ซึ่งหลังจากเปิดตัวน้องใหม่ “Thai Select Unique” ก็เกิดดราม่าขึ้นมาทันที โดยใน Facebook Fanpage “สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์” ที่ลงภาพ รมว.สนธิรัตน์ พร้อมโคตคำพูด “ผมจะใช้ตราสัญลักษณ์ Thai Select เป็นเครื่องมือแยก อาหารไทยแท้ออกจากอาหารไทยที่รสชาติผิดเพี้ยน”
https://www.facebook.com/Sontirat.S/photos/a.752583344874326.1073741828.748153728650621/1375907835875204/?type=3&theater
จากโพสต์ดังกล่าวมียอดแชร์กว่า 3,000 ครั้ง มีการกด Like แสดงความรู้สึก และแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยท็อปคอมเมนต์นั้นเป็นการตั้งข้อสังเกตว่า “อาหารไม่มีไทยแท้ ไทยเทียมหรอกครับ อาหารมันขึ้นกับยุคสมัย รสชาติย่อมเปลี่ยนไปตาม คนคิดค้น”
ฟากแอดมินของเพจ ตอบกลับความคิดเห็นโดยชี้แจงว่า “กรณีนี้เป็นการคัดแยกผู้ประกอบการที่แอบอ้างชื่อร้านอาหารไทย แต่ไม่สามารถทำรสชาติที่เป็นอาหารไทยแท้จริง ทำให้ร้านอาหารไทยที่มีรสชาติความเป็นไทยแท้ๆเสียชื่อเสียงไปด้วย กระทรวงพาณิชย์จึงพยายามที่จะคัดแยกรสชาติที่เป็นไทยแท้ๆ ออกจากผู้ประกอบการที่แอบอ้างความเป็นไทยไปหาผลประโยชน์”
ไม่เพียง FB : Fanpage “สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์” เท่านั้น แม้แต่ FB : Fanpage ยอดนิยมอย่าง Drama-addict ที่มียอดติดตามกว่า 2,000,000 ยังได้แชร์โพสต์ดังกล่าว พร้อมแสดงความคิดเห็นถึงข้อกังวลเกี่ยวกับการตีความอาหารไทยถึงขอบเขตและข้อจำกัด และการระบุว่าอาหารไทยแท้หรือไม่แท้จะใช้รสชาติไหนเป็นบรรทัดฐานเพราะรสชาติอาหารไทยมีหลากหลาย
ซึ่งแน่นอนว่ามีชาวโซเชียลรุมแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย ซึ่งมีทั้งเห็นด้วยกับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ และมีอีกจำนวนไม่น้อยที่มองว่า อาหารถูกปรับเปลี่ยนไปตามข้อจำกัด ทั้งเรื่องวัตถุดิบ ฝีมือในการปรุง รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์และเทคนิควิธีการนำเสนอใหม่ๆ ดังนั้นการชี้ชัดว่าอันไหนเป็นอาหารไทยแท้คงจะเป็นเรื่องยาก
สรุปแล้วประเด็นที่เป็นดราม่า ก็คือ “คำว่าไทยแท้ ใช้อะไรเป็นการตัดสิน”
ประเด็นดังกล่าวคงจะหาข้อสรุปได้ยาก อาจต้องใช้เวลา เฝ้าดูว่า โครงการ “อาหารไทยต้อง Thai SELECT” จะประสบความสำเร็จ สร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับร้านอาหารไทยที่เข้าร่วมได้หรือไม่ รวมทั้งในเรื่องของร้านอาหารไทยอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมนั้นจะได้รับผลกระทบด้านลบจากโครงการฯ นี้หรือไม่
ซึ่งแท้จริงทางกระทรวงพาณิชย์เองนั้นมีเจตนาที่ดีกับผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเป้าหมายของโครงการฯ นี้ ไม่ได้มีเจตนาที่จะไปแบ่งแยกร้านอาหารใดๆ และร้านอาหารที่ไม่ได้รับตราสัญลักษณ์นี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่อร่อยหรือคุณภาพไม่ดี เพียงแต่อยากให้กับผู้ที่ต้องการอนุรักษ์รสชาติแบบดั้งเดิมและความเป็นไทยของตัวเองเอาไว้ โดยมีการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ของผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องอาหารไทย รวมทั้งต้องการส่งเสริมให้ร้านอาหารไทยอนุรักษ์รสชาติความเป็นไทยไว้ และคัดแยกรสชาติที่เป็นไทยแท้ๆ ออกจากผู้ประกอบการที่แอบอ้างความเป็นไทยแล้วไปหาผลประโยชน์ และยังต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ว่าจะได้รับประทานอาหารไทยที่มีมาตรฐานของอาหารไทยที่ควรจะเป็น (อ่านหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการฯ Thai SELECT ได้ที่ www.thaiquote.org/content/40135)
จากดราม่าในครั้งนี้ เชื่อว่าทางกระทรวงณิชย์ และท่านสนธิรัตน์เจ้ากระทรวงฯ คงไม่ปล่อยผ่านอย่างแน่นอน เพราะผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จะส่งผลเป็นวงกว้างกับผู้ประกอบการทั้งในและนอกประเทศ….