ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการพัฒนาแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยความพร้อมด้านภูมิประเทศและแสงแดดที่เข้มข้นตลอดปี ตลอดจนแรงกดดันด้านต้นทุนราคาพลังงาน ส่งผลให้โครงการติดตั้งโซลาร์รูฟและฟาร์มแสงอาทิตย์ขยายตัวต่อเนื่องในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าในอนาคตก่อนปี 2593 การเติบโตในประเทศไทยเฉลี่ยเกือบ 10% ต่อปี
ในยุคปัจจุบันที่ความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันโลกก็กำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติที่ลดน้อยลง พลังงานแสงอาทิตย์จึงก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในทางเลือกที่สำคัญสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยความเป็นพลังงานสะอาดที่สามารถผลิตได้อย่างไม่มีวันหมด อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล
เทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบโซลาร์เซลล์ที่สามารถติดตั้งได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน หรือการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานนี้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การผลิตไฟฟ้า การทำน้ำร้อน และการชาร์จพลังงานให้กับยานพาหนะไฟฟ้า
พลังงานแสงอาทิตย์จึงไม่เพียงเป็นพลังงานทางเลือก แต่กำลังกลายเป็นพลังงานแห่งอนาคต ที่ช่วยสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคตอย่างยั่งยืน
สถานการณ์ด้านการผลิต การจัดหา และการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย
การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคส่วนต่าง ๆ โดยปัจจุบัน มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 199,917 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) เพิ่มขึ้น 6.3%YoY เป็นการใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด คิดเป็น 58.5% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้รองลงมาคือ ถ่านหินและลิกไนต์ (13.9%) พลังงานหมุนเวียน (9.6%) และอื่น ๆ (2.8%) ตามลำดับ
นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศ เช่น ไฟฟ้าพลังน้ำ ไฟฟ้าจากถ่านหิน/ลิกไนต์ เป็นต้น อีกราว 15.3% ด้านการใช้ไฟฟ้าปัจจุบันมีปริมาณอยู่ที่ 181,206 GWh เพิ่มขึ้น 5.9%YoY เป็นการใช้ไฟฟ้าโดยภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นสัดส่วน 40.9% ของไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด รองลงมาคือ ภาคครัวเรือน (29.3%) ภาคธุรกิจ (24.8%) และภาคส่วนอื่น ๆ (5.0%) ตามลำดับ
กำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนไทยค่อนข้างคงที่
ส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย พบว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าค่อนข้างคงที่ โดยมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปี (CAGR) เพียง 0.7% ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา โดยช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 12,840 เมกะวัตต์ (MW) เพิ่มขึ้นจากกำลังการผลิตในปี 2566 ราว 0.2%YTD แบ่งออกเป็นการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวมวล (Biomass) มากที่สุด ที่3,798 MW หรือคิดเป็นสัดส่วน 29.6% รองลงมาด้วยคือ พลังงานแสงอาทิตย์ (รวมพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน และพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ) (Solar) 3,378 MW (26.4%) พลังงานน้ำ (Hydro) 3,132 MW (24.4%) พลังงานลม (Wind) 1,544 MW (12.0%) พลังงานก๊าซชีวภาพ (Biogas) 557 MW (4.3%) และพลังงานจากขยะและพลังงานทดแทนอื่น ๆ เช่น ความร้อนใต้พิภพ ก๊าซเหลือใช้จากกระบวนการผลิต เป็นต้น (Waste & Others) 432 MW (3.4%)
ทั้งนี้ ประเทศไทยยังมีกำลังการผลิตเพียงราว 27.8% ของเป้าหมายการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดตามร่างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (PDP2024) ซึ่งกำหนดเป้าไว้สูงถึง 34,851 MW และยังต้องการเพิ่มกำลังการผลิตอีกกว่า 22,011 MW โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งกำหนดเป้าไว้ที่ 27,093 MW ขณะที่กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานดังกล่าวปัจจุบันได้แค่เพียง 3,378 MW หรือราว 12.5% ของเป้าทั้งหมด
การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขยายตัวมากในรอบ 10 ปี
การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีการขยายตัวอย่างมากในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดลงในต้นทุนการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพลงังานจากแสงอาทิตย์ขณะเดียวกันราคาแบตเตอรี่ที่มีแนวโน้มลดลงยังสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงแดด ทำให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน
นอกจากนี้ การลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิล และความต้องการใช้งานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน/พลังงานสะอาดที่เพิ่มมากขึ้นยังผลักดันให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามามีบทบาทในการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก ทั้งนี้ ข้อมูลจาก IRENA แสดงให้เห็นว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลงังานแสงอาทิตย์ทั่วโลกขยายตัวจากในปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ราว 180 กิกะวัตต์(GW) เป็น 1,418 GW ในปี 2566 หรือขยายตัว 7.9 เท่า โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียมีการขยายตัวถึง 14.1 เท่า นอกจากนี้ IRENA ยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2593 กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกจะขยายตัวสูงถึง 20,059 GW หรือมากกว่ากำลังการผลิต ณ ปี 2566 ถึง 12.5 เท่า คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ที่ 9.8%
ในประเทศไทย การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีการขยายตัวเช่นเดียวกับตลาดโลกโดยกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลงังานแสงอาทิตย์ของไทยเดิมเคยอยู่ที่ราว1,304 MWในปี 2557 มีการขยายตัวขึ้นเป็น 3,378 MW ณ เดือนกันยายน 2567หรือเติบโตเฉลี่ย (CAGR)ราว 10.0%โดยกำลังการผลิตไฟฟ้าเกือบทั้งหมดเป็นการผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 3,309 MW (98.0%) ที่เหลือ 69 MW(2.0%) เป็นพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผน PDP2018 (แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 หรือที่เรียกว่าแผน PDP2018 เป็นแผนการขยายกำลังการผลิตและส่งไฟฟ้าของประเทศในระยะยาว เพื่อสร้างความมั่นคงและความเพียงพอของกำลังการผลิตไฟฟ้า) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1(PDP2018 Rev.1) (เป็นแผนฉบับที่บังคับใช้ในปัจจุบันจนกว่าร่างแผน PDP2024 แผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 เป็นแผนที่เน้นความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ, ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แผนนี้จะมีกำลังการผลิตใหม่ 60,208 เมกะวัตต์ เน้นพลังงานหมุนเวียนถึง 34,851 เมกะวัตต์ เช่น แสงอาทิตย์และพลังงานลม ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลงังาน (กกพ. หรือ ERC) ได้ออกประกาศระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ปี 2565-2573
สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงพ.ศ.2565เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 โดยมีเป้าหมายรับซื้อไฟฟ้า จากผ้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (Small Power Producer: SPP) และผ้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer: VSPP) จำนวน 5,203 MWแบ่งออกเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) 2,368 MW ไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar Farm + BESS) 1,000 MW ไฟฟ้าจาก
พลังงานลม 1,500 MW และไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 335 MW โดยสรุปจ านวนโครงการที่ภาคเอกชนยื่นคำขอเข้าร่วม การรับซื้อไฟฟ้าในครั้งนี้ (เฟส 1) และผ่านเกณฑ์ตามที่ กกพ. กำหนดทั้งสิ้น 175 โครงการ รวมปริมาณไฟฟ้าที่เสนอขาย 4,852.3 MWแบ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์ม 2,368 MW ไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน 994.1 MW และไฟฟ้าพลังงานลม 1,490.2 MW (ไม่มีผู้ผ่านเกณฑ์ฯ ในส่วนของไฟฟ้าจากก๊าซชีวมวล)
เนื่องด้วยมีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจำนวนมากแสดงความสนใจยื่นเสนอโครงการในเฟส 1 มากถึง 670 โครงการ รวมกำลังการผลิตที่เสนอขาย 17,400 MW (มากกว่าเป้าที่กำหนดไว้เพียง 5,203 MW) กกพ. จึงได้มีการประกาศเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565(เพิ่มเติม) หรือการเปิดรับซื้อไฟฟ้าเฟส 2 รอบที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2567 มีเป้าหมายรับซื้อไฟฟ้า2,216.5 MW แบ่งเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) 1,580 MW ไฟฟ้าจากพลังงานลม 600 MW ไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 6.5 MW และไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม 30 MW โดยเมื่อวันที่16 ธันวาคม 2567 กกพ. ได้ออกประกาศรายชื่อผ้ยูื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมสำหรับการเปิดรับซื้อไฟฟ้าเฟส 2 รอบที่ 1 ที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 72 โครงการ รวมปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขาย 2,145.4 MW แบ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์ม 1,580 MW และไฟฟ้าจากพลังงานลม 565.40 MW นอกจากนี้กกพ. จะมีการเปิดเชิญชวนรับซื้อไฟฟ้าทั่วไป (หรือการเปิดรับซื้อไฟฟ้า เฟส 2 รอบที่ 2) ซึ่งยังเหลือการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์อีก 1,052 MW และพลังงานลมอีก 400 MW ในอนาคต
ภาครัฐเป็นแหล่งหลักในการรับซื้อพลังงานแสงอาทิตย์
ทั้งนี้ หากพิจารณาเป้าหมายที่ภาครัฐจะรับซื้อไฟฟ้าจากพลงังานแสงอาทิตย์จากภาคเอกชนรวม 7,087 MW ตามร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2564-2580 (AEDP 2021-2037 Rev.2) จะเห็นได้ว่าปัจจุบันปริมาณที่ กกพ. เปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์(ทั้ง Solar Farmและ Solar Farm + BESS) ในเฟส 1 เฟส 2 รอบที่ 1รวมถึงเฟส 2 รอบที่ 2(ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดประกาศออกมา)ครบเป้าที่กำหนดไว้แล้ว
ส่วนการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน หรือโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีการดำเนินโครงการโซลาร์ภาคประชาชน เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปปริมาณ 90 MW โดยมีการไฟฟ้านครหลวง (กฟน. หรือ MEA) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. หรือ PEA) เป็นผู้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้า ซึ่งเปิดรับสมัครผู้สนใจยื่นเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่เดือน ม.ค.- มิ.ย. 2567โดยข้อมูล ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2567 พบว่า ทั้ง กฟน. และ กฟภ. มีการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคประชาชนครบตามเป้าที่กำหนดไว้แล้วเช่นกัน สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ หรือโซลาร์โฟลทติ้ง(Solar Floating) ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกบัการเปิดรับซื้อไฟฟ้าเหมือนกรณีพลังงานแสงอาทิตย์ประเภทอื่น
โดยปัจจุบัน ผู้ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์โฟลทติ้งในไทย ประกอบด้วยภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น กฝผ. (ดำเนินโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่เขื่อนสิรินธร) บริษัท เอ็นพีเอส โซลาร์ จำกัด (ดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ ตั้งอยู่ที่สวนอุตสาหกรรม 304 อินดัสเตรียล ปาร์ค จังหวัดปราจีนบุรี) เป็นต้น คาดว่ายังมีช่องว่างสำหรับการผลิตไฟฟ้าประเภทนี้อยู่ โดยเป้าหมายการรับซื้อตามแผน AEDP 2021-2037 Rev.2อยู่ที่ 997 MW
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 นาย พีระพันธุ์ สาลีรฐัวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มีคำสั่งไปถึง กกพ. ให้ระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในโครงการรอบเพิ่มเติม (เฟส 2 รอบที่ 1 และรอบที่ 2 ซึ่งยังไม่ประกาศเปิดรับสมัครผู้สนใจฯ) ไว้ชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่าโครงการดังกล่าวดำเนินการก่อนที่พีระพันธุ์จะเข้ารับตำแหน่ง และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสอดคล้องกับข้อเรียกร้องจากบุคคลภายนอก ทั้งนี้ มีคำสั่งให้ระงับการดำเนินการจนกว่าการตรวจสอบจะแล้วเสร็จต่อไป สถานการณ์นี้ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยตามมา โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้าแล้วในการยื่นเข้าร่วมโครงการฯ เฟส 2 รอบที่ 1 นี้
ถึงกระนั้น ยังคงคาดการณ์ได้ว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในไทยจะยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องตามแนวโน้มโลกและความต้องการพลังงานแสงอาทิตย์ที่มากขึ้น โดยจากร่างแผน PDP2024 จะยังมีช่องว่างของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในไทยอีกกว่า 23,715 MW ภายในปี 2573 แต่ต้องติดตามความชัดเจนของการเปิดรับซื้อไฟฟ้าของ กกพ. ที่ระงับชั่วคราวจะได้ข้อสรุปอย่างไร รวมถึงการประกาศเปิดรับซื้อไฟฟ้าในอนาคต ทั้งในส่วนที่ยังไม่ได้เปิดรับซื้ออีก 1,452 MW (เฟส 2 รอบที่ 2) รวมถึงการเปิดรับซื้อไฟฟ้าอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามเป้าตามร่างแผน PDP2024
สถานการณ์ธุรกิจการให้บริการระบบพลังงานแสงอาทิตย์(Solar-Corporate PPA) ในประเทศไทย
ธุรกิจ Solar-Corporate PPA คือรูปแบบธุรกิจที่ผู้ประกอบการ (ผู้ผลิต) ลงทุนผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ตามความต้องการของเจ้าของอาคาร/สถานที่ที่ว่าจ้างให้ผลิตไฟฟ้า(ผู้ใช้ไฟฟ้า) โดยมีการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวระหว่างผ้ผู้ลิตและผู้ใช้ไฟฟ้า
ทั้งนี้ รูปแบบติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์มีทั้งในพื้นที่ของผู้ผลิตไฟฟ้าเอง หรือในพื้นที่ของผู้ใช้ไฟฟ้า เช่น บนหลังคาหรืออาคารของลูกค้า เป็นต้น โดยอาจใช้ระบบการนำจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าโดยผู้ผลิตไฟฟ้าเอง หรือโดยหน่วยงานภาครัฐ (ระบบสายส่งไฟฟ้าของรัฐ) ทั้งนี้ธุรกิจดังกล่าวมีโอกาสการเติบโตอย่างมากตามความต้องการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เติบโตขึ้นทั่วโลก เช่น ความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนในธุรกิจ Data Center และ Cloud Services เป็นต้น โดย Bloomberg NEF คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตไฟฟ้ารูปแบบ Renewable-Corporate PPA (ส่วนมากเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม) ซึ่งประเมินว่าในปี 2563 อยู่ที่ราว 23.7 พันเมกะวัตต์ จะเติบโตเป็น 116.7 พันเมกะวัตต์ในปี 2573 หรือเติบโต CAGR กว่า 17.3%
สำหรับในประเทศไทย ธุรกิจ Solar-Corporate PPA มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีเนื่องจากโรงงานและอาคารสำนักงานเป็นจำนวนมากหัน มาติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลงัคาของโรงงานผลิตหรืออาคาร เพื่อลดต้นทุนค่าสาธารณูปโภค หรือเพื่อให้สอดคล้องไปตามทิศทางของธุรกิจที่ปรับตัวมุ่งสู่ Net Zero Carbon Emissions โดยข้อมูลจาก กกพ. พบว่า ในปี 2567 โรงงานที่ได้รับอนุมัติติดตั้งระบบไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีจำนวน 184 แห่ง (นับรวมทั้งชนิดเชื้อเพลิงหลักและชนิดเชื้อเพลิงเสริมที่เป็นพลังแสงอาทิตย์) เพิ่มขึ้น 48.4%YoY และเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ระหว่างปี 2561-2567 ถึง 28.4% ขณะเดียวกัน ด้วยระดับราคาของแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ที่ลดลง ส่งผลทำให้ต้นทุนการติดตั้งระบบฯ สามารถเข้าถึงได้ และภาคครัวเรือนเริ่มนิยมติดต้งโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาบ้านกันมากขึ้นเช่นกัน
ปัจจุบัน การแข่งขันในธุรกิจการให้บริการระบบพลงังานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยยังอยู่ในระดับ ต่ำโดยเฉพาะในรูปแบบ Solar-Corporate PPA เนื่องจากมีผู้ประกอบการจำนวนไม่มากนัก เมื่อประกอบกับการขยายตัวของอุปสงค์ของตลาดที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ธุรกิจนี้ยังมีศักยภาพในการเติบโตสูงต่อไปอีกในอนาคต และดึงดูดให้มีนักลงทุนรายใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการในประเทศไทยที่เป็นผู้เล่นสำคัญในธุรกิจการให้บริการระบบพลังงานแสงอาทิตย์(รวมผู้นำเข้า/ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ผู้นำเข้า/ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และผู้ให้บริการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์) เป็นดังรูปต่อไปนี้
รัฐบาลไทยได้มีนโยบายส่งเสริมและผลักดันภาคเอกชนรายย่อยเข้าถึงการใช้ไฟฟ้าสะอาดจากพลังแสงอาทิตย์โดยเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ … (พ.ศ. …) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 กำหนดยกเว้นให้การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา หรือโซลาร์รูฟท็อปทุกกำลังการผลิต ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานและไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน การปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดขั้นตอนการขอใบอนุญาต และอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน ซึ่งเดิมกฎหมายกำหนดให้การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ได้แก่ ใบอนุญาตประกอบกิจการตามมาตรา 47 (ดำเนินการขอกับ กกพ. ใน 2 ใบอนุญาต คือ ใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน และใบอนุญาตยกเว้นไม่เป็นผู้ประกอบกิจการพลังงาน) และใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับอาคารตามมาตรา 48 (ประกอบด้วยใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4), ใบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร อ.1 และใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม พค.2) แต่เมื่อมีการยกเว้นเกิดขึ้น ช่วยให้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) อีกต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผ้ปูระกอบการที่ต้องการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปในอนาคต
สำหรับผู้ประกอบการที่มีการลงทุน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรหรือโรงงานหรือสถานประกอบการ หรือเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์เซลล์) ในธุรกิจของตน ยังสามารถขอรับสิทธิประโยชน์จาก BOI โดยจะได้รับการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งจำนวนเงินที่สามารถลดภาษีนั้น จะคำนวณจาก 50% ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง) และสามารถลดภาษีอากรนำเข้าเครื่องจักร รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) นอกจากนี้ BOI ยังมีการให้สิทธิประโยชน์ทางการลงทุนแก่นักลงทุนที่ประกอบและดำเนินธุรกิจการให้บริการระบบพลงังานแสงอาทิตย์(รวมถึงการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์สำหรับระบบที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เช่น เซลล์แสงอาทิตย์และแผงโซลาร์เซลล์) อันได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมเป็นระยะเวลา 8 ปี ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร อากรนำเข้าเพื่อวิจัย อากรวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี เช่น การถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน การนำเข้าช่างฝีมือ/ผู้เชี่ยวชาญ วีซ่าและใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น
แนวโน้มของธรุ กิจในอนาคต
ในปี 2568 คาดว่าธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์และการให้บริการระบบพลงังานแสงอาทิตย์จะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากช่วงหลายปี ที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญ ได้แก่ ความต้องการใช้พลังงานทดแทน/พลังงานสะอาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจที่ต้องปรับตัวมุ่งสู่การเป็น Net Zero Carbon Emissions รวมไปถึงเป็นไปตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การผลิต และการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการเติบโตของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ซึ่งทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยรวมของประเทศเพิ่มสูงขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่และเทคโนโลยีแผงโซลาร์เซลล์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบกักเก็บพลังงานที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังทำให้ต้นทุนการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ลดต่ำลงส่งผลให้ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวได้มากขึ้น และเกิดเป็นเทรนด์ของการหันมาติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป และดำเนินการการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนกับภาคเอกชน (Solar-Corporate PPA) เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในโรงงานผลิต อาคารสำนักงาน และบ้านเรือน นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการภาคเอกชนในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์และการให้บริการระบบพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงความจำเป็นในการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้ในร่างแผน PDP2024
อย่างไรก็ดี ธุรกิจนี้อาจเผชิญความเสี่ยงจากบางปัจจัย อาทิการเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐ โดยการระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนชั่วคราวที่เกิดขึ้น ส่งผลให้การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภาครัฐ-ภาคเอกชน(Public PPA) เกิดความล่าช้าจากเดิม กระทบต่อผู้ประกอบการในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์หลายราย ความไม่แน่ชัดของทิศทางแผนนโยบายด้านพลังงานของประเทศ โดยเฉพาะร่างแผน PDP2024 ซึ่งยังอยู่ระหว่างการทำปรับแก้ไขหลังจากทำประชาพิจารณ์และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (จากเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปี 2567) จึงทำให้ทิศทางการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศขาดความชัดเจน โดยเฉพาะทิศทางของภาครัฐ (กฟผ. กฟน. และ กฟภ.) ที่จะเข้ามามีบทบาทมากน้อยเพียงใดในการดำเนินการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า และการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของประเทศ นอกจากนี้ ยังต้องคอยติดตามการประกาศรับซื้อไฟฟ้าในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จากภาครัฐ (ทั้งโซลาร์ฟาร์ม โซลาร์ฟาร์มร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน และโซลาร์รูฟท็อปภาคครัวเรือน) เต็มโควต้าที่กำหนดไว้ตามแผน AEDP แล้ว การแข่งขันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รวมถึงความเสี่ยงจากสภาพอากาศและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หยุดชะงักหรือเกิดความเสียหาย
ที่มา: วิจัยธุรกิจ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด