พระอนิลมาล ไขโมเดลความยั่งยืนพุทธองค์ ‘ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร’ กงล้อแห่งธรรมนำทางESG-SDGs

by ESGuniverse, 8 กันยายน 2567

พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย แปลงปริศนาธรรมจากพุทธกาล สู่หลักปฏิบัติความยั่งยืนSDGs - ESG กงล้อธรรมชาติ ลดอีโก้ กลับสู่ อีโค่ กลมกลืนกับวิธีธรรมชาติเคลื่อนไหวไปข้างหน้าพร้อมกันกับพลวัฒน์ความเปลี่ยนแปลง

 

 

เมื่อโลกพัฒนาด้านวัตถุจนถึงขีดสุด ธุรกิจยิ่งทำยิ่งเติบโต กลับยิ่งเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยพิบัติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรเสื่อมโทรม สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย คนป่วย การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงต้องเริ่มต้นกลับมาทบทวน ฟื้นฟูสภาพจิตใจความเป็นจริงของมนุษย์ ด้วยปริศนาธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมหลักการตรัสรู้ 'ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร' กงล้อแห่งธรรมที่ชี้นำทำให้ภาคธุรกิจย้อนกลับมาสำรวจตรวจสอบเป้าหมายแท้จริงของโมเดลการพัฒนา

พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) เจ้าคณะภาค 6-7(ธ) และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นอดีตสามเณรชาวเนปาลที่มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลศากยวงศ์ ซึ่งเป็นสายเลือดเดียวกับพระพุทธเจ้า โดยพระศากยวงศ์วิสุทธิ์สืบเชื้อสายมาจากพระอานนท์ พระสาวกผู้ใกล้ชิดของพระพุทธเจ้า

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ ได้เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ยังเยาว์วัย จึงอุปสมบทหรือ บวชเป็นสามเณรในประเทศเนปาล ทำให้ได้ศึกษาพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง พร้อมกันกับการฝึกปฏิบัติธรรมในการเจริญสติ ท่านได้ทุ่มเททำหน้าที่เผยแพร่หลักธรรมและการพัฒนาจิตใจ จึงเป็นที่เลื่อมใสและศรัทธา ในการเป็นผู้รักษาและสืบทอด ‘ธรรมมะ’ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่สนใจในพุทธศาสนาให้หันมาปฏิบัติธรรมทั่วโลก

ไม่เพียงเท่านั้นหลักธรรมของท่าน ยังถูกมาปรับใช้กับธุรกิจเพื่อความยั่งยืน จึงใช้บทเรียนทางธรรม เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้นำองค์กร CEO ในแบรนด์ขนาดใหญ่หลายราย

 

 

 

พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) เจ้าคณะภาค 6-7(ธ) และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร บรรยายในหัวข้อ Sustainable Development มีจริงหรือ ในงาน Sustain2024 โดยท่านได้อธิบายความหมายแบบตรงตามคำศัพท์ 'ความยั่่งยืน' คือการไม่มีการเปลี่ยนแปลง อยู่นาน อยู่ถาวร ซึ่งสิ่งใดๆ ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นอยู่ได้ถาวรและยั่งยืน ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง เราจึงหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ดังนั้นความหมายจึงไม่ใช่เพียงแค่อยู่กับที่โดยไร้การเปลี่ยนแปลง

ในยุคปัจจุบัน เป้าหมายการพัฒนาต้องยั่งยืน จึงถูกวางไว้เป็นหัวข้อหลัก ซึ่งถือเป็นทศวรรษแห่งความยั่งยืน ทำให้ทุกคนบนโลกต่างก็ตื่นตัวพูดถึงแต่คำว่า 'ความยั่งยืน' จนถือได้ว่ากลายเป็น 'คาถาสากล' ประจำโลก ไม่ว่าจะดำเนินการอะไรทุกคนจะพูดถึงแต่ในกรอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน

รากฐานศัพท์ของคำว่า 'ความยั่งยืน' ในภาษาอังกฤษ ตามที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations-UN) ระบุว่า “Sutainable Deveoopment Goals” หรือ SDGs ที่มีเป้าหมายต้องทำให้จบภายในปี 2030 (พ.ศ.2567) แต่ยังมีความคืบหน้าไปไม่ถึงไหน รายงานบางฉบับพบว่ามีความก้าวหน้าเพียง 8% และนี่คือสาเหตุที่SDGs ไม่ประสบความสำเร็จและความยั่งยืนยังไปไหนไม่ได้ไกล เพราะเรายังไม่เข้าใจคำว่า ‘ความยั่งยืน’ อย่างแท้จริง

ความยั่งยืนในความจริงตามความหมายรากศัพท์ที่แท้จริง คือ ‘ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร’

สอดคล้องตามรากศัพท์ ภาษาละติน และสันสกฤต คำว่าธรรมะ คือ धर्म (อ่านว่า ธรฺมะ, Dharma) ซึ่งหมายถึง "กฎ", "หลักการ", "หน้าที่", หรือ "ความถูกต้อง" ที่เป็นหลักการแห่งชีวิตและสังคมในทางจริยธรรม

ส่วนภาษาละติน ธรรมะ สอดคล้องจากวัฒนธรรมและภาษาตะวันออก (อินเดีย) ทีใกล้เคียงในแนวคิดและการใช้คำอาจจะเป็นคำว่า lex (หมายถึง "กฎหมาย") หรือ ratio (หมายถึง "เหตุผล", "หลักการ"

กงล้อแห่งธรรม ประครองดุลภาพโลก

ส่วนคำว่า 'จักระ' แปลว่ากงล้อ หมายถึงการเคลื่อนไปข้างหน้าบนพื้นฐานที่มั่นคง จึงหมายถึงการก้าวไปข้างหน้า พัฒนาต่อยอดต่อไปบนพื้นบนพื้นฐานมั่นคง โดยประครองกันไว้ ในลักษณะคงดุลยภาพ “Sustain” ความหมายในประเทศใกล้เคียงทำนองเดียวกัน ในภาษากัมพูชา คล้ายกับคำว่า จีรภาพ การดำรงอยู่นาน และในภาษาศรีลังกา ตรงกับคำว่า สถายี สังวรธนะ แปลว่า การพัฒนาและความก้าวหน้า

สำหรับภาษาไทย 'ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร' คือ การปฏิบัติ ความเข้าใจการพัฒนาที่ดีที่สุด ที่จะต้องประกอบด้วย Sustainable Development ประครองคู่กันไปตามเหตุเผลจึงจะยืนยาวไปได้

“เราไม่เข้าใจคำว่าความยั่งยืน จึงต้องทำให้เข้าใจตรงกันในทุกชาติทุกภาษา ความยั่งยืน คือการพัฒนาอย่างเดียวไม่ได้ เพราะพัฒนาวันนี้ พรุ่งนี้อาจจะใช้ไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องพัฒนาอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับสิ่งแวดล้อม หัวใจสำคัญคือ เราสามารถยืนอยู่ได้ โดยที่ตอบสนองความต้องการของตัวเราได้ พร้อมกันกับให้อนุชน คนรุ่นหลังได้มีลมหายใจสะอาดบริสุทธิ์ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี นั่นจึงเรียกว่าพัฒนาตามธรรม”

sustainable development in Action คือ เรียกว่า ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

หลักการปฏิบัติ ที่นำไปสู่การพัฒนาโลก ให้ดำเนินชีวิตขับเคลื่อนไปข้างหน้า พร้อมกันกับความสมดุล 3 ด้าน ประกอบด้วย เศรษฐกิจ(Economic) หลอมรวมสังคม (Social Inclusion) รวมชาติพันธุ์ บุคคล ไม่มีการแบ่งแยก และการรักษาสิ่งแวดล้อม (Environment)

ลดอีโก้ คืนสู่อีโค่
พึ่งพาแทนครอบครองโลก

สิ่งเหล่านี้ ในวัฒนธรรมไทยคุ้นเคยกับ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร หรือ กงล้อแห่งธรรมดีอยู่แล้ว โดยหมายถึง การหยั่งกงล้อแห่งธรรมชาติ ดุลยภาพ สมดุล ที่จะต้องสามารถดำเนินไปข้างหน้าได้ ถือเป็นหลักการสร้างกระบวนการประยุกต์ในการทำงาน ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และพัฒนาโลก ให้คืนสู่สมดุล ดูแลทรัพยากร รักษาสิ่งแวดล้อม จะต้องยึดหลัก”พระพุทธศาสนา”

หลักธรรมของพระพุทธศาสนา สอนให้อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ไม่มีตัวตน หรือ อัตตา(Ego) แต่เราคือ ธรรมชาติ ส่วนหนึ่งของระบบ(Eco)

“เราไม่มีอีโก้ แต่เราเป็นฮีโค่ เพราะเราไม่ใช่เจ้าของโลก แต่เราเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่เราอาศัยพึ่งพากันและกัน หากเราไปทำลายสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือการทำลายตัวเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องพัฒนาตัวเอง พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม โลก ส่งมอบของขวัญให้กับอนุชน ไม่ใช่เห็นแก่ตัว นั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่า ธรรมะ รักษาดุลยภาพของโลก ต่างคนต่างอยู่และส่งเสริม การพัฒนาร่วมกัน”

 

 

 

คำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนแรกหลังจากพระองค์ทรงตรัสรู้ คือ การพัฒนายั่งยืน ที่อยู่ใน ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร เกิดขึ้นก่อนที่จะมีเป้าหมายSDGs เทศนาธรรมที่พระองค์สอนปัญวัคคีย์ทั้ง 5 กงล้อแห่งธรรม เป็นการสอนดวงจิตให้หยั่งรู้ วิถีแห่งธรรม และโลกียะ โลกที่เจริญ ทำให้มีวิถีชีวิต การดำเนินชีวิตควรไปในทิศทางใดที่ทำให้เกิดความสุข ขณะเดียวกันไม่ทำลายธรรมชาติ

“พัฒนาต่อเนื่องไม่ยืนอยู่กับที่มี สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนตามสถานการณ์ ตามเหตุปัจจัย ทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นปัญหาต่อตัวเรา แต่เราสร้างสรรค์โลกสร้างสังคม ให้น่าอยู่ เรากำลังสร้าง โลกให้สมดุล”