ประเทศไทยต้องการเงิน 5-7 ล้านล้านบาทเพื่อเปลี่ยนธุรกิจสีน้ำตาลที่พึ่งพาฟอสซิลและเทคโนโลยีล้าสมัยให้เป็นสีเขียว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ว่าการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศยังเป็นความท้าทายสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก 40% ในปี 2030 ท่ามกลางความเปราะบางด้านภูมิอากาศและข้อจำกัดของ SMEs ที่ยังขาดความพร้อมทั้งเงินทุนและองค์ความรู้
ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาในงาน “Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business” ในหัวข้อ Climate Finance taward SDGs โดยเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) ซึ่งเป็นสิ่งที่ธปท. เห็นว่า เงินทุนเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยเปลี่ยนผ่านโลกใบนี้ให้ไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
จากรายงานของ Global Landscape2024 (พ.ศ.2567) เกี่ยวกับ การสนับสนุนทางการเงิน หรือ Climate Finance พบว่า การสนับสนุนยังน้อยเกินไป มูลค่าของ Climate Finance ในปี 2522 (พ.ศ.2565) อยู่ที่ 1.5 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี อาจจะเป็นตัวเลขที่สูง แต่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1 ใน 5 ของจำนวนเงินที่โลกต้องการเพื่อการเปลี่ยนผ่านซึ่งสูงถึง 7.4 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ดังนั้นการอุดหนุนทางการเงิน (Climate Finance) จึงยังเป็นประเด็นที่ยังคงท้าทายอยู่มากในระดับโลก และยังคงต้องหาทางจัดการกันต่อไป หลังจากเดือนพ.ย.2567 ที่ผ่านมา มีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP29) ประเทศที่กำลังพัฒนาขอเงินสนับสนุนระดับ 1 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ตั้งแต่ปี คศ.2022 แต่ก็ไม่สามารถทำได้) ในปีนี้ข้อเรียกเพิ่มเป็น 5 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี ถึง 1 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐดอลลาร์ต่อปี แต่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ โดยได้รับเงินสนับสนุนเพียง 3 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาผิดหวังที่มีมูลค่าน้อยเกินไป
“ดูเหมือนเป้าหมายที่วางไว้เป็นเพียงภาพลวงตา ที่ผ่านมาการจัดสรรเงินทุนมักไม่เป็นไปตามเป้าหมายอยู่แล้ว”
3 ความท้าทาย ไทยเปราะบางรับมือ Climate Change
ขณะที่ประเทศไทย ต้องการใช้เงินมูลค่า 5-7 ล้านล้านบาท ตามแผนการนำเสนอการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ หรือ NDC (Nationally Determined Contributions) ของ COP เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี 2030 แต่การเงินไม่ใช่ประเด็นเดียว ยังคงมีความท้าทายหลายที่บริบทเฉพาะตัวของประเทศไทยมีความแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ประกอบด้วย
- โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังมีสัดส่วนธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(Brown) อุตสาหกรรมยังคงพึ่งพาพลังงานจากถ่านหินและน้ำมันสูงถึง 60% และยังใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบเดิม ซึ่งก็ไม่ได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร
- ประเทศไทยมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ติดนอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ในขณะที่ขีดความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยกลับอยู่ในอันดับท้ายๆ ของโลก จึงประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น PM2.5 หรือเรื่องของอุทกภัย
- ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งมีจำนวนมากและเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเริ่มเห็นกดดันจากกฎเกณฑ์ในต่างประเทศและการตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ SMEs กลับยังไม่ค่อยตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับตัว อีกทั้งยังความรู้และเงินทุน จึงไม่สามารถปรับตัวด้วยความเร็วใกล้เคียงกับธุรกิจรายใหญ่ได้
2 มิติ สร้างรากฐานการเงินเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทาง ธปท. มุ่งผลักดันให้ภาคการเงินมีบทบาทเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับความท้าทายและบริบทของไทย โดยได้ดำเนินการใน 2 ส่วน คือ
- วางรากฐานในระยะยาว โดยการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ให้ภาคการเงินไทยตอบโจทย์ความต้องการปรับตัวของภาคธุรกิจ ให้สถาบันการเงินผนวกสิ่งแวดล้อมควบคู่กับสินเชื่อและจัดกลุ่มกิจกรรมเศรษฐกิจ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy)
- ผลักดันให้เกิดการเริ่มปรับตัวอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้สถาบันการเงินนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจที่ตอบโจทย์บริบทไทยร่วมมือกับสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์นำเสนอสินเชื่อพิเศษ
ร่วมมือ 8 สถาบันการเงิน เปลี่ยนผ่านธุรกิจเร่งปรับตัวสีเขียว
ทาง ธปท. ได้ร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ทั้ง 8 แห่งที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Financing the Transition) ได้ตั้งเป้าสินเชื่อที่จะปล่อยภายในปี 2025 สูงถึง 1 แสนล้านบาท เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้าจาก brown เป็น less brown โดย ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้อนุมัติสินเชื่อแล้ว 2 หมื่นล้านบาท ในภาคธุรกิจที่ต้องเร่งปรับตัว อาทิ ภาคโรงแรม ภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคการผลิต และภาคเกษตร
ถอดบทเรียน 3 มิติ เปลี่ยนผ่านเป็นรูปธรรม
โดยหลังเริ่มดำเนินโครงการ Financing the Transition มาได้ 4 ได้ถอดบทเรียนสิ่งสำคัญในการปรับตัว 3 ด้าน ได้แก่
1.ภาคธุรกิจต้องตระหนักถึงความเสี่ยง จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและมีความตั้งใจที่จะปรับตัว ธุรกิจส่วนใหญ่โดยเฉพาะ SMEs อาจจะยังมองว่าความเสี่ยงดังกล่าวเป็นเรื่องไกลตัว ยังมาไม่ถึง ยังไม่ต้องทำอะไรก็ได้ แต่ก็มีภาคธุรกิจบางส่วนที่ได้รับแรงกดดันแล้วจากเกณฑ์ต่างประเทศ และความต้องการของลูกค้าต่างชาติ จนต้องเริ่มปรับตัวก่อน แล้วจึงเพิ่มแรงกดดันจากเกณฑ์ต่างๆ และความต้องการของนักลงทุนและ ผู้บริโภคจะยิ่งเพิ่มความเข้มข้นและขยาย scope มากขึ้นมาสู่ภาค SMEs ด้านภาครัฐกำลังจะออกใช้ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปีหน้า ซึ่งจะกำหนดให้ภาคอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซ เรือนกระจกสูงต้องรายงานข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์และมีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 ดังนั้น แรงกดดันให้เกิดการปรับตัวจะชัดเจนและเข้มข้นขึ้นในอนาคตอันใกล้ การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ภาคธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทีั้งในไทยและในต่างประเทศ เช่น กฎหมาย CBAM, การควบคุมการใช้พลาสติกครั้งเดียว และการกำหนดให้สินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย
2. ธนาคารพาณิชย์ไทยมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการปรับตัวอย่างจริงจัง หากยังคิดคิดถึงธนาคารก็คงคิดถึงการให้เงินกู้หรือการช่วยเหลือทางการเงิน แต่จากการทำโครงการ Financing the Transition พบว่าหลายธนาคารมีการวิเคราะห์เสาะหากลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการปรับตัว แล้วธนาคารได้เข้าไปทำความเข้าใจธุรกิจและเข้าใจปัญหาของลูกค้าอย่างใกล้ชิด
สิ่งสำคัญ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว ภาคธุรกิจยังขาดองค์ความรู้หรือขาดเทคโนโลยีที่จำเป็นในการปรับตัว เช่น ต้องการองค์ความรู้การวัดและวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก หรือต้องการเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองในการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งธนาคารพาณิชย์ได้พยายามแก้ปัญหาของลูกค้าอย่างจริงจัง โดยการไปจับมือกับพันธมิตร ทั้งบริษัทเทคโนโลยี หรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อให้คำแนะนำแก่ลูกค้าเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นได้จริง
3. ผลักดันให้ภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่าน โดยใช้มาตรการสร้างแรงจูงใจหรือให้การสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนของภาครัฐในรูปมาตรการทางภาษีที่สนับสนุนกิจกรรมการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนด้านการรับรองสินค้าสีเขียว (green certificate) ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีทั้งเงินทุน ความรู้ และเทคโนโลยีสามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งผ่านศักยภาพดังกล่าวไปให้แก่บริษัทในห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะ SMEs โดยธปท. เห็นว่า model ในลักษณะนี้จะช่วยให้เกิดการ เปลี่ยนผ่านได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
ธปท.มองว่า ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นหัวขบวนสนับสนุน ให้ภาค SMEs ปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนผ่าน โดยมีสถาบันการเงินสนับสนุนเงินทุน และความรู้ เทคโนโนลยีที่หมาะสมกับอุตสาหากรรม เพื่อสร้างซัพพลายเชนที่เข้มแข็ง โดยภาคธุรกิจจะต้องรวมกันมองไปข้างหน้า เพื่อปรับตัวให้เท่าทันกับภาวะเศรษฐกิจทีต้องอาศัยการปรับตัวอย่างรวดเร็ว จาก สีน้ำตาลเข้มเป็นสีน้ำตาลอ่อน (Brown เป็น Less Brown)
“ถึงเวลาที่ภาครัฐ ธุรกิจขนาดใหญ่ และภาคการเงิน สร้างสร้างกลไกความร่วมมือ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาครบวงจร ออกแบบสร้างแรงจูงใจ องค์ความรู้เทคโนโลยี จัดทำฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นรูปธรรม เพราะความยั่งยืน เป็นทางรอดไม่ใช่ทางเลือก”
วงเสวนา “Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business”
ศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยธนชาติ จำกัด (มหาชน) ได้พูดคุยในหัวข้อ “Financial for Sustainability” การเงินเพื่อความยั้งยืน การผลักดันที่จะสร้างความยั่งยืนในตัวองค์กร วิธีการปรับตัวความยั่งยืนในกลุ่มลูกค้า และนโยบายที่ชักชวนลูกค้าเข้าสู่ความยั่งยืน
การใช้พลังงานสะอาดและการปรับตัวธุรกิจผลักดันในการสร้างความยั่งยืน ESG
ในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง โลกที่เราต้องรักษามากขึ้น จะมีการผลักดันอย่างไรเพื่อที่จะสร้างความยั่งยืน ศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยธนชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่สังคมทั้งโลกตื่นตัวและให้ความสำคัญ รวมถึงประเทศไทย โดยคาดว่าจะบรรลุในการเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และ Net Zero ในปี 2063 โดยการบรรลุเป้าหมาย จะมีการเปลี่ยนแปลงและจำนวนเงินที่ต้องลงทุนมหาศาล” สังคมโลกได้ตื่นตัวและให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนมากขึ้น หากจะบรรลุเป้าหมายก็ต้องใช้เงินทุกจำนวนมากในการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่
สองโจทย์ใหญ่ในการบรรลุเป้าหมาย
1.การใช้พลังงานสะอาด
ในปัจจุบันเรามีพลังงานทางเลือกเหลือเพียง 13% หากต้องการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2063 ต้องมีพลังงานทางเลือก 75% ภายในปี 2050 ซึ่งต้องใช้เงินลงทุน 800,000 ล้านบาท ภายใน 10-15 ปีข้างหน้า
2.การปรับตัวภาคธุรกิจ
ภาคธุรกิจในทุกภาคส่วน ตั้งแต่อุตสาหกรรมครัวเรือน ภาคการเกษตร หรือแม้แต่ภาคพาณิชย์ ต้องส่งออกตัวเอง เผลี่ยนการลดคาร์บอนไฟเบอร์ คาร์บอนคอมมิสชั่น เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนกว่า 900,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงในการผลิตและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ธนาคารไทยธนชาติสนับสนุนธุรกิจขนาดกลาง และ SME ลดการปล่อยคาร์บอน
ยุคที่มีข้อกำหนดและการดูกฎเกณฑ์ Regulation โดยแรงกดดันที่เกิดขึ้น คือเราต้องประเมินเงินว่า อุตสาหกรรมไหนลูกค้ารายไหนที่ถูกกฎเกณฑ์ Regulation และต้องเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในอนาคต โดยใช้เฟรมเวิร์กประเมินลูกค้าใน 2 ขั้นตอน
1.การประเมินความเสี่ยงจากกฎเกณฑ์
โดยจะต้องประเมินว่าลูกค้ารายไหนมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการลดปล่อยคาร์บอน
2.การวิเคราะห์ความพร้อมของทางธุรกิจเพื่อการปรับตัว
หลังจากที่ประเมินความเสี่ยง ตรวจดูความพร้อมของธุรกิจ โดยที่ธุรรกิจขนาดใหญ่จะมี Know How ในการช่วยลกคาร์บอนเป็นปกติ ส่วนธุรกิจขนาดกลางและ SME ซึ่งมัดขาดทรัพยากรทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลง
ศรัญย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยธนชาติ กล่าวอีกว่า “ธุรกิจขนาดกลางละ SME ไม่ได้ตระหนักรู้เรื่องความยั่งยืนมากเท่า โดยการเริ่มต้นขั้นแรก เรียนรู้วิธีการวัดว่าองค์กรของตนเองใน 1 ปี ปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ และสิ่งนี้ทำให้ทางเราจัด workshop ลึกขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนที่จะส่งออก โครงการสีเขียว (Green Project) โดยช่วงหลังลูกค้า SME มีโปรเจคลักษณะนี้เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ”
การสนับสนุนและนโยบายของธนาคาร โดยการให้ตระหนักรู้ในการวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์
เราเริ่มเห็นความยั่งยืนในด้านธุรกิจกันมากขึ้น เพราะถูกสร้างการตระหนักรู้กันได้ง่ายขึ้น
และได้ตะหนักได้ว่านี่คือมาตราฐานในการทำธุรกิจ และที่สำคัญต้องรวมเข้าด้วยกันเข้าไปในกลยุทธ์ของธุรกิจองค์กร
ศรัญย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยธนชาติ กล่าวเพิ่มเติม
“สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักรู้ กระแสเรื่องความยั่งยืนไม่ใช่กระแสชั่วคราว ไม่ใช่การลงทุนครั้งเดียวจบ ต้องวางแผนกระแสที่เข้ามา เราควรลงทุนมากน้อยแค่ไหน และหากมองกลับกัน การวัดคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ มองว่าเหมือนการตรวจสุขภาพร่างกายของคนในองค์กร และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตะหนักรู้ มาตราฐานในการทำธุรกิจควรรวมเข้าด้วยกันเป็นกลยุทธ์ขององค์กร” ทั้งนี้เพื่อการวัดตรวจสุขภาพของคนในองค์กรได้อย่างคุณภาพ เพื่อให้รู้ว่าควรเพิ่มความสามารถในการทำงานตรงไหน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างความตระหนักรู้ให้ในตัวองค์กร เพื่อสามารถทำธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
สังคมและสิ่งแวดล้อมต้องไปด้วยกัน
โมเดล “สองแบงก์ในหนึ่งเดียว”
ธนาคารออมสินประกาศแผนขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่านแนวทาง ESG โดยให้ความสำคัญทั้งด้านสิ่งแวดล้อม (E) และสังคม (S) ควบคู่กัน โดยเฉพาะการลดการปล่อยคาร์บอนลง 50% ภายในปี 2030 พร้อมหยุดสนับสนุนอุตสาหกรรมที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านหิน และมุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด นอกจากนี้ ออมสินยังนำรายได้จากกิจกรรมเชิงพาณิชย์มาเสริมโครงการช่วยเหลือสังคม เช่น การพัฒนาความรู้ทางการเงิน การแก้ปัญหาหนี้สิน และการกระตุ้นเศรษฐกิจรากฐาน ซึ่งสะท้อนบทบาทธนาคารเพื่อสังคมที่มุ่งสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนทันที ไม่ใช่แค่การทำ CSR แบบชั่วคราว
ด้วยการเป็นรัฐวิสาหกิจ ธนาคารออมสินสามารถดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์ควบคู่กับการทำงานเพื่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กำไรจากส่วนธุรกิจขนาดใหญ่มาสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ดึงคนเข้าสู่ระบบการเงิน และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้ออมสินเป็นต้นแบบที่สะท้อนแนวทาง ESG อย่างสมดุลทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ
วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน เปิดเผย ปลายทางสู่ความยั่งยืน หลักๆ การช่วยสังคมของออมสินมี 4 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1. ดึงคนเข้าสู่ระบบการเงิน 2. ช่วยแก้ปัญหาหนี้สิน 3. พัฒนาทักษะและสร้างโอกาส และ 4. กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน
“เราอยากให้ทุกองค์กรเห็นว่างานช่วยสังคมไม่ใช่แค่ CSR ทำแล้วจบ แต่เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบทันที ไม่ต้องรอถึงปี 2030 หรือ 2050 เราเน้นให้ความสำคัญทั้งเรื่องสังคม (S) และสิ่งแวดล้อม (E) ไปพร้อมกัน ให้ทั้งสองส่วนมีน้ำหนักใกล้เคียงกันครับ”
ธนาคารออมสินดันลูกค้าเข้าสู่ความยั่งยืนด้วย ESG Score
ธนาคารออมสินสนับสนุนผู้ประกอบการปรับตัวสู่ความยั่งยืน โดยเน้นกลยุทธ์ Net Zero และใช้ ESG Score เป็นตัววัดความพร้อมของลูกค้าก่อนอนุมัติสินเชื่อ ลูกค้ารายใหญ่ที่มีศักยภาพจะได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ดอกเบี้ยต่ำและการสนับสนุนทางการเงิน ส่วนลูกค้ารายย่อยหรือ SME ที่ยังไม่พร้อม ธนาคารมีโปรแกรมฝึกอบรมและช่วยพัฒนาให้เข้าใจการลดการปล่อยคาร์บอนและการบริหารจัดการธุรกิจสีเขียว
นอกจากนี้ ธนาคารยังตั้งเงื่อนไขใหม่สำหรับสินเชื่อวงเงินตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ต้องผ่านเกณฑ์ ESG Score โดยใครได้คะแนนสูงจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่ม แต่หากได้คะแนนต่ำ ธนาคารจะเข้าไปช่วยปรับปรุงก่อนพิจารณาสินเชื่ออีกครั้ง ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการปรับตัวเข้าสู่การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น
วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ยังเผยอีกว่า “การเข้าสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มธุรกิจ ธนาคารเน้นสนับสนุนในด้าน Net Zero ผ่านการลดดอกเบี้ย และช่วยให้ธุรกิจปรับตัวได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ การสร้างโปรแกรมที่ให้ความรู้และพัฒนา SME เพื่อให้พร้อมปรับตัว ถือเป็นภารกิจหลักที่เราให้ความสำคัญ” นอกจากนี้ยังเสนอแนวทางใหม่ เช่น การใช้หลักประกันสินเชื่อ (Guarantee) ที่ง่ายขึ้น เพื่อดึงผู้ประกอบการรายย่อยเข้าสู่ระบบทางการเงิน ซึ่งการสร้างโครงการที่ช่วยดึง SME เข้าสู่ระบบอีกครั้งเป็นสิ่งสำคัญ “แม้ต้องแบกรับความเสี่ยงในบางส่วน ธนาคารก็ยินดีนำกำไรจากธุรกิจเชิงพาณิชย์มาช่วยเพื่อผลักดันการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้”
ไทยพาณิชย์สร้างแรงจูงใจในการปรับตัวต่อ Climate Change
ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ESG ถือเป็นกลยุทธ์หลักของธนาคารที่นำพาธนาคารและลูกค้าเดินไปด้วยกันใน 3 แกนหลัก คือ
1.ธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking ) ต้องช่วยลูกค้าในการปรับตัว
2.ธนาคารต้องเป็นต้นแบบที่ดี (Corporate Excellence)
3.ผนึกกำลังกับภาคส่วนต่างต่างในสังคมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมไปด้วยกัน
ธนาคารมุ่งเน้นให้ความสำคัญ กับวิพวกกฤติสภาพอากาศ (Climate Change) ถือเป็นความท้าทายหลักโลก เพื่อร้างความเปลี่ยนแปลงกับสังคมไทยผ่านกลไกทางการเงินในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับตัว
ขณะเดียวกัน ให้ความสำคัญกับการยกระดับ SMEsทำหน้าทึ่เป็นพาร์ทเนอร์ (พันธมิตร) ให้กับลูกค้าช่วยในการปรับตัว โดยการหาเทคโนโลยีและโซลูชั่นร่วมกัน
เป้าหมายในการไปสู่ธนาคารมีพอร์ตสินเชื่อคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 จากปีที่ผ่านมามีการปล่อยคาร์บอนทั้งระบบนิเวศตั้งแต่สโคป1-3 รวม 6.7 ล้านตัน ซึ่งที่ผ่านมาลดการปล่อยก๊าซเฉพาะในองค์กรกับพลังงาน(สโคป1-2)โดยรวม 1% จึงต้องมีแผนงานในการเดินหน้าสู่การลดคาร์บอน โดยเฉพาะภาคพลังงานมีกาปล่อยก๊าซคาร์บอนราว 3:4 ล้านตัน หรือครึ่งหนึ่ง จึงต้องเข้าไปช่วยให้ผู้ประกอบการภาคพลังหันไปสู่พลังงานสะอาด และลดการปล่อยสินเชื่อพลังงานฟอสซิล
ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมามีการปล่อยสินเชื่อภาคพลังงานรวม 200,000 ล้านบาท สัดส่วน 61% อยู่ในภาคพลังงาน
“กำหนดนโยบายชัดเจนไม่ปล่อยคาร์บอนในสินเชื่อใหม่ และสนับสนุนลูกค้าถ่านหินให้ปรับตัว”
ไทยพาณิชย์มีเป้าด้านสินเชื่อ sustainable ภายใน 2025 ปล่อยสินเชื่ออย่างน้อย 150,000 ล้านบาท ปัจจุบันปล่อยไปแล้ว 130,000 ล้านบาท ถือเป็นตัวเลขที่สูง ได้วางเป้าหมายธุรกิจสำคัญ ประกอบด้วย พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ ปิโตรเคมี ยานยนต์
“การเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือวันนี้ ให้สอดคล้องกับธุรกิจบริบทของธุรกิจตัวเอง คลื่นสึนามิในเรื่องclimate change เนี่ยกําลังถาโถมเข้ามา”