พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์ พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561 ว่า เรื่องการปฏิรูป ตนขอทำความเข้าใจกับผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าอะไรคือการปฏิรูป เข้าใจตรงกันหรือไม่ “การปฏิรูป” คือ การแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดีขึ้น สิ่งที่บกพร่องอยู่ หรือจะทำสิ่งใหม่ๆ อันจะทำให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว ต่อประชาชนและประเทศชาติ
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างงาน สร้างอาชีพใหม่ๆ สร้างรายได้ การเปิดโอกาสให้ “ทุกคน” เข้ามามีส่วนร่วม การลงทุนภาครัฐ ภาคเอกชน การลงทุนร่วม PPP การเปิดประมูลระบบการประมูลใหม่ เรามีช่องทางที่เปิดกว้างสร้างความเข้มแข็ง ตรวจสอบความทุจริตได้ แล้วเราก็ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำในภาคประชาชน เพื่อกระจายรายได้ให้เหมาะสมอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เราจะต้องปรับปรุงระบบเศรษฐกิจ การทำธุรกิจ ให้มีการสร้างธุรกิจ “ขนาดใหญ่” เชื่อมโยงไปสู่ SME + Startup + OTOP มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้าน โลจิสติกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องสอดรับกับแผนการพัฒนาของภูมิภาค และเชื่อมโยงกับนานาอารยประเทศ
ที่สำคัญคือการปฏิรูปนั้นเป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และทำอยู่ตลอดเวลา เราต้องทำ “คู่ขนาน” กัน พร้อมกันในทุกมิติ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ต้องทำต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ชาติที่เราวางไว้ 20 ปี เพื่อให้การปฏิรูปมีความต่อเนื่อง เกิดความยั่งยืน
“ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องยึดติดตามแผนเดิมในอนาคต สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงปลดล็อกได้ตามความจำเป็น ไม่ใช่การสืบทอดอำนาจ แต่เป็นการสืบทอดแผนการพัฒนา เหมือนเช่นที่ผ่านมานั้นทำแล้วก็เลิก ทำแล้วก็ไม่ทำต่อ ไม่ทราบว่าใช้หลักการอะไรมาทำ มันก็เลยเป็นอย่างนี้ แล้วพอถึงเวลาที่จะทำใหม่ มันก็ช้าเสียเวลา ถ้าเราทำไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ มันก็จะสอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคตไปด้วย ต้องขอความร่วมมือ จากทั้ง “ฝ่ายรัฐบาล” และ “ฝ่ายค้าน” ในอนาคตไว้ด้วย อะไรที่เป็นประโยชน์กับชาติบ้านเมืองและประชาชน เขาก็จะร่วมมือกัน ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ทำให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนบรรลุผลสำเร็จ ไม่ใช่อะไรที่ฝ่ายรัฐบาลคิด ฝ่ายค้านก็จะต้องค้าน “ทุกเรื่อง” เพราะเกรงว่าตนจะเสียคะแนนความนิยม คือต่างฝ่ายต่างถือคะแนนนิยมเป็นหลัก บ้านเมืองก็ไปไม่ได้ พอเปลี่ยนรัฐบาลก็เริ่มต้นใหม่อีก สรุปว่าไม่เสร็จทั้งเก่าทั้งใหม่ วันนี้เราก็ควรต้องวางไว้เป็นระยะๆ สุดแล้วแต่ท่านจะทำได้อย่างไร เราจะต้องไม่ปล่อยให้เกิดขึ้นอีกในการเมือง หรือรัฐบาลต่อๆ ไปด้วย” นายกฯกล่าว
ขณะที่กรณีมีข่าวเรื่อง “การดูด ส.ส.” นั้น ตนไม่ใช่นักการเมือง แต่ทุกคนทราบดีว่า การดูดมีมายาวนานแล้ว ไม่ใช่มาบอกแต่ คสช. ดูด ตนก็อยู่ตรงนี้อยู่ ตนก็เป็นรัฐบาล ตนก็อยู่ตรงกลางตรงนี้ ที่ต้องอำนวยการให้เกิดการเลือกตั้งให้ได้ เป็นหน้าที่ของคนขณะนี้ ฉะนั้นการดูดกันมันก็มีทุกพรรคการเมืองมายาวนานแล้ว เป็นครรลองของประชาธิปไตยของไทย
หลายคนอาจจะอ้างว่าทำด้วยอุดมการณ์ ด้วยนโยบาย “เพื่อชาติและประชาชน” คำว่า “ดูด ส.ส.” คงเป็นภาษาของสื่อฯ เป็นการตลาด ตนคิดว่าพี่น้องประชาชนควรใช้วิจารณญาณได้เองว่าอะไรคือการทำเพื่อส่วนรวม อะไรที่เป็นการทำเพื่อพวกพ้อง หากมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญเช่นเดียวกันแล้ว ก็น่าจะช่วยกันทำงานได้ เราจะต้องทำให้นักการเมือง “ทุกคน” ที่เข้าสู่ระบบเลือกตั้งครั้งหน้า เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีธรรมาภิบาล ไม่ว่าจะนักการเมืองเก่า นักการเมืองใหม่ คนเหล่านี้ใครควรจะได้รับการเลือกตั้งหรือใครไม่ควรจะได้รับการเลือกตั้ง ก็เป็นเรื่องของประชาชนพิจารณา ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะนำพาประเทศของเราไปสู่ทางออกของปัญหาตามแนวทางสันติวิธี ไม่อยากให้ขัดแย้งกันอีก
อย่างไรก็ตามเราควรให้ความสำคัญในเรื่องนโยบายของแต่ละพรรคด้วย เพื่อจะให้เกิดการสร้างความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ จะต้องส่งเสริมการเคารพกฎหมาย แก้ไขประเด็นความขัดแย้ง ไม่สร้างความวุ่นวายแตกแยกไม่อำนวยประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม บางพวก หรือบางพื้นที่ เป็นการเฉพาะ เพราะว่านอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียม ในวันข้างหน้าอีกด้วย
สุดท้ายหากลองพิจารณาคำกล่าวของผู้นำประเทศหนึ่ง ที่กล่าวว่า “ไม่ว่าแมวขาว หรือแมวดำ ก็ขอเพียงจับหนูได้ ก็คือแมวที่ดี” เนื่องจากในการแก้ปัญหาเดียวกัน แต่ต่างพื้นที่ ต่างสภาพ แวดล้อม วิธีการย่อมแต่ต่างกัน ในรายละเอียด “ไม่มีสูตรตายตัว” เพียงแต่ว่า สำหรับเราเองนั้นเราจะต้องทำให้ทั้งแมวขาว แมวดำ ของเรา ไม่ทะเลาะกันเอง ไม่กัดกันเอง แล้วเป็น “แมวสะอาด” ไม่มีเชื้อโรค ไม่อย่างนั้นก็ไปปราบหนูไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องทำให้บ้านเมืองเราสะอาด ต้องใช้แมวที่สะอาด ฝากช่วยกันคิดดู
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างงาน สร้างอาชีพใหม่ๆ สร้างรายได้ การเปิดโอกาสให้ “ทุกคน” เข้ามามีส่วนร่วม การลงทุนภาครัฐ ภาคเอกชน การลงทุนร่วม PPP การเปิดประมูลระบบการประมูลใหม่ เรามีช่องทางที่เปิดกว้างสร้างความเข้มแข็ง ตรวจสอบความทุจริตได้ แล้วเราก็ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำในภาคประชาชน เพื่อกระจายรายได้ให้เหมาะสมอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เราจะต้องปรับปรุงระบบเศรษฐกิจ การทำธุรกิจ ให้มีการสร้างธุรกิจ “ขนาดใหญ่” เชื่อมโยงไปสู่ SME + Startup + OTOP มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้าน โลจิสติกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องสอดรับกับแผนการพัฒนาของภูมิภาค และเชื่อมโยงกับนานาอารยประเทศ
ที่สำคัญคือการปฏิรูปนั้นเป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และทำอยู่ตลอดเวลา เราต้องทำ “คู่ขนาน” กัน พร้อมกันในทุกมิติ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ต้องทำต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ชาติที่เราวางไว้ 20 ปี เพื่อให้การปฏิรูปมีความต่อเนื่อง เกิดความยั่งยืน
“ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องยึดติดตามแผนเดิมในอนาคต สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงปลดล็อกได้ตามความจำเป็น ไม่ใช่การสืบทอดอำนาจ แต่เป็นการสืบทอดแผนการพัฒนา เหมือนเช่นที่ผ่านมานั้นทำแล้วก็เลิก ทำแล้วก็ไม่ทำต่อ ไม่ทราบว่าใช้หลักการอะไรมาทำ มันก็เลยเป็นอย่างนี้ แล้วพอถึงเวลาที่จะทำใหม่ มันก็ช้าเสียเวลา ถ้าเราทำไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ มันก็จะสอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคตไปด้วย ต้องขอความร่วมมือ จากทั้ง “ฝ่ายรัฐบาล” และ “ฝ่ายค้าน” ในอนาคตไว้ด้วย อะไรที่เป็นประโยชน์กับชาติบ้านเมืองและประชาชน เขาก็จะร่วมมือกัน ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ทำให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนบรรลุผลสำเร็จ ไม่ใช่อะไรที่ฝ่ายรัฐบาลคิด ฝ่ายค้านก็จะต้องค้าน “ทุกเรื่อง” เพราะเกรงว่าตนจะเสียคะแนนความนิยม คือต่างฝ่ายต่างถือคะแนนนิยมเป็นหลัก บ้านเมืองก็ไปไม่ได้ พอเปลี่ยนรัฐบาลก็เริ่มต้นใหม่อีก สรุปว่าไม่เสร็จทั้งเก่าทั้งใหม่ วันนี้เราก็ควรต้องวางไว้เป็นระยะๆ สุดแล้วแต่ท่านจะทำได้อย่างไร เราจะต้องไม่ปล่อยให้เกิดขึ้นอีกในการเมือง หรือรัฐบาลต่อๆ ไปด้วย” นายกฯกล่าว
ขณะที่กรณีมีข่าวเรื่อง “การดูด ส.ส.” นั้น ตนไม่ใช่นักการเมือง แต่ทุกคนทราบดีว่า การดูดมีมายาวนานแล้ว ไม่ใช่มาบอกแต่ คสช. ดูด ตนก็อยู่ตรงนี้อยู่ ตนก็เป็นรัฐบาล ตนก็อยู่ตรงกลางตรงนี้ ที่ต้องอำนวยการให้เกิดการเลือกตั้งให้ได้ เป็นหน้าที่ของคนขณะนี้ ฉะนั้นการดูดกันมันก็มีทุกพรรคการเมืองมายาวนานแล้ว เป็นครรลองของประชาธิปไตยของไทย
หลายคนอาจจะอ้างว่าทำด้วยอุดมการณ์ ด้วยนโยบาย “เพื่อชาติและประชาชน” คำว่า “ดูด ส.ส.” คงเป็นภาษาของสื่อฯ เป็นการตลาด ตนคิดว่าพี่น้องประชาชนควรใช้วิจารณญาณได้เองว่าอะไรคือการทำเพื่อส่วนรวม อะไรที่เป็นการทำเพื่อพวกพ้อง หากมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญเช่นเดียวกันแล้ว ก็น่าจะช่วยกันทำงานได้ เราจะต้องทำให้นักการเมือง “ทุกคน” ที่เข้าสู่ระบบเลือกตั้งครั้งหน้า เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีธรรมาภิบาล ไม่ว่าจะนักการเมืองเก่า นักการเมืองใหม่ คนเหล่านี้ใครควรจะได้รับการเลือกตั้งหรือใครไม่ควรจะได้รับการเลือกตั้ง ก็เป็นเรื่องของประชาชนพิจารณา ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะนำพาประเทศของเราไปสู่ทางออกของปัญหาตามแนวทางสันติวิธี ไม่อยากให้ขัดแย้งกันอีก
อย่างไรก็ตามเราควรให้ความสำคัญในเรื่องนโยบายของแต่ละพรรคด้วย เพื่อจะให้เกิดการสร้างความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ จะต้องส่งเสริมการเคารพกฎหมาย แก้ไขประเด็นความขัดแย้ง ไม่สร้างความวุ่นวายแตกแยกไม่อำนวยประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม บางพวก หรือบางพื้นที่ เป็นการเฉพาะ เพราะว่านอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียม ในวันข้างหน้าอีกด้วย
สุดท้ายหากลองพิจารณาคำกล่าวของผู้นำประเทศหนึ่ง ที่กล่าวว่า “ไม่ว่าแมวขาว หรือแมวดำ ก็ขอเพียงจับหนูได้ ก็คือแมวที่ดี” เนื่องจากในการแก้ปัญหาเดียวกัน แต่ต่างพื้นที่ ต่างสภาพ แวดล้อม วิธีการย่อมแต่ต่างกัน ในรายละเอียด “ไม่มีสูตรตายตัว” เพียงแต่ว่า สำหรับเราเองนั้นเราจะต้องทำให้ทั้งแมวขาว แมวดำ ของเรา ไม่ทะเลาะกันเอง ไม่กัดกันเอง แล้วเป็น “แมวสะอาด” ไม่มีเชื้อโรค ไม่อย่างนั้นก็ไปปราบหนูไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องทำให้บ้านเมืองเราสะอาด ต้องใช้แมวที่สะอาด ฝากช่วยกันคิดดู