ทั้งนี้รัฐบาลได้มีแนวทางในการน้อมนำ“ศาสตร์พระราชา”มาประยุกต์ใช้ ในการบริหารราชการแผ่นดิน
เพื่อให้เกิดผลจากการทำงานที่เป็นรูปธรรมดังนี้
เรื่องที่
1. การปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ด้านการเชื่อมโยง การสร้างเครือข่าย การรวมตัวกัน
เช่นการที่เราสร้างกลไก “ประชารัฐ”, การรวมกลุ่มสหกรณ์, การสร้างห่วงโซ่คุณค่าทั้งต้นทาง
กลางทาง ปลายทาง และตลาดชุมชน ที่ต่อไปนั้นจะต้องใช้เป็นสถานที่ “จับคู่”ทางธุรกิจ เป็นวงจรธุรกิจ“ระดับฐานราก” ให้ความสำคัญกับทักษะ “การทำงานเป็นทีม” ในทุกระดับ
เรื่องที่ 2.ขอให้ทำความเข้าใจ
พินิจพิเคราะห์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน
อาทิเช่นในการดำเนินการแก้ปัญหา “โรงเรียนขนาดเล็ก”ของกระทรวงศึกษาธิการนั้น ในระยะแรกอาจส่งผลกระทบเป็นรายบุคคล รายครอบครัว
เพื่อแลกกับสิ่งที่ได้มาคือคุณภาพการศึกษาและสุขภาพจิตของนักเรียนที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันโครงสร้างพื้นฐานด้าน
ICT ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ในอนาคตจะทำให้ “ทรัพยากรมนุษย์” ที่มีคุณภาพสูงขึ้น ประเทศไทยก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างสมดุลในทุกมิติ
เรื่องที่
3.การกำหนดผลสัมฤทธิ์ตามห้วงระยะเวลา ให้มีผลเป็นรูปธรรมชัดเจน จับต้องได้ อาทิเช่น การกำหนดเป้าหมาย
ตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2569 และโครงการอื่นๆ ที่จะต้องขยายเป็นปี 2560 – 2579 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
เรื่องที่
4.การรักษาสมดุลทั้งภายในและภายนอกประเทศ
โดยเริ่มต้นจากการรวมกลุ่มในอาชีพเดียวกันแล้วมีการเชื่อมโยงไปสู่อาชีพอื่น
หรือกลุ่มอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน อาทิเช่นการรวมกลุ่มของเกษตรกร การตั้งสหกรณ์การเกษตร จากนั้นก็เชื่อมโยงไปสู่โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป
สถาบันวิจัยทางการการเกษตรเข้ามาช่วยเหลือ และตลาดชุมชุน – ตลาดส่งออก
เรื่องที่
5.ต้องทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก กับอาเซียนและประเทศไทยนั้น มีผลสืบเนื่องกันใน “ทุกมิติ” ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในระดับประชาคมโลก
เรื่องที่ 6.การสร้าง“ความเข้าใจ – ความร่วมมือ” ของประชาชน และการทำงานของข้าราชการในพื้นที่
สร้างความใกล้ชิดระหว่างข้าราชการกับประชาชน
ทำความเข้าใจซึ่งกันและกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้
เรื่องที่
7. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชใหม่ จากเดิม“เกษตรแบบธรรมชาติ”เป็นการใช้เทคโนโลยี การใช้เครื่องมือเช่น ระบบการปลูกพืชน้ำหยด
การทำไร่นาสวนผสมแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว จาก “เกษตรครัวเรือน”เป็นเกษตรแปลงใหญ่ หรือการรวมตัวเป็นกลุ่มเกษตรกร
เป็นทางเลือกให้เกษตรกรไทย “ยุคใหม่” ที่เรียกว่า
“Smart Farmer”
ในส่วนของรัฐบาลนั้น
ได้วางยุทธศาสตร์ของประเทศเป็น “สะพาน” เชื่อมโยงกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก อาทิเช่น G20
หรือกับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (G77) ทั้งนี้ก็เพื่อจะรักษาความสมดุล
ในการพัฒนาของโลก ในฐานะที่เป็น“หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”
ขณะเดียวกันหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งเป็น “ศาสตร์พระราชา” ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องจากประชาคมโลกจะช่วยย้ำเตือนเราถึงการพัฒนาที่สมดุล
ทั้งในมิติสังคม คือการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ “อย่างพอเพียง” และในมิติสิ่งแวดล้อม
ที่จะนำไปสู่การใช้ทรัพยากร “อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน”