รับประทานอาหารถูกชนิด ช่วยลดความเสี่ยงอาการกำเริบของโรคเกาต์

รับประทานอาหารถูกชนิด ช่วยลดความเสี่ยงอาการกำเริบของโรคเกาต์

โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง เกิดจากการมีกรดยูริคในเลือดสูงซึ่งเป็นผลจากพันธุกรรมและภาวะแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการสะสมภายในข้อต่างๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน

 

ระดับกรดยูริคในเลือดควรเป็นเท่าไหร่

ผู้ชาย
ควรมีกรดยูริคในเลือดน้อยกว่า 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ผู้หญิง
ควรมีกรดยูริคในเลือดน้อยกว่า 6 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

เหตุที่ทำให้กรดยูริคจึงสูง

สาเหตุที่กรดยูริคสูงขึ้นนั้น อาจเป็นผลมาจาก
1. ไตไม่สามารถขับกรดยูริคได้ตามปกติ โดยอาจเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม ไตเสื่อมหรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
2. การรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โดยพิวรีนถูกเผาผลาญให้กลายเป็นกรดยูริคในเลือด มีโรคหรือภาวะที่ผิดปกติของร่างกาย ทำให้เกิดการสลายตัวของเซลล์และอวัยวะที่ผิดปกติ

ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

1. หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากส่งผลให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้น รวมทั้งลดการขับกรดยูริคออกจากร่างกาย
2. ควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในผู้ที่น้ำหนักเกินควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง อันก่อให้เกิดระดับกรดยูริคในเลือดสูง
4. ไม่ควรรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากเกินไป โดยเฉพาะเครื่องในสัตว์ โดยเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน
5. ควรหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารผัดที่ใส่น้ำมันมากๆ และเนื้อสัตว์ติดมัน เนื่องจากอาหารที่มีไขมันสูงทำให้การขับกรดยูริคลดน้อยลง
6. เลือกปรุงอาหารด้วยวิธีนึ่ง ตุ๋น ต้ม ย่าง หรือผัดที่ใช้น้ำมันน้อย เพื่อลดการรับประทานไขมันจากอาหาร
7. ไม่ควรรับประทานน้ำหวานหรืออาหารที่มีส่วนผสมของฟรุกโตสมากเกินไป เพราะสามารถทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูงดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

อาหารพิวรีนน้อย

(0 – 15 มิลลิกรัม/อาหาร 100 กรัม) สามารถทานได้
• ข้าวแป้ง ข้าวขาว ขนมปัง สาคู ข้าวโพด แครกเกอร์ ก๋วยเตี๋ยว มักกะโรนี พาสต้า มันฝรั่ง มันเทศ
• ผัก ผักต่างๆ (ยกเว้นบางชนิดที่มีพิวรีนมากและส่วนของยอดผัก)
• ผลไม้ ผลไม้ต่างๆ น้ำผลไม้
• เนื้อสัตว์ ไข่ไก่ ไข่เป็ด เนยแข็ง
• นม นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย
• ไขมัน น้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร เนย
• อื่นๆ น้ำส้มสายชู วุ้น เจลาติน พุดดิ้ง คัสตาร์ด เครื่องเทศชนิดต่างๆ

อาหารพิวรีนปานกลาง

(50 – 150มิลลิกรัม/อาหาร 100 กรัม) ควรลดปริมาณลง
• ข้าวแป้ง ข้าวโอ๊ต ข้าวแดง ข้าวที่ไม่ขัดจนขาว บิสกิต ยอดข้าวสาลี
• ผัก ใบขี้เหล็ก หน่อไม้ สะตอ ผักโขม ดอกกะหล่ำปลี เมล็ดถั่วลันเตา
• เนื้อสัตว์ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว ปลากะพง ปลาทูน่า ปลาแซลมอล ปู แฮม ปลาหมึก
• ไขมัน ถั่วลิสง

อาหารพิวรีนสูง

(มากกว่า150 มิลลิกรัม/อาหาร 100 กรัม) ควรหลีกเลี่ยง
• ข้าวแป้ง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
• ผัก กระถิน ชะอม ยอดตำลึง ยอดฟักแม้ว ยอดฟักทอง เห็ด
• เนื้อสัตว์ ไข่ปลา เครื่องในสัตว์ ปลาไส้ตัน ปลาแอนโชวี่ ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลากระตัก กุ้ง หอย ห่าน
• อื่นๆ น้ำสกัดจากเนื้อ น้ำต้มกระดูก น้ำเกรวี่ น้ำซุป ซุปก้อน น้ำปลา กะปิ ยีสต์

 

 

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

“รู้เท่าทันสัญญาณอันตรายที่บอกว่า คุณมีอาการแพ้อาหารแฝง”
https://www.thaiquote.org/content/250372

เตือน…! การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในระยะเวลาสั้น ออกฤทธิ์รุนแรงอันตรายถึงตาย
https://www.thaiquote.org/content/250312

ประชาชนวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ “รู้เลข รู้เสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ”
https://www.thaiquote.org/content/250255