การเป็นผู้นำในยุคปัจจุบันไม่เพียงแค่ใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจ แต่ยังต้องผสมผสานการดูแลจิตใจ ความยั่งยืน และสุขภาวะ เพื่อสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนทั้งต่อองค์กรและสังคม
โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร
Co-Founder IDGs Asia Pacific Innovation Center -Leadership Hub Thailand
CEO University of Happiness
ผู้แต่งหนังสือขายดี :
ศาสตร์ผู้นำสู่ความยั่งยืน, เหนือกว่ากำไร,
Well-Being Leader, DNA Of Leadership Happiness
ในโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและความท้าทาย การเป็นผู้นำที่มีความสามารถในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและมีผลกระทบในเชิงบวกทั้งต่อองค์กรและสังคมไม่ได้เกิดขึ้นจากการใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องมาจากการผสมผสานแนวคิดที่เน้นการดูแลทั้ง จิตใจ (Mindfulness), ความยั่งยืน (ESG Strategy), การพัฒนาศักยภาพภายในตนเอง (IDGs : Inner Development goals) และ การดูแลสุขภาวะ (Well-Being) ที่สามารถสร้างสมดุลและเพิ่มพลังในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนในทุกมิติ จะช่วยสร้างผู้นำที่มีพลังทั้งในด้านจิตใจและร่างกาย สามารถตัดสินใจได้อย่างมีสติและมั่นคงในทุกสถานการณ์ และสามารถขับเคลื่อนองค์กรและทีมงานให้เติบโตอย่างยั่งยืนผ่านการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทั้ง 4 มิติ อันได้แก่
- สร้างผู้นำที่มี Mindfulness มีพลัง สติ จิตใจ และการกระทำที่ยั่งยืน
Mindfulness คือการมีสติหรือการรับรู้ในปัจจุบัน การฝึกฝน mindfulness ไม่เพียงแต่ช่วยให้เราสามารถจัดการกับความเครียดและแรงกดดันได้ดีขึ้น แต่ยังช่วยปรับสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจอย่างมีประสิทธิภาพ ในโลกที่เร่งรีบและเชื่อมโยงกันมากขึ้น การผสมผสานการใช้สติกับ Whole Brain-Based Leadership และประยุกต์ใช้กับศาสตร์ในการดำเนินที่ชีวิตที่เป็็น The Art of Mindfulness Living สามารถช่วยผู้นำในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและรับมือกับความท้าทายในชีวิตการทำงาน
การผสมผสาน Tension Release Exercisee ร่วมกับ mindfulness ยังสามารถนำมาปรับใช้ ในการจัดการกับความตึงเครียดในที่ทำงาน หรือแม้แต่การรู้จักสัญญาณของ Body Intellience ที่จัดการสะท้อนความเครียดจากร่างกายและจิตใจในสถานการณ์ทางการตัดสินใจที่ซับซ้อน เมื่อจิตใจโล่งโปร่งสบายอยู่ ระบบประสาทอยู่ใน Zone ที่จิตมีพลังและเฉียบคม เช่น การตัดสินใจในภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน การมีสติและสามารถอยู่กับปัจจุบันได้ จะช่วยลดความวิตกกังวลและการตัดสินใจที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจ
การใช้ Finance Wisdom ร่วมกับ mindfulness คือการตัดสินใจโดยมองภาพรวม และไม่ให้ถูกครอบงำด้วยความรู้สึกหรือตอบสนองตามอารมณ์ในเวลานั้นๆ ผู้นำที่มีความสามารถในการฝึกฝน mindfulness สามารถนำไปสู่การวางแผนทางการเงินที่ยั่งยืนในระยะยาว และการนำทีมผ่านช่วงวิกฤตได้อย่างมีความสุขและมั่นคงมากขึ้น
- การพัฒนา ESG Strategy ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกและยั่งยืน
สร้างกลยุทธ์ ESG (Environmental, Social, and Governance) ที่สามารถนำไปใช้ในองค์กรเพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน ไม่เพียงแต่ในแง่ของผลกำไรทางการเงิน แต่ยังคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ผู้นำจะรู้วิธีการปรับกลยุทธ์เหล่านี้ให้สอดคล้องกับค่านิยมและเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร
ในปัจจุบัน การ นำ ESG มาใช้ในองค์กร ไม่ได้เป็นแค่การพัฒนาและปรับตัวตามแนวโน้มของตลาดเท่านั้น แต่เป็นการสร้าง ผู้นำที่มีความรับผิดชอบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ของการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการสร้าง Well-Being Vision, Culture และ Team Leadership Building ที่มุ่งเน้นการดูแลทั้งบุคลากรและสังคม
การสร้างทีม C-Suite ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนา ESG Strategy เป็นสิ่งสำคัญเพื่อขับเคลื่อนองค์กรในทิศทางที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการเลือกผู้นำที่มีความเข้าใจในการสร้าง Corporate Well-Being ซึ่งผู้นำเหล่านี้ไม่เพียงแต่ต้องมีความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม แต่ยังต้องมีความสามารถในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในองค์กร
การผสมผสานระหว่าง ESG leadership และการดูแลสุขภาพจิตของพนักงานในองค์กร สามารถช่วยสร้างวัฒนธรรมที่มั่นคงและสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยการให้ความสำคัญกับวิสัยทัศน์ที่เน้น Well-Being เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร ผู้นำใน C-Suite ที่มีความรับผิดชอบและเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ที่ยั่งยืน สามารถสร้างองค์กรที่ไม่เพียงแค่สร้างผลกำไร แต่ยังมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยการบูรณาการ IDGs (Inner Development Goals) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถภายในตัวผู้นำและทีม
- การขับเคลื่อนกลยุทธ์ IDGs (Inner Development Goals) โดยการเปลี่ยนจาก Green Washing ไปสู่การเป็น Green Being เป็นหนึ่งในทิศทางที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งต้องการผู้นำที่เข้าใจถึงความหมายของความยั่งยืนจริงๆ และไม่เพียงแต่พูดถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ต้องมีการกระทำที่จับต้องได้และส่งผลจริง
การนำ EI (Emotional Intelligence) และ AI (Artificial Intelligence) มาใช้ร่วมกันในการจัดการกลยุทธ์ ESG ช่วยให้เกิดความเข้าใจและความเอื้ออาทรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผสมกับความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนโดยฉพาะอย่างยิ่งระหว่างคนในหลายๆ เจนเนอเรชั่นเพื่อให้การมองทั้งภาพรวมและความรู้สึกอย่างครบในทุกมิติ
การสร้าง Cross Generation Compassionate Communication ที่ผู้นำจากหลากหลายเจนเนอเรชั่นมาทำงานร่วมกันและส่งเสริมการมีสติ การเข้าใจการสื่อสารอย่างเข้าอกเข้าใจตัวตนของแต่ละบุคคลจะช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์ ส่งผลให้สามารถจัดการกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น
- การสร้าง Well-Being Culture ที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพทั้งจิตใจและร่างกายของทีมการดูแลสุขภาพจิตและร่างกายของทั้งผู้นำและทีมงานเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างวัฒนธรรม ในองค์กร ผู้นำที่ใส่ใจในสุขภาพของตนเองและทีมจะสามารถส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความสุขและความร่วมมือ ส่งผลให้ทีมงานมีความมุ่งมั่นในการทำงานและผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
Well-Being ของผู้นำเป็นส่วนสำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ในโลกที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูงและมีความซับซ้อนมากขึ้น การดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้นำจะช่วยให้พวกเขามีพลังและความสามารถในการตัดสินใจที่ดีขึ้น Happineering การสร้างวิศวกรรมศาสตร์ความสุขอย่างมีกลยุทธ์, ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อผู้นำเอง แต่ยังส่งผลดีต่อการยกระดับและเติมเต็มฮอร์โมนความสุขของทีมงานและผลลัพธ์ทางธุรกิจโดยรวม การฝึก Forest Bathing หรือการอาปป่าก็เป็นกิจกรรมที่ได้รับการยอมรับในการเสริมสร้าง Well-Being โดยเฉพาะในเชิงจิตวิทยาและพลังงาน การใกล้ชิดธรรมชาติสามารถช่วยฟื้นฟูจิตใจ ลดความเครียด และเปิดโอกาสให้ผู้นำค้นพบศักยภาพภายในตัวเอง
การเป็น Becoming a Creator สู่การเป็นผู้นำที่แท้จริง (Authentic Leadership) คือการเข้าใจและยอมรับตัวตนของตัวเอง ทำให้สามารถแสดงออกอย่างมีความจริงใจ การเชื่อมโยงกับตนเองอย่างลึกซึ้งทำให้ผู้นำสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายและเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้พัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ การสร้างองค์กรที่มี Authentic Leadership ยังเป็นการส่งเสริมให้พนักงานรู้สึกมีความหมายและมั่นใจในที่ทำงาน