ดี ดังนั้น จึงต้องลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อสุขภาวะของโลก คนต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง เพราะคนไม่ใช่ศูนย์กลางจักรวาลอีกต่อไป เมื่อเราเห็นปัญหาทุกอย่างในโลก และโลกร้อนขึ้นมาไม่กี่องศา ทำให้มนุษย์เราแทบอยู่ไม่ได้ จึงต้องทำเพื่อชีวิตคน ถึงเวลาต้องหวนกลับคืนสู่การเริ่มต้น Regenerative ลุกขึ้นมาตอบคำว่า “ความยั่งยืน” Sustainable ให้มีการยกระดับทำให้มากขึ้นกว่าเดิม“ 

 

 

 3 R ไม่เพียงพอ สุดท้าย ทรัพยากร ก็มีวันหมด หากสร้างเพิ่ม 

ไม่ใช่เพียงแค่ การพิทักษ์รักษามรดกทรัพยากรของโลกให้คงอยู่ ผ่านกระบวนการ 3 R ( Reduce Reuse Recycle) ซึ่งทำเช่นนี้ ไม่เพียงพอ เพราะการนำทรัพยากรมาใช้แบบค่อย ๆ ลดจำนวนน้อยลง นำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล แล้วไม่มีความพยายามหาใหม่ ใช้ทรัพยากรไปเรื่อย ๆ ในที่สุด ก็ส่งผลทำให้หมดไปได้ 

“หากยังมองในวิถีเดิมทรัพยากรยังไงก็หมด แม้จะหมดช้าลง แต่หมดแน่นอน เพราะไม่มีความพยายามกอบกู้ เช่น แค่เพียงจับปลาตามฤดูกาล แต่ไม่เคยดูแล คุณภาพน้ำในมหาสมุทร และระบบนิเวศ ที่ไม่ได้รับการดูแล หากอยากมีอนาคตที่ดีขึ้น ต้องทำรีเจเนอเรชั่น ทำให้อยู่ในจุดสมดุล และปรับปรุงรับความเปลี่ยนแปลง (resilience) ฟื้นฟู  (restoration) “ 

 

 

ปรับไมด์เซ็ท จากลดตัวตน กอบโกย สู่เคารพ สำนึกบุญคุณธรรมชาติ 

สิ่งเหล่านี้คือกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)  แค่ทำตามกฎระเบียบกติกาโลก หรือ กฎหมายจึงไม่เพียงพอ ต้องทำอะไรเพื่อตอบแทนธรรมชาติ สำนึกบุญคุณ เพราะมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ จึงต้องแสดงความเคารพในธรรมชาติ สร้างระบบนิเวศที่แข็งแรง ลดความเป็นตัวตน ที่พาตัวเองอยู่ห่างจากธรรมชาติ 

“การทำงานของธรรมชาติ จะช่วยฟื้นฟูทุกชีวิต แมลง เห็ด ไก่ มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การทำงาน ไม่ควรอวดเก่งสู่รู้ แต่ต้องเรียนรู้ เพราะทุกคนไม่ว่าจะเล็กแค่ไหน ล้วนมีฟังก์ชันเป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติ แม้กระทั่งหนอนเล็ก ๆ มีส่วนสำคัญเกื้อกูลสุขภาพของดิน (Soil Health) จึงต้องมีการปลูกพืชหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่การทำไร่เลื่อนลอย ที่หมดสารอาหารก็ย้ายไปปลูกทำไร่ที่ใหม่ ไม่คิดฟื้นฟูแหล่งเพาะเดิม”

 

 

 

 

เอเชีย ทวีปแห่งฐานการผลิตอาหาร ที่ต้อง Regenerative 

ปัจจุบัน ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร ถือเป็นปัญหาใหญ่ของชาวเอเชีย ทั้งที่เป็นพื้นที่มีรากฐานของเกษตรกรรมต้นทางการผลิตอาหาร เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในเอเชีย จึงต้องมีการฟื้นฟูระบบการผลิตอาหาร เช่น เมืองไทย เป็นครัวของโลก (Kitchen to The world) แต่หากขาดการฟื้นฟูซ่อมแซมระบบการผลิตอาหาร (Food System)  สุดท้ายก็มีความเสี่ยง ขาดความมั่นคงทางอาหาร จึงต้องกลับมาทบทวนเริ่มฟื้นฟูกระบวนการผลิตอาหาร เพิ่มสารอาหาร เพิ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศให้เกื้อกูลกัน มีการปล่อยให้เติบโตได้โดยธรรมชาติ (Organic) จนย้อนกลับไปถึงวัฒนธรรมการกิน การบริโภคของคน ให้คิดถึงอนาคต 

 

 

 

เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันโลกยังมีความท้าทาย เกี่ยวกับความยากจน ไม่มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถทำได้โดยตัวคนเดียว เราจึงต้องมีการเชื่อมโยงกับทุกสรรพสิ่งบนโลก มองเป็นองค์รวม(Holistic)  ร่วมมือกันเปลี่ยนผ่าน แบ่งปันองค์ความรู้ สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ ลุกขึ้นมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานในระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต ผ่านประสบการณ์ (Learning Experience)  เพื่อให้คนรุ่นใหม่เป็นพลังสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) 

 

 

 

 

 

 

 

“สาเหตุที่ต้องเลือกเอเชียเป็นแหล่งเรียนรู้ เพราะเอเชีย มีพื้นฐานสำคัญของการเป็นแหล่งผลิตอาหาร ให้กับโลก และมีการความหลากหลายของ วัฒนธรรม และชาติพันธ์ุ ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นการขับเคลื่อนในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อความยั่งยืนจึงต้องเริ่มต้นจาก เอเชีย”

รีเจนเอเชีย จึงเป็นการพัฒนาขึ้นมาสร้างการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จะนำไปสู่การส่งต่อ ปัญญา (Wisdom) จากการเดินทาง ทริปท่องเที่ยว การสัมผัสผ่านสถานที่จริง ทำให้คนรู้สึกเข้าใจในระบบนิเวศ เกิดองค์ความรู้จากภายใน เมื่อได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ต้องการสร้างพลังจากแหล่งผลิตอาหาร (Power of Place) ทำให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาส่งผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เกิดความร่วมมือกัน ตอบโจทย์การพัฒนายั่งยืน (SDGs) ข้อ 17 การสร้างความร่วมมือ (Partnership) 

 “การเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมแบ่งปันองค์ความรู้ โดยจุดเรียนรู้ธรรมชาติแห่งแรกที่จะเดินทางจัดทริปไปคือ เกาะบอร์เนียว อินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นป่าใหญ่ของเอเชีย หรือ อเมซอนแห่งเอเชีย  จุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูสมดุลธรรมชาติคืนสู่โลก”