พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายในรายการ “ ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 ว่า ตามที่ตนได้เคยกล่าวไว้แล้วว่ารัฐบาลได้เตรียมมอบของขวัญ “ปีใหม่ไทย” สำหรับพี่น้องประชาชนทุกคน รวมทั้งลูกหลาน เยาวชนของเราในช่วงเดือนเมษายน ทั้งนี้ของขวัญที่จะมอบให้ก็คือ
1. การเปิดช่องทางการสื่อสารใหม่ “สายด่วนไทยนิยม” ในรูปแบบแอพพลิเคชั่นบนมือถือ เว็บไซต์ และเฟซบุ๊ก เมื่อวันอังคารที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี สำหรับรับเรื่องราวร้องเรียนจากประชาชน รับฟังความคิดเห็น ทั้ง “คำติเพื่อก่อ” และกำลังใจ สิ่งที่จะช่วยทำให้รู้สึกว่าเราใกล้ชิดกัน นำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจ ไปจนถึงสร้างความเข้าใจและปรองดองของคนในชาติ
ทั้งนี้ “สายด่วนไทยนิยม” จะเชื่อมโยงข้อมูลกับช่องทางอื่นๆ ที่มีอยู่เดิม อาทิ สายด่วน 1111ของรัฐบาล ที่มีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ อีกกว่า 300หน่วยงาน เช่น สายด่วน 1567 “ศูนย์ดำรงธรรม” ของกระทรวงมหาดไทย สายด่วน 1299 “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ” ของคสช. สายด่วน 191 “แจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย” ซึ่งปัจจุบันเริ่มคุ้นเคยในรูปแบบแอปพลิเคชั่นบนมือถือ ชื่อ “โปลิศ ไอ เลิร์ท ยู” ที่กำลังขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป
ดังนั้น “สายด่วนไทยนิยม” และ “สายด่วน 1111” นี้ จะเป็นเครื่องมือรับเรื่องราวจากพี่น้องประชาชน “ทุกลักษณะ” ทั้งให้คำปรึกษา ทั้งเรื่องเล็ก-เรื่องใหญ่ เรื่องฉุกเฉิน เรื่องไม่ฉุกเฉิน ซึ่งร้อยละ 90 สามารถแก้ไขได้โดยใช้เวลาสั้นๆ แต่เป็นทุกข์ของประชาชนมายาวนาน ส่วนเรื่องที่ต้องอาศัยการบูรณาการกันนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมาย ก็จะส่งต่อถึงหน่วยงานของรัฐ “ทุกกระทรวง” ที่เกี่ยวข้อง ให้รับเรื่องไปดำเนินการ โดยจะสามารถติดตามความคืบหน้าได้ เนื่องจากอยู่ใน “ระบบฐานข้อมูล” อยู่แล้ว ในส่วนที่ 2 นี้อาจต้องอาศัยเวลา ก็ขอให้เข้าใจว่ารัฐบาลจะไม่ทอดทิ้ง หรือละเลย และไม่ทิ้งให้ใครประสบชะตากรรมโดยลำพัง โดยที่หน่วยงานของรัฐไม่เข้าไปดูแล
เรื่องที่ 2. การเปิดตัววิทยุเพื่อครอบครัว คลื่นเอฟเอ็ม 105 เม็กกะเฮิร์ซ ของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะเริ่มให้บริการใน “วันครอบครัว” วันที่14 เมษายนนี้ และจะพัฒนาให้เป็นวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และทุกคนในครอบครัว อย่างเต็มรูปแบบต่อไป โดยจะทำการเผยแพร่ผ่านทั้งสื่อวิทยุและสื่อออนไลน์ “ควบคู่” กันไปด้วย จะได้เห็นหน้าเห็นตากันกับผู้ดำเนินรายการ ได้ทำกิจกรรมร่วมกันไปด้วย ซึ่งจะคัดสรรนักจัดรายการมืออาชีพ หรืออาสาสมัคร หรือนักศึกษาฝึกปฏิบัติ ก็ตาม แต่ต้องไม่นำเสนอสาระและบันเทิงที่ผิดเพี้ยน หรือลดคุณค่าของเนื้อหาในรายการลง เพราะตนก็เชื่อว่าในเมื่อ “รัฐบาลสร้างคน คนก็สร้างชาติ” และ “พลเมืองดีของชาติ” ก็จะสร้างจากครอบครัวที่อบอุ่น มีคุณภาพ ซึ่งต้องขอเชิญชวนติดตามรายการต่างๆ ตามข้อมูลที่จะได้ประชาสัมพันธ์ออกไปอีกครั้ง
และ 3. การจัดพิมพ์หนังสือ “ชุดความรู้” สำหรับประชาชนและเยาวชนซึ่งกำหนดจะเปิดตัวช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งตนคาดหวังว่าจะช่วยให้พี่น้องประชาชนได้ “รู้สิทธิ์ของตน” จะได้ไม่ตกข่าว ไม่ถูกสวมสิทธิ์ หรือไม่เป็นเหยื่อการทุจริต เหมือนที่เป็นคดีอยู่ในปัจจุบัน
รวมทั้ง “รู้นโยบายของรัฐ” จะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และแสวงหาความร่วมมือ ร่วมใจกัน ทำเพื่อชาติบ้านเมืองต่อไป ยกตัวอย่างนโยบาย “ตลาดคลองผดุงกรุงเกษมฯ” ที่ตนริเริ่มให้จัดขึ้นที่ข้างทำเนียบรัฐบาล ตลอด 3 ปี ที่ดำเนินงาน ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ กว่า 3,000 ล้านบาท ก็นับว่าประสบความสำเร็จด้วยหลักคิดในการยกระดับตลาดชุมชน ตลาดสดทั่วๆ ไป ที่มีอยู่แทบทุกหมู่บ้าน ให้เป็นพื้นที่พัฒนาองค์ความรู้ให้เกษตรกร ผู้ผลิต ในเรื่องการทำบัญชีธุรกิจ การจับคู่ทางธุรกิจ การต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ และการตลาดเป็นต้น
ปัจจุบัน แนวความคิดนี้ ก็ได้ขยายผลไปสู่ “ตลาดประชารัฐ” กว่า 6,000 แห่ง ทั่วประเทศ แต่ก็ไม่ใช่ว่าตั้งตลาดมาอย่างไร ก็ปล่อยให้เป็นอย่างนั้น “ผู้บริหารตลาด” ก็ต้องศึกษาสภาพ แวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะ ความต้องการของชุมชนของตน และปรับปรุงตลาดประชารัฐของท่าน ให้ตอบสนองพฤติกรรมของชาวชุมชน เช่น เป็นตลาดสินค้าอินทรีย์ สินค้าที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ตลาดสินค้า OTOP ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อีกด้วย ซึ่งต้องดึงกลไก “ประชารัฐ” ในพื้นที่ของตนเข้ามาร่วม
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 รายการดังกล่าวนั้น เป็นความตั้งใจของตน รัฐบาล และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการนำเทคโนโลยียุคดิจิทัล นวัตกรรมใหม่ๆ และสิ่งสร้างสรรค์มาสู่สังคมไทยของเรา เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของเราทุกคนในอนาคต
1. การเปิดช่องทางการสื่อสารใหม่ “สายด่วนไทยนิยม” ในรูปแบบแอพพลิเคชั่นบนมือถือ เว็บไซต์ และเฟซบุ๊ก เมื่อวันอังคารที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี สำหรับรับเรื่องราวร้องเรียนจากประชาชน รับฟังความคิดเห็น ทั้ง “คำติเพื่อก่อ” และกำลังใจ สิ่งที่จะช่วยทำให้รู้สึกว่าเราใกล้ชิดกัน นำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจ ไปจนถึงสร้างความเข้าใจและปรองดองของคนในชาติ
ทั้งนี้ “สายด่วนไทยนิยม” จะเชื่อมโยงข้อมูลกับช่องทางอื่นๆ ที่มีอยู่เดิม อาทิ สายด่วน 1111ของรัฐบาล ที่มีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ อีกกว่า 300หน่วยงาน เช่น สายด่วน 1567 “ศูนย์ดำรงธรรม” ของกระทรวงมหาดไทย สายด่วน 1299 “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ” ของคสช. สายด่วน 191 “แจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย” ซึ่งปัจจุบันเริ่มคุ้นเคยในรูปแบบแอปพลิเคชั่นบนมือถือ ชื่อ “โปลิศ ไอ เลิร์ท ยู” ที่กำลังขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป
ดังนั้น “สายด่วนไทยนิยม” และ “สายด่วน 1111” นี้ จะเป็นเครื่องมือรับเรื่องราวจากพี่น้องประชาชน “ทุกลักษณะ” ทั้งให้คำปรึกษา ทั้งเรื่องเล็ก-เรื่องใหญ่ เรื่องฉุกเฉิน เรื่องไม่ฉุกเฉิน ซึ่งร้อยละ 90 สามารถแก้ไขได้โดยใช้เวลาสั้นๆ แต่เป็นทุกข์ของประชาชนมายาวนาน ส่วนเรื่องที่ต้องอาศัยการบูรณาการกันนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมาย ก็จะส่งต่อถึงหน่วยงานของรัฐ “ทุกกระทรวง” ที่เกี่ยวข้อง ให้รับเรื่องไปดำเนินการ โดยจะสามารถติดตามความคืบหน้าได้ เนื่องจากอยู่ใน “ระบบฐานข้อมูล” อยู่แล้ว ในส่วนที่ 2 นี้อาจต้องอาศัยเวลา ก็ขอให้เข้าใจว่ารัฐบาลจะไม่ทอดทิ้ง หรือละเลย และไม่ทิ้งให้ใครประสบชะตากรรมโดยลำพัง โดยที่หน่วยงานของรัฐไม่เข้าไปดูแล
เรื่องที่ 2. การเปิดตัววิทยุเพื่อครอบครัว คลื่นเอฟเอ็ม 105 เม็กกะเฮิร์ซ ของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะเริ่มให้บริการใน “วันครอบครัว” วันที่14 เมษายนนี้ และจะพัฒนาให้เป็นวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และทุกคนในครอบครัว อย่างเต็มรูปแบบต่อไป โดยจะทำการเผยแพร่ผ่านทั้งสื่อวิทยุและสื่อออนไลน์ “ควบคู่” กันไปด้วย จะได้เห็นหน้าเห็นตากันกับผู้ดำเนินรายการ ได้ทำกิจกรรมร่วมกันไปด้วย ซึ่งจะคัดสรรนักจัดรายการมืออาชีพ หรืออาสาสมัคร หรือนักศึกษาฝึกปฏิบัติ ก็ตาม แต่ต้องไม่นำเสนอสาระและบันเทิงที่ผิดเพี้ยน หรือลดคุณค่าของเนื้อหาในรายการลง เพราะตนก็เชื่อว่าในเมื่อ “รัฐบาลสร้างคน คนก็สร้างชาติ” และ “พลเมืองดีของชาติ” ก็จะสร้างจากครอบครัวที่อบอุ่น มีคุณภาพ ซึ่งต้องขอเชิญชวนติดตามรายการต่างๆ ตามข้อมูลที่จะได้ประชาสัมพันธ์ออกไปอีกครั้ง
และ 3. การจัดพิมพ์หนังสือ “ชุดความรู้” สำหรับประชาชนและเยาวชนซึ่งกำหนดจะเปิดตัวช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งตนคาดหวังว่าจะช่วยให้พี่น้องประชาชนได้ “รู้สิทธิ์ของตน” จะได้ไม่ตกข่าว ไม่ถูกสวมสิทธิ์ หรือไม่เป็นเหยื่อการทุจริต เหมือนที่เป็นคดีอยู่ในปัจจุบัน
รวมทั้ง “รู้นโยบายของรัฐ” จะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และแสวงหาความร่วมมือ ร่วมใจกัน ทำเพื่อชาติบ้านเมืองต่อไป ยกตัวอย่างนโยบาย “ตลาดคลองผดุงกรุงเกษมฯ” ที่ตนริเริ่มให้จัดขึ้นที่ข้างทำเนียบรัฐบาล ตลอด 3 ปี ที่ดำเนินงาน ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ กว่า 3,000 ล้านบาท ก็นับว่าประสบความสำเร็จด้วยหลักคิดในการยกระดับตลาดชุมชน ตลาดสดทั่วๆ ไป ที่มีอยู่แทบทุกหมู่บ้าน ให้เป็นพื้นที่พัฒนาองค์ความรู้ให้เกษตรกร ผู้ผลิต ในเรื่องการทำบัญชีธุรกิจ การจับคู่ทางธุรกิจ การต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ และการตลาดเป็นต้น
ปัจจุบัน แนวความคิดนี้ ก็ได้ขยายผลไปสู่ “ตลาดประชารัฐ” กว่า 6,000 แห่ง ทั่วประเทศ แต่ก็ไม่ใช่ว่าตั้งตลาดมาอย่างไร ก็ปล่อยให้เป็นอย่างนั้น “ผู้บริหารตลาด” ก็ต้องศึกษาสภาพ แวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะ ความต้องการของชุมชนของตน และปรับปรุงตลาดประชารัฐของท่าน ให้ตอบสนองพฤติกรรมของชาวชุมชน เช่น เป็นตลาดสินค้าอินทรีย์ สินค้าที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ตลาดสินค้า OTOP ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อีกด้วย ซึ่งต้องดึงกลไก “ประชารัฐ” ในพื้นที่ของตนเข้ามาร่วม
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 รายการดังกล่าวนั้น เป็นความตั้งใจของตน รัฐบาล และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการนำเทคโนโลยียุคดิจิทัล นวัตกรรมใหม่ๆ และสิ่งสร้างสรรค์มาสู่สังคมไทยของเรา เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของเราทุกคนในอนาคต