เบื้องหลัง “เชฟโรเลต” GoodBye ‘ผู้พ่ายในตลาดรถยนต์’

เบื้องหลัง “เชฟโรเลต” GoodBye ‘ผู้พ่ายในตลาดรถยนต์’


โดย…กองบรรณาธิการ ThaiQuote

รถที่เหลือหลายแสนคัน ของ “เชฟโรเลต” ถูกนำมาขายแบบ “ขาดทุน” ให้กับคนไทย หลังการประกาศว่าจะเลิกขายรถยนต์สัญชาติอเมริกันรายนี้ในตลาดรถเมืองไทยอย่างถาวรในสิ้นปี 2563

เบื้องหลังข่าวช็อกในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์บ้านเรา หากวิเคราะห์ลงให้ลึกถึงสาเหตุที่เชฟโรเลตยอมถอยออกจากบ้านเรา ปูพรหมกันก่อนว่า ประเทศไทย ถือเป็นฐานการผลิตสำคัญสำหรับยานยนต์หลายยี่ห้อทั่วโลก ทั้งญี่ปุ่น สหรัฐฯ เองก็ตาม

แต่เดิมนั้นฐานผลิตแห่งนี้ในเมืองไทยของรถยนต์หลากหลายยี่ห้อ จะเริ่มผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยเป็นหลัก แต่ในระยะหลังถึงปัจจุบัน กว่า 55% ของรถยนต์ที่ถูกผลิตขึ้นมาจะมีเป้าหมายเอาไว้เพื่อ “ส่งออก” และ 45% สำหรับขายในประเทศ

ดังนั้น ค่ายที่ผลิตรถยนต์ในบ้านเราเอง ยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจจึงมีทั้งเรื่องขายให้ตลาดรถในประเทศ และส่งออก แต่เป้าหลักคือเหตุผลหลังที่กว่าครึ่งจะต้องทำผลกำไรด้วยการส่งออกทั้งสิ้น โดยใช้ฐานผลิตในประเทศไทยที่เอื้ออำนวยเป็นหลัก

“เชฟโรเลต” เองก็อยู่ในกลุ่มการทำธุรกิจเช่นนี้เหมือนๆ กันกับอีกหลายค่ายยี่ห้อรถยนต์ “จีเอ็ม” หรือเจเนอรัล มอเตอร์ เจ้าของเชฟโรเลต ก็เอารถยนต์รุ่นนี้ที่หมายมั่นมาเพื่อลุยตลาดรถบ้านเราอย่างจริงจังมาตลอด 2 ทศวรรษของโรงงานจีเอ็มที่ผลิตเชฟโรเลตที่ตั้งขึ้นมาในบ้านเรา

แต่ปัญหาอุตสาหกรรมยานยนต์ในบ้านเรา เกิดมีปัญหาใหญ่ขึ้นมาในขณะนี้ นั่นคือ “ตลาดในประเทศ” เกิดการชะลอตัวอย่างหนัก และหน่วงธุรกิจในด้านนี้อย่างรอบด้าน ขณะเดียวกันมันมีปัญหาทับถมเข้ามาอีกคือ “ตลาดต่างประเทศ” ก็ดันมาชะลอตัวด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่เป็นเป้าหมายหลักของแต่ละยี่ห้อรถยนต์ที่เลือกใช้ไทยเป็นฐานการผลิต ในการส่งรถไปยังกลุ่มประเทศข้างเคียงของบ้านเรา

เช่น รถโตโยต้าที่ผลิตในบ้านเรา ก็เอาไปขายที่อินโดนีเซีย ฮอนด้าคันใหม่ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากฐานผลิตเมืองไทย ก็เอาไปขายที่มาเลเซียบ้าง กัมพูชาบ้าง เป็นต้น

 

 

แต่ทั้งหมดในรอบ 5 ปีหลังสุดเจอพิษเศรษฐกิจทั้งหมด และมันมีผลกระทบกับยอดขายไปกับทุกค่าย ไม่เว้นว่าจะเป็นรถยนต์ของญี่ปุ่น รถยนต์ของอเมริกันที่มีฐานผลิตในเมืองไทยเองก็ตาม

แต่สำหรับ “จีเอ็ม” มันดันมีปัญหาเพิ่มเติม คือ ในภาวะที่ทุกคนได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจซบเซา ตลาดชะลอตัว “จีเอ็ม” เจ้าของเชฟโรเลต อยู่ภาวะที่เรียกว่า “รั้งท้าย” ในกลุ่มธุรกิจยานยนต์ แม้ว่าจะพยายามกอบกู้สถานการณ์ แต่ในแง่ความเป็นจริงความนิยมในการใช้รถยนต์ก็สู้รถทางฝั่งเอเชียอย่างญี่ปุ่น แทบจะไม่ได้เลย

พวกเขา “เชฟโรเลต” ของ “จีเอ็ม” จึงไม่สามารถที่จะมาต่อสู้เพื่อหวังผลกำไรอย่างที่ตั้งใจเอาไว้ได้ ไม่สามารถเอาอะไรมาจูงใจตลาดให้หันมามอง และท้ายสุดค่ายรถยนต์เก่าแก่ ที่ผ่านการล้มละลายมาแล้วหลายครั้งตลอดช่วงอายุที่ก่อตั้งมาในสหรัฐฯ ก็ได้บทเรียนที่ชัดเจน ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นภาพชัดว่า “ศักดิ์ศรีมันไม่มีผลในเชิงธุรกิจ”

แต่เดิม สัญชาติญาณของ “จีเอ็ม” อาจจะสู้ไม่ถอย กัดฟันต่อสู้ทุกภาวะของการล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอดจนหยดสุดท้าย กลับกันในภาพปัจจุบันที่เราได้เห็น “ไม่มีการกัดฟันสู้ต่อ” อีกต่อไปแล้ว

มันไม่ใช่เรื่องผิดของ “จีเอ็ม” และ “เชฟโรเลต” ที่จะยอมถอยออกมาเมื่อมองไปแล้วสถานการณ์มันไม่สู้ดี เพราะแต่ละค่ายก็อาจจะเจอปัญหาแบบนี้ขึ้นมาได้ และเจอมาแล้วเช่นกัน รถยนต์บางรุ่นของบางค่ายจากญี่ปุ่น หากไปต่อไม่ได้เขาก็จะถอยเลิกผลิตเลิกพัฒนาต่อทันที ไม่มัวเสียเวลาภายใต้การแข่งขันที่สูง และภายใต้ “ตลาดที่ชะลอตัว” เช่นนี้ การยกธงขาวของ “เชฟโรเลต” จึงไม่ใช่เรื่องแปลก

แต่ผลกระทบย่อมมีตามมา กับชีวิตคนงานอีก 1,500 คนในโรงงานของเมืองไทยที่จะต้องตกงาน บริษัทซัพลายเออร์ที่สนับสนุนอะไหล่ชิ้นส่วนก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน

ปัจจัยการม้วนเสื่อของ “เชฟโรเลต” หากมองว่ามาจากเรื่อง “เศรษฐกิจ” ก็ต้องยอมรับว่ามีส่วน แต่อีกเหตุผลหนึ่งคือ เชฟโรเลตอาจจะอยู่ในฐานะที่แพ้ผู้แข่งขันมาตลอด ไม่สามรถพลิกฟื้นสู้กันในตลาด แม้รถรุ่นใหม่จะเปิดตัวออกมาก็ไม่อาจไปแย่งส่วนแบ่งการตลาดรถยนต์ได้เลย นั่นจึงเป็นอีกเหตุผลที่ว่าไปไม่ไหวก็จำเป็นจะต้องถอย และเลือกไปสู้ในตลาดอื่นที่พวกเขา “สู้ได้” ต่อไป

 

ข่าวที่น่าสนใจ