“รุกขกร” อาชีพใหม่ในไทยที่ได้รับการยกย่องเป็นกองกำลังสำคัญของผู้พิทักษ์ต้นไม้เมืองใหญ่. นับว่าต้นไม้เป็นสินทรัพย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว หลายเมืองที่น่าอยู่ทั่วโลกมีต้นไม้เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ. การส่งเสริมอาชีพรุกขกรผ่านกิจกรรมหลากหลาย เช่น การปีนต้นไม้ เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างการตระหนักรู้ให้คนเมือง, ภาคธุรกิจ และภาครัฐ หันกลับมาดูแลสินทรัพย์สีเขียวในเมือง กรุงเทพฯ และเมืองอื่นๆ ของไทย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเมืองยั่งยืน
ต้นไม้ ทำให้ทำให้คนกลับคืนสู่ธรรมชาติ ลดความเครียด มีความสงบในจิตใจ ต้นไม้ยังช่วยดูดซับสารพิษ ระบายน้ำ ชะลอปริมาณน้ำฝนที่ลงบนพื้นดิน ทำให้ลดอุณหภูมิโลกร้อน การทำให้อากาศเย็นลง ช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ลดการใช้พลังงาน ยังช่วยลดมลพิษทางกลิ่น อากาศ และเสียง
นี่คือประโยชน์นานัปการของต้นไม้ ที่ทำให้เราจึงต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการดูแลต้นไม้อย่างเป็นระบบ เพราะประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพต่างให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาต้นไม้ในเมือง ถือเป็น โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ที่ส่งผลต่อชีวิต เศรษฐกิจในโลกแห่งอนาคต
จึงต้องมีอาชีพ “รุกขกร” ทำหน้าที่ในการดูแลรักษาชีวิตของต้นไม้ เป็นเสมือนสินทรัพย์ในการให้ร่มเงา คืนสุขภาวะของคนเมือง และ สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการดึงดูดให้คนเข้ามาอยู่อาศัยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้เมืองมีคุณภาพชีวิตดี เมื่อคนไม่ป่วย แข็งแรง มีพลังมีแรง ในการมีส่วนร่วมสร้างเมืองยั่งยืน ตามที่เกิดขึ้นในเมืองน่าอยู่ของโลก เช่น โคเปนเฮเกน, แวนคูเวอร์, อัมสเตอร์ดัม, สิงคโปร์, เมลเบิร์น, โตรอนโต และ เวียนนา เป็นตัวอย่างเมืองที่ได้รับการยอมรับว่ามีการพัฒนาเศรษฐกิจพร้อมกับการสร้างพื้นที่สีเขียวใหญ่โต
ในอดีต “ประทเศไทยมอง คนตัดแต่งต้นไม้ ดูแลต้นไม้เป็นเพียงคนสวน แต่วันนี้ มีการพัฒนาวิชาชีพ ทักษะ การดูแลต้นไม้ โดยมาตรฐาน สมาคมรุกขกรรมนานาชาติ (ISA) ทำหน้าที่วิจัยและการเผยแพร่ผลงานเพื่อนำไปสู่โลก ที่มีสุขภาพดีชุมชนที่ยั่งยืน เป็นองค์กรทำงานเชิงรุกที่มีสมาชิกทำหน้าที่ในการช่วยพัฒนาวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติงาน อาทิ นักวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาที่ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งข้อมูลและความรู้ และยังทำหน้าที่ฝึกอบรม สอบมอบใบประกอบวิชาชีพด้านการดูแลรักษาต้นไม้แบบมืออาชีพมีความรู้ความชำนาญ ที่ได้รับการรฝึกอบรมและความเชี่ยวชาญ มีทักษะที่จำเป็นต่อการดูแลต้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานโลก
นำไปสู่การจัดกิจกรรม “แข่งขันปีนต้นไม้” เพื่อสร้่างการตระหนักรู้ ผ่านบุคลากรวิชาชีพทำหน้าที่เป็น “รุขกกร” และ “นักปีนต้นไม้” ที่จัดในระดับประเทศ และมีการขยายการแข่งขันในระดับโลก
สำหรับ การจัดการแข่งขันปีต้นไม้ 2024 หรือ “Thailand Tree Climbing Championship 2024” (TTCC2024) จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ของประเทศไทย โดยใช้กติกาการแข่งขันของสมาคมรุกขกรเชิงนานาชาติ (International Society of Arboriculture -ISA). การแข่งขันจัดขึ้นในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ณ สวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร การจัดการแข่งขัน จัดขึ้นพร้อมกันกับ กิจกรรมเพื่อสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร
มาร์ค โรเบิร์ต (Mr. Mark Robert) นักปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ หรือ รุกขกร จากนิวซีแลนด์ เครือข่ายสมาคมรุกขกรนานาชาติ ( (ISA Arborist from New Zealand)
การแข่งขันปีนต้นไม้ (Thailand Tree Climbing Championship 2024 -TTCC2024) เปิดเผยว่าได้เข้าร่วมการจัดการแข่งขันปีนต้นไม้ในไทย เป็นครั้งครั้งที่ 5 โดยใช้กติกาการแข่งขันของ สมาคมรุกขกรนานาชาติ (International Society of Arboriculture -ISA) ซึ่งมีเครือข่ายวิชาชีพ และธุรกิจ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจากต่างประเทศ การแข่งขันนี้รวมนักปีนต้นไม้มืออาชีพจาก 7 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย และไทย
การจัดการแข่งขันงานนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้และสร้างความสำคัญในการดูแลรักษาต้นไม้ในเมือง ที่สร้างเครือข่ายกับนักปีนต้นไม้ และสมาคมรุกขกรทั่วโลก
รุกขกร วัฒนธรรมดูแลต้นไม้ เมืองพัฒนามีมาแล้วกว่า 100ปี
สำหรับการสร้างแนวคิดและวัฒนธรรมในการดูแลต้นไม้ในเมืองมีมายาวนาน ในกลุ่มทวีป ยุโรปและอเมริกา เริ่มต้นราว ศตวรรษที่ 19 จนนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ และเป็นวัฒนธรรมที่มีการพัฒนาแนวทางในการพัฒนาเป็นวิชาชีพหมอต้นไม้ หรือ รุกขกร (Arborist) เป็นวิชาชีพทำหน้าที่ดูแลรักษา ศัลยกรรมต้นไม้ใหญ่ (Tree surgeon) คอยจัดการและดูแลต้นไม้ใหญ่ในเมืองและในบริเวณอาคารสถานที่ รวมถึงไม้เลื้อยและไม้พุ่มมีแก่นที่เป็นไม้ยืนต้น
ในประเทศที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี จะหวงแหนดูแลรักษาต้นไม้ดั่งทรัพย์สินที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะต้นไม้มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งทางกายภาพและจิตใจ เช่น ลดเสียงรบกวน ทำให้เงียบลงและทำให้เย็นขึ้น แต่ต้นไม้ ที่เติบโตในเมือง จำเป็นต้องมีรุกขกร เพราะในสภาพแวดล้อมของเมือง มีสิ่งกีดขวางการเติบโตของต้นไม้ใหญ่ ตั้งแต่ อาคาร สายไฟ ท่อระบายน้ำ ท่อก๊าซ ถนน และทางเดินเท้า จึงต้องมีรุกขกร ทำหน้าที่ดูแลต้นไม้
“ในญี่ปุ่นมีคนทำหน้าที่ตัดแต่งต้นไม้มานับร้อยปี แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การดูแลต้นไม้เพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 20-30 ปีที่ผ่านมา ในประเทศไทย การดูแลต้นไม้จัดแต่งสวน กลับเป้นแค่เพียงหน้าที่ของรัฐบาล ที่เน้นเรื่องความปลอดภัยมากกว่า ทั้งที่ ในสังคมประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะบ้านคนมีฐานะมีการดูแลต้นไม้ในสวนของตัวเองอย่างจริงจังและยังมีการทุ่มเทให้กับสวนสาธารณะ โดยการลงทุน ทำให้ต้นไม้ดูดีขึ้น มีการพัฒนาสวนสาธารณะที่ใหญ่ขึ้นและมีผู้คนมากขึ้นในสวนสาธารณะ ช่วยให้ชีวิตสภาพแวดล้อมในเมืองมีต้นไม้ช่วยดูแลเยียวยาสุขภาวะคน”
จากสร้างอาชีพนักปีนต้นไม้ สู่ อุตสาหกรรมดูแลต้นไม้
ประเทศที่มีอาชีพรุกขกรมายาวนาน จะให้คุณค่าและพัฒนาเป็นอาชีพ จึงมีบุคลากรที่มีทักษะพิเศษทำหน้าที่ คือ นักปีนต้นไม้ เป็นคนที่ทำหน้าที่ปีนต้นไม้ไปสำรวจ ดูแลและป้องกันต้นไม้ไม่ให้ล้มลงหรือตกลงมาเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับผู้คนในสวนสาธารณะ และยังรักษาอาการป่วยของต้นไม้ หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
การจัดกิจกรรมแข่งปีนต้นไม้ในสวนสาธารณะ จึงเป็นการทำให้ผู้คนตระหนักว่ามีอาชีพ มีผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ดูแลต้นไม้ และทำให้เห็นว่าอุตสาหกรรมนี้มีการทุ่มเทเพื่อดูแลต้นไม้อย่างจริงจัง
“การให้เห็นการแข่งปีนต้นไม้ ทำให้ผู้คนตระหนักว่ามีคนที่ดูแลต้นไม้และกิจกรรมอย่างนี้ ที่มันจัดขึ้นในสวนสาธารณะและมีผู้คนเดินผ่านไปมา จึงเห็นทั้งอุตสาหกรรมที่ทุ่มเทในการดูแลต้นไม้”
หลังจากจัดการแข่งขันจนได้มีผู้ชนะ จะมีการส่งไปแข่งขันปีต้นตเ้นไม้ระดับโลก (International Tree Climbing Championship – ITCC) ปี 2025 จะจัดขึ้นที่ประเทศนิวซีแลนด์ งานนี้จะรวบรวมนักปลูกต้นไม้ฝีมือดีจากทั่วโลกเพื่อแสดงฝีมือและส่งเสริมวิชาชีพการดูแลรักษาต้นไม้.
ภายในงานยังมีการส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมการดูแลต้นไม้ ผ่านนวัตกรรมต่างๆ โดยบริษัทต่าง ๆ เช่น บริษัทขายเชือกและบริษัทปีนต้นไม้จ้างงาน รวมถึงบริษัทไทยที่ทำการตัดแต่งต้นไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชุมชนเหล่านี้รู้ถึงประโยชน์ของการดูแลต้นไม้ การแข่งขันปีนต้นไม้เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลต้นไม้ในเมืองมากกว่าป่า การดูแลต้นไม้ในเมืองมีความสำคัญเนื่องจากผู้คนที่อาศัยในเมืองจำเป็นต้องมีต้นไม้และได้รับประโยชน์จากต้นไม้
อาชีพ รุกขกร นักปีนต้นไม้ ในไทยในรอบ 10 ปี
ทางด้าน อรยา สูตะบุตร กรรมการและเลขานุการมูลนิธิรักษ์ไม้ใหญ่ (ฺBig Trees Foundation) มีบทบาทในการส่งเสริมการอนุรัก์ต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียวภายในเมือง ร่วมกับภาคีเครือข่ายข่ายๆ และยังเป็นผู้พัฒนาแนวทางวิชาชีพและมาตรการการดูแลต้นไม้ (Arboriculture) ในประเทศไทย กล่าวว่า การพัฒนาวิชาชีพ รุกขกรในประเเทศไทย ได้เริ่มต้นกว่า 10 ปีที่ผ่านมา โดยมี สมาคมรุกขกรรมนานาชาติ (ISA) เป็นองค์กรที่ส่งเสริมการทำอาชีพเกี่ยวกับส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ถึงประโยชน์ของต้นไม้ทั่วโลก ให้มีมาตรฐานอาชีพ กตระหนักถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมและคุณค่าของต้นไม้ ได้รับการจดทะเบียนในรัฐอิลลินอยส์ในฐานะองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
จึงทำให้เกิดอาชีพ “รุกขกร”หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดแต่งดูแลต้นไม้ใหญ่อย่างถูกวิธี ในประเทศไทยแล้วกว่า100 คน ในรอบ 10 ปี จากเริ่มต้นไม่มีอาชีพนี้เลย ถือว่ามีอัตราการเติบโต เท่าตัวทุกปี
“รุกขกรในไทยเริ่มต้น 10 ปีทีผ่านมา จนทำให้มีอาชีพเป็นตัวตน ได้รับการยอมรับ มีมาตรฐานการสอบใบวิชาชีพที่ชัดเจน หลังจากมีการก่อตั้ง “สมาคมรุกขกรรมไทย” เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการดูแลวิชาชีพ ถือว่ามีการตื่นต้นและทำให้มีมาตรฐานมากขึ้น จะนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมือง”
ปีนต้นไม้ ความสนุก ตื่นเต้น ยังสร้างอาชีพเพื่อสังคมเมืองยั่งยืน
หลังจากพัฒนาเป็นอาชีพ จึงมีการจัดกิจกรรมแข่งขันปีนต้นไม้ ในเมืองไทย เพราะต้องการยกระดับกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จ และกระตุ้นให้อุตสาหกรรม เป็นที่รู้จักมากขึ้น จากการที่มีคนเข้ามาร่วมจากต่างประเทศ และจัดให้คนทั่วไปมาชม นำไปสู่การขยายการรับรู้ หันมาใส่ใจดูแลต้นไม้ในเมือง นำไปสู่การเกิดการจ้างงานในวิชาชีพ
“ทำให้การปีนต้นไม้มีความสนุก ตื่นเต้น และมีการสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศ มาร์ติน มาช่วย เป็นปีที่ 5 การแข่งขันช่วยทำให้คนตระหนักรู้มากขึ้นว่าการดูแลต้นไม้ในเมืองใหญ่ รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตคนเมือง ไม่ใช่เพียงแค่ตัดแต่งกิ่ง รดน้ำ แต่ยังต้องใช้ทักษะ และองค์ความรู้เฉพาะด้าน ในการดูแลรักษา ต้นไม้ ไม่ต่างจากคน เพื่อทำให้พื้นที่สีเขียวในเมืองมีความสมบูรณ์ ความปลอดภัยต่อประชาชน และผู้ปฏิบัติหน้าที่”
รุกขกร ระดับนานาชาติ
สำหรับวิธีการแบ่งทักษะการประกอบอาชีพของรุกขกรที่ทำหน้าที่ดูแลต้นไม้ ตามแบบสมาคมรุกขกรรมนานาชาติ (ISA) จะแบ่งรุกขกรเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1.รุกขกรเขตเมือง ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการต้นไม้ในที่สาธารณะ
2.รุกขกรสาธารณูปโภค ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลต้นไม้ใต้แนวสายไฟโดยเฉพาะ
3.รุกขกรผู้เชี่ยวชาญ สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ค่อนข้างลึก มีความสามารถในการบริหารจัดการและกำหนดนโยบายการจัดการต้นไม้ตามหลักรุกขกรรมได้
4.รุกขกรผู้ประเมินความเสี่ยงต้นไม้ วิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับต้นไม้ ความรุนแรง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมถึงแนะนำวิธีการแก้ปัญหา
และ 5.ผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ หรือ (Tree Worker Climber Specialist) ทำหน้าที่ตัดแต่ง รักษาโรค ติดตั้งสายล่อฟ้าด้วยวิธีการถูกต้อง และปลอดภัย โดยมีระบบเชือกหรือเครนเข้ามาช่วยเพื่อให้การปฏิบัติการปลอดภัยและสะดวก
สิงคโปร์ ดูแลต้นไม้คือการลงทุนสินทรัพย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
การมีต้นไม้จำนวนมาก เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ ของอุดมสมบูรณ์ แม้จะเป็นประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ ยังลงทุนพื้นที่สีเขียว และมีกฎหมายที่แข็งแรง มีบริษัทอสังหาริมทรัพย์พัฒนาพื้นที่ นอกจากจะต้องเว้นทางเท้าแล้ว ยังต้องเว้นพื้นที่ด้านหน้าสำหรับพื้นที่สีเขียว มีรุกขกรสำรวจพื้นที่ก่อนขึ้นผัง และประเมินต้นไม้ โดยที่ผ่านมา แม้จะย้ายจามจุรียักษ์ ต้องมีการวิเคราะห์เพื่อให้คงรักษาสภาพต้นไม้ให้สมบูรณ์ที่สุด
ทั้งนี้ มาตรฐานการพัฒนาวิชาชีพต้นไม้ในสิงคโปร์ จึงเป็นต้นแบบในการดูแลรักษาต้นไม้ เพราะมีผู้นำประเทศ แบบ ลี กวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ มองเห็นต้นไม้เป็นมากกว่าแค่ธรรมชาติ แต่เป็นสมบัติที่มีมูลค่า (Asset) ของชาติ ถือเป็นวิสัยทัศน์การมองอนาคตที่เฉียบขาดในการวางแผนพัฒนาสิงคโปร์เป็น “นครแห่งสวน” (Garden City) ส่งผลทำให้สิงคโปร์เป็นหนึ่งในเมืองที่มีความเขียวขจีและรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก
ลี กวนยู เชื่อว่าต้นไม้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความเป็นอยู่และสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ต้นไม้ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดความเครียด และสร้างพื้นที่สีเขียวสำหรับการพักผ่อน ต้นไม้ยังช่วยลดอุณหภูมิในเมือง ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ และลดค่าไฟฟ้า
สิงคโปร์จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่สีเขียว เพียงงบประมาณดูแลต้นไม้มูลค่าไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ในสวนสาธารณะ หน้าบ้าน หรือในพื้นที่ทางการค้า ที่สำคัญ มีการบังคับใช้กฎหมายให้ทุกโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องเว้นพื้นที่สำหรับต้นไม้ นี่คือส่วนหนึ่งของแนวคิดการมองต้นไม้เป็นทรัพย์สินที่มีค่า (Tree as an Asset)
ผลลัพธ์คือ สิงคโปร์มีพื้นที่สีเขียวมากมาย แม้จะเป็นประเทศที่มีพื้นที่น้อย ส่งผลต่อการยกระดับเมืองที่มีคุณภาพชีวิตสูง โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน เป็นต้นทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ผลลัพธ์จากการ การลงทุนในต้นไม้และพื้นที่สีเขียวไม่ใช่แค่เรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงในระยะยาว
“สิงคโปร์ก็มีรุกขกรประมาณ 2 พันคน ทั้งที่สิงคโปร์เล็กกว่าไทย ใช้งบดูแลต้นไม้ไม่ต่ำกว่า 3พันล้านบาท แต่ของไทยเพียงหลักร้อยล้านบาท งบต่างกัน10 เท่า นี่คือเหตุที่ทำให้อุณหภูมิกรุงเทพ ฯ ร้อนกว่า สิงโปร์ 1องศา เซ็ทระดับให้ต้นไม้ทุกคนเป็นประชากรที่คนทั่วไปตัดแต่งไม่ได้ หากไม่ได้รับอนุญาต ต้องเป็นผู้มีทักษะมีใบประกอบอาชีพ รุกขกร และไม่เลือกที่จะตัดต้นไม้แต่จะหาทางทุกวิธีทำให้ต้นไม้อยู่รอดได้”
การแข่งปีนต้นไม้ จุดประกายอุตสาหกรรรมสีเขียวในไทย
การจัดการแข่งขันปีนทำให้คนทั่วไปได้เห็นถึงความสำคัญของอาชีพนักปีนต้นไม้ และรุกขกรที่ทำหน้าที่ดูแลต้นไม้ ที่จะส่งผลทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรรมได้ขยายตัวหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม และจะส่งผลทำให้เมืองไทยมีพื้นที่สีเขียวในเมืองเพิ่มขึ้นส่งดีต่อสุขภาวะของคน ลดความเครียดมีพื้นที่ผ่อนคลาย ความร้อนลดลง
สอดคล้องกันกับ อัตราพื้นที่สีเขียว ต่อคนต่อตารางเมตรตามมาตรฐาน ขององค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าควรมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 9 ตารางเมตร(ตร.ม.) ต่อคน ในเขตเมือง เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี ทั้งทางกายและจิตใจ จะช่วยลดมลพิษ ลดความร้อน และส่งเสริมการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นผลดีต่อความสุขและคุณภาพชีวิตของประชาชน นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเมืองมีความยั่งยืน
“ดังเช่นสิงคโปร์ มีพื้นที่สีเขียว กลางแจ้งในย่านชอปปิง สามารถทำให้คนใช้เวลาในการใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น กระจายรายได้สู่ผู้ค้าขาย ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ส่วนของคนกรุงเทพมีอัตราพื้นที่สีเขียวเพียง 6-7 ตรม.ต่อคน จึงมีโอกาสในการพัฒนาตามแผนกทม.จะเพิ่มเป็น 10 ตร.ม.ต่อคน”