“แลคตาซอยรักษ์ไทย” หนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝ่าวิกฤติโควิด-19

“แลคตาซอยรักษ์ไทย” หนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝ่าวิกฤติโควิด-19


ส่งเสริมสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น! “แลคตาซอย” เดินหน้าโครงการ “แลคตาซอยรักษ์ไทย” สร้างอาชีพวิสาหกิจชุมชนหัตกรรมกระจูดวรรณี ฝ่าวิกฤติโควิด-19 

จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบเป็นอย่างมาก ทำให้ทุกชีวิตต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน ในทางธุรกิจมีหลายคนหันมาใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อสร้างรายได้กันมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง เพื่อให้ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้

 

 

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตกรรมกระจูดวรรณี จังหวัดพัทลุง ก็เช่นกัน จากเดิมที่ผลิตสินค้าจาก “ต้นกระจูด” ซึ่งมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เดิมนำต้นกระจูดมาแปรรูปเป็นเสื่อและของใช้ในครัวเรือน จากนั้นได้ต่อยอดด้วยการใส่งานดีไซน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้เสื่อธรรมดากลายเป็นกระเป๋า เฟอร์นิเจอร์ ดีไซน์เรียบหรู ที่มีกลิ่นไอของวัฒนธรรมพื้นบ้านผสมผสานกับความร่วมสมัย ตลาดหลักคือ กลุ่มโรงแรม ร้านสปา นอกจากนี้ยังส่งออกไปญี่ปุ่น แต่เมื่อประสบกับวิกฤติโควิด-19 ทำให้ต้องเปลี่ยนแนวการทำตลาดมาขายสินค้าผ่านออนไลน์แทน

 

 

“วิกฤติโควิด-19 ทำให้ชาวบ้านในกลุ่ม 56 ชีวิต ได้รับผลกระทบอย่างหนัก รายได้ที่เคยมี 300-400 บาทต่อวัน หดหายกลายเป็นศูนย์ โรงแรม ร้านสปาที่เคยสั่งซื้อสินค้าก็หยุดการสั่งซื้อ ร้านค้าที่ฝากขายหน้าร้านก็ปิด ทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาค้างสต๊อค ตอนนั้นปรึกษากันในกลุ่มว่า ทำอย่างไรก็ได้ที่จะทำให้สมาชิกทุกคนมีรายได้ จึงหันมาขายออนไลน์ผ่านหน้าเพจ Varnicarft ” “มนัทพงค์ เซ่งฮวด” หรือ “นัท” หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตกรรมกระจูดวรรณี จังหวัดพัทลุง กล่าวถึงการได้รับผลกระทบจากโควิด-19

 

 

แต่นับเป็นความโชคดี เพราะเมื่อนำสินค้ามาโพสต์ขายผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ บริษัท แลคตาซอย จำกัด ซึ่งให้ความสำคัญในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้เห็นและเข้ามาสนับสนุนผลิตภัณฑ์ “กระเป๋ากระจูด” ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตกรรมกระจูดวรรณี จังหวัดพัทลุง ผ่านโครงการ “แลคตาซอยรักษ์ไทย” โดยนำมาบรรจุอยู่ใน สเปเชียลเซ็ท “แลคตาซอยรักษ์ไทย” ที่ประกอบไปด้วยนมถั่วเหลืองคุณภาพดี จัดเข้าชุดอย่างลงตัวกับกระป๋ากระจูด ที่มีสีสันสวยงามและลวดลายในการสานมีดีไซน์ที่ร่วมสมัยและมีความเป็นสากล

 

 

มนัทพงค์ ได้เปิดใจถึงความรู้สึกที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการนี้ว่า รู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่แลคตาซอยได้เปิดโอกาสให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ทำให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีรายได้ มีงานทำ เพราะกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูดสัก 1 ชิ้น เริ่มต้นกระบวนการผลิตตั้งแต่การนำต้นกระจูดมาคลุกดินขาว ตากแดดให้แห้ง รีดให้แบน และนำมาถักทอด้วยมือโดยใส่ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ลงไปจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ เรียกได้ว่าทุกขั้นตอนต้องผ่านการรังสรรค์จากมือของชาวบ้านถึง 9 คน เลยทีเดียว

นางสาวมัลลิกา จิรพัฒนกุล ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายขาย บริษัท แลคตาซอย จำกัด กล่าวว่า ทางแลคตาซอยภูมิใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ชาวบ้านได้มีอาชีพและมีรายได้ ในยามที่ต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 โดยสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตกรรมกระจูดวรรณี จังหวัดพัทลุง นับเป็นอีกผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่าและมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

“ที่ผ่านมาเราได้เข้าไปสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของชุมชนหมู่บ้านผ้าย้อมคราม จ.อุดรธานี และหลังจากนี้ยังมีวิสาหกิจและชุมชนอีกหลายแห่งที่แลคตาซอยจะเข้าไปสนับสนุน เพื่อให้พวกเขาได้มีอาชีพ มีรายได้ มีกำลังใจที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวต่อไป ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ยังเป็นการส่งเสริมสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยอีกด้วย” น.ส.มัลลิกา กล่าว

ทั้งนี้ สเปเชียลเซ็ต “แลคตาซอยรักษ์ไทย จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ โดยในเซ็ทประกอบด้วย นมถั่วเหลืองแลคตาซอย โกลด์ซีรีย์ บรรจุ 12 กล่อง 4 รสชาติ จัดเข้าเซ็ตกับกระเป๋ากระจูด Handcraft ที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตกรรมกระจูดวรรณี จังหวัดพัทลุง โดยผู้ที่สนใจสั่งซื้อ ได้แล้วที่ https://www.lactasoy.com/shop/

 

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

“ไมโล” ใช้ “หลอดกระดาษ” ตั้งเป้าลดหลอดพลาสติกกว่า 100 ล้านหลอดในปี 64