แนวคิดทางสิทธิมนุษยชนในเวทีโลก : ก้าวเดินไปสู่ความเท่าเทียมและความยุติธรรม

by ESGuniverse, 6 กันยายน 2567

ในยุคที่โลกหมุนไปอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเคลื่อนไหวของสังคม แนวคิดทางสิทธิมนุษยชนจึงกลายเป็นหัวข้อที่สำคัญและได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในระดับโลก สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายถึง สิทธิและเสรีภาพที่ทุกคนควรจะได้รับ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ ศาสนา หรือสถานะทางสังคม ซึ่งแนวคิดนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสังคมที่เสมอภาคและเป็นธรรม

 

 

งาน Sustrends 2025 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ณ พิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ The Cloud จับมือกับ UNDP, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร, UN Global Compact Network Thailand, SDG Move ร่วมด้วย กระทรวงการต่างประเทศ, มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์, มูลนิธิโลกสีเขียว, ป่าสาละ, ChangeFusion, OKMD และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนอีกกว่า 20 องค์กร

ผนึกกำลังคนจาก 15 วงการ ร่วมอัพเดทเทรนด์ความยั่งยืน โดยพยายามลดผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากงานให้เหลือน้อยที่สุด เริ่มจากจัดตั้งสถานที่ในพื้นที่โปล่งสีเขียว เน้นให้ผู้เข้าร่วมสามารถเดินทางได้ด้วยขนส่งสาธารณะและมีการรองรับด้วยรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้าและเลือกกลุ่มประชากรเปราะบางมาเป็นทีมงานจัดงานในส่วนต่าง ๆ โดยไม่มีการแบ่งแยก


ทุกบริษัทและทุกองค์กรใช้คำว่า ESG เป็นสรณะแต่ว่า ESG กับหลักสิทธิมนุษชนคือเรื่องเดียวกัน

ดร.เสรี นนทสูติ กรรมการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เสวนากับผู้เข้าร่วมในงาน Sustrends 2025 ว่า ตัว E คือ Environmental (สิ่งแวดล้อม) เรื่องนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิขั้นพื้นฐานของคนของการมีสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและเหมาะสมกับการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี อาหาร น้ำดื่มสะอาด เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และอากาศที่ใช้หายใจ ดังนั้นตัว E กับหลักสิทธิมนุษยชนคือเรื่องเดียวกัน

ตัว S คือ Social (สังคม) การทำงานของพวกเรา เราต้องมีสิทธิที่จะได้งานทำ สิทธิที่ทำงานแล้วจะไม่ถูกล่วงละเมิดในที่ทำงาน สิทธินี้ยังครอบคลุมความเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศใด หรือกายภาพทางกายจะเป็นอย่างไร

ตัว G Governance (การกำกับดูแล) เรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิมนุษชนโดยตรง เพราะหากรัฐบาลไม่มีงบประมาณหรือเกิดทุจริตคอรัปชั่น เราจะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร เพราะฉะนั้นการป้องกันการปราบปรามทุจริตและคอรัปชั่น ถือเป็นการส่งเสริมและประคองสิทธิมนุษชนโดยตรง

“อยากให้เข้าใจว่ามุมมองของ ESG และพื้นฐานสิทธิมนุษชน คือพื้นฐานเดียวกัน เพราะเราอยู่ในระบบ Eco System เหมือนกัน”

ทำไมถึงเลือกใช้คำว่า ESG 2.0

ย้อนกลับไปเมื่อกฎหมายให้สิทธิแก่บริษัทที่ทำ ESG สามารถเปิดเผยข้อมูลด้วยความสมัครใจ ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันเป็นการพัฒนาแบบ 2.0 ทั้งเทรนด์และข้อเท็จจริง ESG

องค์กรธุรกิจจึงต้องกลับมาสำรวจหลักปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนภายในองค์กรให้วางหลักการดูแลพนักงาน สังคม 5 ด้านประกอบด้วย

1.ต้องทราบว่าองค์กรมีความเสี่ยงอย่างไรต่อโลกและชุมชนที่อยู่
2.สร้างองค์กรสามารถสร้างโอกาสและช่วยเหลือโลกนี้ได้อย่างไรบ้างผ่านเลนส์ที่มีชื่อว่า ESG
3.องค์กรสามารถเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วน ทันต่อเหตุการณ์และเพียงพอ
4.เมื่อมีความเสี่ยงเกิดขึ้น องค์กรมีความรับผิดชอบต่อชุมชนอย่างไร
5.องค์กรสามารถเลือกพันธมิตรที่ตระหนักและใช้หลัก ESG เช่นเดียวกัน

ดร.เสรี นนทสูติ กล่าวอีกว่า ดัชนีชี้วัด Business Ready (B-READY) จะหายไป และถูกแทนที่ด้วย Doing Business ธนาคารโลกได้กำหนดประกาศผลการประเมินประเทศไทยในปี 2569 เพิ่มด้วย 2 ข้อที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน คือ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) และประเด็นเพศสภาพ (Gender) ดังนั้นหน่วยงานและรัฐบาลไทยจะต้องมีกฎหมาย การสำรวจนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนในแบบที่เข้มข้นขึ้น การเตรียมความพร้อมขององค์กรเป็นส่วนสำคัญในของการแข่งขันในเวทีระดับโลก รวมทั้งเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันสิทธิมนุษยชนให้ก้าวหน้าในอนาคต